"ภาษาใหม่" คำตอบสู่การ "ปฏิวัติ" การเป็นผู้นำ

17 ก.ย. 2561 | 07:44 น.
อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (South East Asia Center) ศูนย์พัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารระดับสูง เปิดเผยว่า หลายองค์กรเริ่มปรับตัวและยืดหยุ่นตามสถานการณ์ของยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน แต่อีกหลายองค์กรยังคงจับจุดไม่ได้ ว่า จะต้องเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงให้ทันโลกนี้ได้อย่างไร และเมื่อตั้งคำถามเจาะลึกลงไป จะพบว่า เหตุที่ทำให้หลายองค์กรยังเริ่มต้นไม่ได้ หรือ เดินผิดทาง เพราะยัง "ติดกับดักตัวเอง" ยึดติดความสำเร็จหรือแนวทางเดิม ๆ จนไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงที


info-new language

3 ความเสี่ยงทำโลก (ธุรกิจ) วิกฤติ
· ความเสี่ยงแรก "Fast-Moving World" เราต้องยอมรับให้ได้ว่า "โลกหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมง แต่โลกธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ วินาที" ในประเด็นนี้ ชี้ให้เห็นว่า ความเร็วของการเปลี่ยนแปลงไม่ได้คงที่ หรือ มีช่วงเวลาให้ได้ตั้งหลักเหมือนโลกยุคก่อน หากแต่เราต้องพร้อมและตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วอย่างยิ่งยวดและคาดไม่ถึง ผู้นำและบุคลากรในองค์กรต้องไม่ชะล่าใจ ต้องเร่งแก้ไข และ Reskill เพื่อพลิกเกมธุรกิจให้ทันท่วงที

· ความเสี่ยงประการที่ 2  "ย่ำอยู่กับที่ มีแต่จะพาล่มจม" ต้องเข้าใจและตระหนักรู้ให้ได้ ว่า สมรภูมิธุรกิจในยุค Disruption มีความท้าทาย หรือ มีหนทางใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ การติดกับความคิด หรือ ความสำเร็จเดิมไม่ใช่ทางออก หรือ เส้นทางแห่งความยั่งยืนทางธุรกิจ เพราะฉะนั้นผู้นำองค์กรจะต้องมีความสามารถหาคำตอบเมื่อเจอกับความท้าทายใหม่ ๆ หรือ แม้แต่กระทั่งคำถาม หรือ ปัญหาเดิมที่เคยเกิดขึ้น และย้อนกลับมาอีกครั้ง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการแก้ไขแบบเดิม แต่ผู้นำที่ดีต้องแสดงศักยภาพในการออกแบบคำตอบใหม่ ๆ ได้

· ความเสี่ยงประการที่ 3 หยุดหลอกตัวเอง ว่า เปลี่ยนทันยุค Disruption หากการเปลี่ยนนั้นทำแค่ฉาบฉวย การเปลี่ยนทันยุค Disruption ที่แท้จริง ไม่ใช่ปรับแค่ทีละ 1 องศา แต่การเปลี่ยนหรือตั้งรับทันจริง ๆ คือ องค์กรนั้นต้องเปลี่ยนทั้ง 360 องศา คือ ปรับกระบวนทัพใหม่หมด ทั้งองค์กร บุคลากร และวิธีคิด เพราะแค่การปรับวิธีการหรือโครงสร้างองค์กรไม่ได้เกิดประโยชน์อันใด ต้องคิดอยู่เสมอว่า แม้องค์กรเราจะวิ่งได้เร็วหรือปรับตัวทันแล้ว แต่ก็มีองค์กรอื่นที่จะวิ่งตามได้ทันอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นเราต้องเร่งสร้างความก้าวล้ำแบบ Stay ahead of the game


