"เกรียงศักดิ์" เคลียร์ปมดราม่า! "โรงสีไม่รับซื้อข้าวชาวนา"

18 ก.ย. 2561 | 12:35 น.
วงการโรงสีเดือด หลังกระแสดราม่าไม่รับซื้อข้าวชาวนา "เกรียงศักดิ์" ชี้แจงโรงสีเป็นธุรกิจปกติ บางโรงเข้มแข็ง บางโรงล้มลุกคลุกคลาน บางโรงปิดกิจการ แต่ศักยภาพเกินกำลังผลิต ย้ำ! ยังมีโรงสีจำนวนมาก ที่มีกำลังซื้อข้าวจากชาวนา ชี้ภาครัฐไม่ต้องห่วง




609257466

นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากการที่มีข่าวเรื่องโรงสีหยุดหรือปิดกิจการนั้น เป็นเรื่องของธุรกิจภายใต้การบริหารของผู้ประกอบการแต่ละราย ว่า มีหลักการบริหารหรือวางแนวทางและทิศทางการดำเนินธุรกิจอย่างไร และแต่ละรายก็ต่างมีภาระต้นทุนที่ต่างกันไป ขึ้นกับระบบวิธีการบริหารจัดการ แต่ก็ไม่ใช่ทุกรายที่เผชิญมรสุมแล้วไม่สามารถลุกขึ้นมาใหม่ได้

"ยังมีโรงสีอีกจำนวนมากที่ดำเนินการบริหารได้ดี จึงสามารถเตรียมตัวรับมือช่วงที่ข้าวราคาตกต่ำ จนทำให้มูลค่าสต็อกลดลงอย่างมาก และผ่านมรสุมนั้นมาได้ ผมจึงไม่ต้องการให้สังคมตื่นตกใจ เพราะนี่เป็นเรื่องปกติในทางธุรกิจ ที่ทุกธุรกิจนั้น สามารถเกิดความผิดพลาดได้ในเชิงบริหารและการจัดการในแต่ละองค์กร ดังนั้น จึงมีผู้ประความสำเร็จและล้มเหลวคู่กันเสมอ"


Thai rice is loaded into a truck in Suphan Buri province, about 105 km (65.2 miles) north of Bangkok, March 24, 2008. Thai rice farmers are guarding paddy fields and hurrying to bring in their crops after a granary theft last week fuelled rumours of bandits lured by surging rice prices, officials said on Monday. Reports of widespread paddy theft, although unsubstantiated by police, spread quickly after the theft of 100 kg (220 lb) of premium quality fragrant rice from a farmer

อาชีพธุรกิจโรงสีก็เหมือนกับธุรกิจอื่น ๆ ทั่วไป เพียงแต่มีความอ่อนไหว เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรหรือชาวนาอย่างแยกกันไม่ออก ใกล้ชิดมากถูกบ่นมาก เป็นเรื่องปกติของผู้ซื้อและผู้ขายที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี โรงสีไม่มีความสบายใจเลยที่ราคาข้าวตกต่ำ เพราะเราสัมผัสกับชาวนาและรับรู้ความรู้สึกนั้นดี โรงสีเองก็อยากเห็นราคาข้าวที่ดีเช่นกัน เพราะทำให้ทุกคนมีความสุข โดยเฉพาะเกษตรกรชาวนา

นายเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า การปิดกิจการของธุรกิจโรงสีหลาย ๆ ราย มีผลมาจากการบริหารจัดการภายในองค์กรนั้นก็จริงอยู่ แต่ที่สำคัญ คือ โรงสีที่ปรับตัวเองได้จากช่วงวิกฤต ลุกขึ้นมาแข็งแรงมากขึ้น สามารถที่จะดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องก็มีอีกจำนวนไม่น้อย ปัญหาสภาพคล่องเป็นหัวใจหลัก การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อใช้หมุนเวียนทำธุรกิจนั้นจะขาดไม่ได้ ทั้งนี้ ถ้าหากสถาบันการเงินพิจารณาแยกแยะไม่เหมาเข่ง ก็จะสามารถช่วยให้สถานการณ์พลิกตัวกลับมาดีขึ้นได้อย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ภาพรวมของธุรกิจโรงสีข้าวในเรื่องของกำลังผลิตนั้น เรายังสามารถรับซื้อผลผลิตของเกษตรกรชาวนาได้อย่างเพียงพอ


090861-1927

ที่ผ่านมา ในเรื่องของราคาข้าวเปลือก ซึ่งเป็นรายได้ของเกษตรกรโดยตรงนั้นสำคัญที่สุด ถ้าหากว่า ราคาต่ำกว่าทุนและกำไรที่บางมาก ก็จะส่งผลถึงเกษตรกรชาวนา แต่ทั้งนี้ รัฐบาลก็ได้ให้การสนับสนุนในหลาย ๆ ด้านที่ตรงจุด ด้วยนโยบายต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชาวนาโดยตรงมากที่สุด นั่นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่ก็ยังมีหลายปัจจัย ที่ทำให้ความต้องการสินค้าข้าวในแต่ละช่วงเวลานั้นมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับราคาข้าวเปลือกทั้งในเชิงลบและบวกได้ทั้งสิ้น เพราะตลาดค้าข้าวเป็นเรื่องของการค้าเสรีและการแข่งขัน การขายข้าวไปต่างประเทศ ประเทศไทยเองก็มีประเทศคู่แข่งมากมาย โรงสีเป็นผู้รับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา แล้วสีขายเป็นข้าวสารให้กับผู้ส่งออก อีกต่อหนึ่ง ดังนั้น จึงไม่สามารถที่จะกำหนดราคาซื้อข้าวได้ ราคาแต่ละช่วงต้องยอมรับว่า ตลาดผู้ซื้อเป็นผู้กำหนดราคา




ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว