ไทยและฟิลิปปินส์ ขึ้นแท่นผู้นำธุรกิจครอบครัวภูมิภาค

18 ก.ย. 2561 | 13:24 น.
ธุรกิจครอบครัวในไทยและฟิลิปปินส์เชื่อมั่นว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการความเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต เนื่องจากโปรแกรมSAPได้รับการสนับสนุนจากงานวิจัยของหน่วยงานวิเคราะห์เศรษฐกิจ หรือ EIU จากงานวิจัยพบว่าธุรกิจครอบครัวในไทย มีผลตอบรับในทางที่ดีในการจัดการกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ระบบCloud computing(8.3ใน10มีความมั่นใจที่จะร่วมมือกับฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย) การเรียนรู้ของเครื่องจักร(8.2) นอกจากนี้ยังได้รับความเชื่อมั่นสูงสุดในด้านของความสามารถในการคัดเลือกพนักงาน(8.6) รวมไปถึงความสามารถและการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน (8.6มีความมั่นใจที่จะร่วมมือกับฟิลิปปินส์)

นอกจากนี้ธุรกิจครอบครัวในไทยยังมีทัศนคติไปในเชิงบวกต่อสภาพของธุรกิจและมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถเผชิญหน้ากับสถานการ์ณที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เขาจึงไม่ค่อยมีความกังวลในพื้นที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกี่ยวกับปัจจัยภายนอกที่เป็นทางลบ เช่น เรื่องของกฏหมาย การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และ สภาพภูมิประเทศ มากนัก เป็นสัญญาณว่าการลงทุนของรัฐบาลและการเริ่มต้นนโยบายประเทศไทย4.0กำลังเป็นที่น่าจับตามอง ธุรกิจครอบครัวในไทยส่วนใหญ่ประเมิณค่าสูงในเรื่องของคุณภาพระบบการศึกษาในการอบรมพนักงานใหม่และคุณภาพโครงสร้างระบบICT

SAP_1[19718]

“การมีทัศนคติที่มีความเชื่อมั่นของธุรกิจครอบครัวในไทยนั้นเป็นเสมือนการสร้างความแข็งแกร่งในการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมนี้” ไมเคิล โกล์ด บรรณาธิการอาวุโสแห่ง EIU ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคกล่าว และยังเสริมอีกว่า “เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของสิ่งที่มีอยู่และโอกาสในการเติบโตของธุรกิจดิจิตอล พวกเขาไม่สามารถที่จะหวังพึ่งเส้นสายหรือลูกค้าคนสำคัญได้ ธุรกิจครอบครัวและธุรกิจSMEsจึงต้องการการพิสูจน์ตัวเองกับเทคโนโลยีดิจิทัล และจำเป็นที่จะต้องรู้ถึงวิธีการทำงาน รวมถึงวิวัฒนาการต่างๆ เพื่อที่จะแข่งขันกับธุรกิจในระดับนานาชาติได้”

นอกจากการศึกษาในระดับภูมิภาคแล้ว ผู้นำทางด้านธุรกิจครอบครัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบไปด้วย อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงค์โปร์, และไทย ยังเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตโดยการ การจำแนกประเภทของบุคคล สภาพแวดล้อม กระบวนการต่างๆ รวมถึง เทคโนโลยีอีกด้วย

ในด้านของความมุ่งมั่นในการเจริญเติบโต ครอบครัวนักธุรกิจไทย กำลังมองหาตลาดใหม่ๆ (8.6) สินค้าใหม่ (8.6) และการรับแผนธุรกิจใหม่ๆ (8.5) ในอีก3 ปีที่จะถึงนี้ และเพื่อที่จะสำเร็จลุล่วง พวกเขากำลังมองหาการร่วมมือกับบริษัทอื่นๆ เพื่อขับเคลื่อนความเติบโต ในตลาดใหม่ๆ และ พัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ธุรกิจครอบครัวในประเทศไทยมีความประสงค์เป็นอย่างมากในการร่วมมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่ในขณะที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีแนวโน้มที่จะให้ความร่วมมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศ

SAP_วีรีน่า เสี่ยว, กรรมการผู้จัดการSAP ประจำภูมิภาคอินโดไชน่า[19717]

“ด้วยอัตราการเติบโตที่รวดเร็วของเศรษฐกิจดิจิทัลในปัจจุบันควบคู่ไปกับการแข่งขันทางการตลาดระดับโลก ส่งผลให้ธุรกิจครอบครัวจำเป็นต้องมีความกล้าที่จะเสี่ยงในการแข่งขันทางการตลาดและมีความเตรียมพร้อมอยู่เสมอกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” วีรีน่า เสี่ยว กรรมการผู้จัดการSAP ประจำภูมิภาคอินโดไชน่ากล่าว ทั้งยังเสริมว่า “สุดท้ายนี้ พวกเขาอาจจะต้องการระบบดิจิทัลเป็นหัวใจในการทำงานควบคู่ไปกับเทคโนโลยีสมัยใหม่อีกขั้นในระบบ ERP เพื่อที่จะก้าวผ่านทุกมุมมองของธุรกิจ เพิ่มมูลค่าและรายได้ ผ่านการใช้ประโยชน์ของฐานข้อมูลและการใช้งานของเครื่องจักรที่ทันสมัย ”