"ภาษาใหม่" คือ ทางออก ที่ "ผู้นำ" องค์กรสายพันธุ์ใหม่ต้องรู้
ในโลกที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ปัจจัยต่าง ๆ เกี่ยวเนื่องกันมากขึ้น หากอยากจะรั้งตำแหน่งผู้นำในธุรกิจ หรือ การมีตัวตนอยู่รอดในโลกธุรกิจนั้น ไม่ใช่แค่รู้ว่าคู่แข่งคือใคร ส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่เท่าไหร่ เทรนด์โลกหรือเทรนด์ผู้บริโภคเปลี่ยนไปทางไหนเท่านั้น แต่ต้องตระหนักรู้อยู่เสมอว่า โลกเปลี่ยนทุกวินาที หากอยากจะเป็นผู้นำ ต้องไม่ย่ำอยู่กับที่ ต้องหาวิธี หาแนวทางใหม่ ๆ สิ่งสำคัญกว่าความไว คือ ต้องเข้าใจ "ภาษาใหม่" ที่พร้อมสยบคลื่นสึนามิที่ถาโถมเข้าใส่ธุรกิจในยุค Disruption สิ่งนั้นก็คือ "THE NEW LANGUAGE OF LEADERSHIP" ที่ไม่ใช่เรื่องของเครื่องมือทางการตลาดหรือการขาย หากแต่เป็นแนวทางความคิด หรือ ทัศนคติของผู้นำองค์กร ในรูปแบบของ How-to ที่ทำให้อ่านทุกเกมได้ขาดและเหนือชั้นที่สุด โดยได้รับการพิสูจน์จากผู้นำองค์กรระดับโลกแล้วว่า นำมาใช้ได้เห็นผลจริง!! ด้วยคีย์เวิร์ดที่สำคัญที่สุด

นั่นคือ "Ability to understand" กับการที่ผู้นำต้องมีทักษะที่จะทำ "ความเข้าใจ" แบบหยั่งรู้ถึงความรู้สึกอย่างถ่องแท้ และมี "Ability to speak" หรือ ความสามารถที่พูดออกไปได้อย่างแท้จริง หรืออาจกล่าวได้ว่าคือความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการทำความเข้าใจสื่อออกไป หรือ นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างตอบโจทย์ ซึ่งทั้ง 2 คีย์เวิร์ดนี้สามารถเปลี่ยนองค์กรที่กำลังเผชิญปัญหา พลิกองค์กรสู่การเติบโตอย่างก้าวกระโดดและความก้าวล้ำแบบ Stay ahead of the game ได้


คัมภีร์รอดของผู้นำ
หนึ่งบทพิสูจน์ของการใช้ "ภาษาใหม่" ที่สัมฤทธิ์ผล และเห็นเป็นรูปธรรมในระดับโลก จากผลงานของ ไมเคิล เวนทูร่า ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ บริษัท ซับ โรซ่า (Sub Rosa) ที่ปรึกษาด้านการสร้างและบริหาร แบรนด์ให้กับธุรกิจและองค์กรชั้นนำของโลก ผู้ทำหน้าที่วางแผนกลยุทธ์และแผนการปฏิบัติงาน เพื่อช่วยให้ผู้นำและองค์กรมีวิวัฒนาการเชิงกลยุทธ์และการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการพัฒนาเชิงลึกถึงการเปลี่ยนแปลงขององค์กร และสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับลูกค้าผ่านประสบการณ์ร่วมกันในรูปแบบต่าง ๆ จนเป็นบทพิสูจน์ที่ได้รับการยอมรับ


michael ventura founder of sub rosa

ล่าสุด ได้รวบรวมประสบการณ์ในการสร้างและบริหารแบรนด์ให้กับองค์กรระดับโลก ที่ใช้ "ภาษาใหม่" เป็นอาวุธสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน สู่คัมภีร์ใหม่ของ "ผู้นำ" กับ หนังสือ "Applied Empathy : The New Language of Leadership" หรือ "ภาษาใหม่ของการเป็นผู้นำ" ที่จะเข้ามาทลายกำแพงเหล็กที่กั้นความคิดของผู้นำให้รู้ทันความเปลี่ยนแปลงของลูกค้าและสถานการณ์โลกในยุค Disruption ด้วยคำว่า "การเข้าใจแบบหยั่งรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่น" (Empathy) คือ การเข้าใจที่เข้าถึงความหมาย ที่ลูกค้าต้องการสื่อสารอย่างแท้จริง การมองโลกผ่านเลนส์ของคนอื่น เพื่อทำให้เราเข้าใจคนอื่น เข้าใจสถานการณ์และเป็นผู้นำที่ดีขึ้น แก้ปัญหาได้ดีขึ้น และทำให้ "ปัญหาที่ซับซ้อนกลายเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น ทีมงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เกิดความคล่องตัว และอิสระในการเปลี่ยนแปลงองค์กรได้เร็วขึ้น" เป็นคัมภีร์ของการสร้างรากฐานการเป็นผู้นำและการตอบสนองต่อการสื่อสารกับคนในองค์กรและลูกค้า โดยเน้นเรื่องการยอมรับและเข้าใจมุมมองคนอื่น ละเอียดอ่อนต่อความรู้สึก ฟังผู้อื่นมากขึ้นกว่าตัวเอง ปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสาร และการปฏิบัติให้มีความสอดคล้องกันทั้งองค์กร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ปลายทาง คือ ความสำเร็จอย่างยั่งยืนขององค์กร


"ภาษาใหม่" กับปรากฏการณ์ขับเคลื่อนโลก
ตัวอย่าง องค์กรชั้นนำระดับโลก ที่สะท้อนให้เห็นถึงบทพิสูจน์แห่งความสำเร็จอันแรงกล้าของ "ภาษาใหม่" อย่าง "THE NEW LANGUAGE OF LEADERSHIP" ในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ ภายใต้มุมมองอันเฉียบแหลมของ ไมเคิล เวนทูร่า ไม่ว่าจะเป็น

· Delta Airlines – เดลต้า แอร์ไลน์

ที่ปรับภาพของการเป็นสปอนเซอร์ขององค์กรด้วยสะท้อนเสียงจากพนักงานภายในสู่ประชาชนภายนอก ซึ่งเดลต้าเชื่อมั่นว่าต้องการเป็นผู้ช่วยให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบายทุกการเดินทาง จึงได้จัดทำรายการพิเศษในรูปแบบวิดีโอคอนเทนต์ร่วมกับ TED.com ที่สอดคล้องกับความมุ่งมั่นขององค์กรไว้ฉายบนเครื่องบิน อีกทั้งยังจัดกิจกรรมเสวนาพิเศษ เพื่อให้เดลต้า มีภาพลักษณ์ของการเป็นแบรนด์ของคนฉลาดหรือคนรุ่นใหม่

· The White House – เดอะ ไวท์ เฮาส์

นอกจากผลงานกับภาคเอกชนแล้ว ไมเคิล เวนทูร่า ยังได้สร้างผลงานให้กับทำเนียบขาว ของสหรัฐอเมริกา กับการสร้างแรงกระเพื่อมให้กับแคมเปญด้านวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ ที่ริเริ่มโดยอดีตประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า อย่าง "Every Kid in a Park" ที่เปิดโอกาสให้เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สามารถเข้าชมและเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นที่ป่าและแหล่งน้ำของรัฐบาล เพื่อเป็นการจุดชนวนความหลงใหลในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และจุดประกายความมุ่งมั่นที่จะรักษาสถานที่สำคัญเหล่านี้ให้อยู่ไปอีกตราบนานเท่านาน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายโดยตรง คือ เด็ก หากแต่ไมเคิลมองเห็นว่า เรื่องราวเหล่านี้จะสร้าง impact ได้มากกว่านั้น ต้องขยายการรับรู้และสร้างการมีส่วนร่วมไปยังกลุ่มบุคลากรด้านการศึกษา ครอบครัวของเยาวชน อีกด้วย  โดยจัดทำระบบข้อมูล กลยุทธ์การรณรงค์ การทำเว็บไซต์ใหม่ รวมถึงวิดีโอในรูปแบบ VR ที่ดำเนินเรื่องโดยมีสตรีหมายเลขหนึ่ง "มิเชล โอบาม่า"

· New Balance – นิว บาลานซ์

รองเท้า นิว บาลานซ์ กับโจทย์แรกแค่เพียงต้องการสร้างแบรนด์และดีไซน์ช้อปที่ Jacob Javits Center ในนิวยอร์ก หากแต่ไมเคิล มองเห็นความต้องการของแบรนด์ในมุมที่ลุ่มลึกยิ่งขึ้น ด้วยการสร้างแคมเปญ เพื่อโปรโมต นิว บาลานซ์ ให้เป็น Top of Mind ของนิวยอร์กเกอร์เรื่องการวิ่ง ในรูปแบบแคมเปญระยะยาว ซึ่งเน้นการสร้าง Running Community ให้กับนักวิ่ง และสร้างความเคลื่อนไหวของแบรนด์ผ่านช่องทางดิจิทัล

· NIKE - ไนกี้

ไนกี้ กับการนำเสนอรองเท้าวิ่งในตระกูล "Hyperfeel" ซึ่งกลุ่มเป้าหมายไม่ใช่แค่เพียงกลุ่มนักวิ่งอาชีพเท่านั้น หากแต่สามารถนำไปใส่ออกกำลัง วิ่ง เล่นเวท ฯลฯ  ไมเคิลจึงได้แนะนำให้ไนกี้จัดกิจกรรมพิเศษบนพื้นที่ที่ออกแบบเป็นเขาวงกต โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนต้องถอดรองเท้าและสวมชุดหูฟัง เพื่อให้ระบบตรวจสอบคลื่นสมองที่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันไปในภาวะที่มืดสนิท ทั้งพื้นดิน พื้นหญ้า ยางมะตอย พื้นทรายที่เปียกน้ำ และอื่นๆ ทุกย่างก้าวที่เหยียบย่ำลงไป จะถูกเก็บข้อมูลในรูปแบบเรียลไทม์อีกด้วย ซึ่งนอกจากไนกี้จะสามารถสร้างประสบการณ์ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้แล้ว ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะของรองเท้ารุ่นนี้ที่อัดแน่นด้วยเทคโนโลยี และความโดดเด่นในการออกแบบให้มีลักษณะสวมใส่กระชับเหมือนใส่ถุงเท้า ทำให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานได้มากที่สุด

· GE – จีอี

เจเนอรัล อิเล็กทริก (GE) จากการเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมการผลิตระดับโลก (World’s biggest manufacturing company) สู่การเพิ่มบทบาทในฐานะผู้เล่นในสนามของนวัตกรรมและสร้างสรรค์กลุ่มคนที่มีศักยภาพใหม่ ๆ (Innovations and Talent Recruitment) GE มองเห็นพลวัตของกลุ่มเมกเกอร์ (Maker) โดยได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เจาะกลุ่มไปยังกลุ่มคนเหล่านี้ อาทิ กิจกรรมเยี่ยมชมโรงงาน กิจกรรมชุมนุมทางความคิด การทำ Collaboration ต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ มุมมอง ความคิด และไอเดีย ระหว่างกันแล้ว ยังเป็นการเพิ่มช่องทางให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ได้รู้จักและใกล้ชิดกับ GE มากยิ่งขึ้น กลายเป็นสังคมเมกเกอร์ที่มีความแข็งแกร่งและขยายวงกว้างมากขึ้น เป็นต้น

แล้วองค์กรไทยจะไปได้ไกลเท่า 5 ตัวอย่างนี้หรือไม่ อยู่ที่การเปิดใจ และรู้จักนำ "ภาษาใหม่" มาเป็นใบเบิกทางสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน

เตรียมพบกับ ปรากฏการณ์ครั้งใหม่ ที่จะติดอาวุธให้กับองค์กรของไทย ให้สามารถยืนหยัดทางธุรกิจและใช้ชีวิตให้รอดในสมรภูมิ Disruption ครั้งแรกกับการเปิดเผยเรื่องราวของ "ภาษาใหม่" และการปรากฏตัวอย่างเป็นทางการของ ไมเคิล เวนทูร่า ในประเทศไทย ในงาน "The New Language of Leadership" ซึ่งจัดโดย SEAC วันจันทร์ที่ 24 กันยายนนี้ ณ ศูนย์พัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารระดับสูง (SEAC) อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ (FYI Center) ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.seasiacenter.com/thenewlanguageofleadership/


e-book-1-503x62-7