ปตท.องค์กรโจทก์เยอะ

15 ก.ย. 2561 | 13:35 น.
[caption id="attachment_318098" align="aligncenter" width="503"] มนูญ ศิริวรรณ มนูญ ศิริวรรณ[/caption]

วันที่ 15 ก.ย. 2561  นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการด้านพลังงาน กล่าวถึงกรณีที่นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง ในฐานะประธานกรรมการนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ เดินสายคัดค้านกลุ่ม PTT ซื้อกิจการ GLOW ชี้เสี่ยงขัดรัฐธรรมนูญเอาเปรียบประชาชน ผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว Manoon Siriwan ว่า การที่ GPSCเข้าซื้อกิจการของ GLOW ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้นต้องพิจารณาว่า GPSC ถือเป็นภาครัฐหรือไม่ ส่วนกรณีที่เป็นห่วงว่า GPSC เข้าซื้อ GLOW แล้วจะมีอำนาจเหนือตลาดนั้น ยังห่างไกลจากความเป็นจริง โดยมีเนื้อหาทั้งหมดดังนี้

ปตท.ตกเป็นข่าวใหญ่อีกครั้งเมื่อถูกคุณกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสมัยรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะประธานกรรมการนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ เดินสายยื่นหนังสือคัดค้านการที่กลุ่ม บมจ.ปตท. โดยบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอยี (GPSC) จะเข้าซื้อกิจการ บมจ. โกลว์ พลังงาน (GLOW) ต่อหน่วยงานต่างๆ ไล่ตั้งแต่สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงพลังงาน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยอ้างว่าเป็นการดำเนินงานที่ขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 75 ที่ห้ามรัฐทำธุรกิจแข่งกับเอกชน และเรียกร้องให้ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นข้อท้วงติงให้กับศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาด
MP-05-3229-b นอกจากเรื่องนี้แล้ว คุณกรณ์ยังแสดงความกังวลกับการที่บมจ.ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก (PTTOR) มีแผนจะขยายธุรกิจร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอนออกไปนอกสถานีบริการน้ำมันของปตท.นั้น นับว่าเป็นการขัดรัฐธรรมนูญที่ห้ามแข่งขันกับภาคเอกชนด้วยเช่นกัน

ในเรื่องของการเข้าซื้อกิจการของ GLOW มีประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ GPSC ถือเป็นภาครัฐหรือไม่

GPSC เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีผู้ถือหุ้นใหญ่สามราย คือ พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) 22.73% ปตท. 22.58% และไทยออยล์ 20.79% รวมแล้วกลุ่มปตท.ถือหุ้นใน GPSC เท่ากับ 66.1%

ดูในแง่กฎหมายแล้ว GPSC ไม่เข้าข่ายเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะปตท.ถือหุ้นโดยตรงเพียง 22.58% ถึงแม้จะถือหุ้นทางอ้อมผ่าน PTTGC และไทยออยล์ ก็ไม่ถึง 50% อยู่ดี ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่ารัฐเข้ามาทำการค้าแข่งกับเอกชน

แต่ถ้าจะบอกว่าในแง่นโยบายกลุ่มปตท.ถือหุ้นใหญ่ สามารถกำหนดทิศทางการบริหารได้ และต้องทำตามนโยบายของรัฐ นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐในเรื่องนี้ว่าจะเอาอย่างไร

ส่วนที่พูดกันว่า GPSC เข้าซื้อ GLOW แล้วจะมีอำนาจเหนือตลาดนั้น ผมว่ายังห่างไกลจากความเป็นจริง เพราะปัจจุบัน GPSC มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 1,900 MW/GLOW 3,200 MW รวมกันแล้วอยู่ที่ 5,100 MW ในขณะที่กำลังการผลิตรวมของประเทศอยู่ที่ประมาณ 42,694 MW จึงเป็นไปไม่ได้ที่ GPSC จะมีอำนาจเหนือตลาด

ในส่วนของกาแฟอเมซอนก็เช่นกัน PTTOR ก็กำลังยื่น filing ขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีแผนที่จะกระจายหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นรายย่อยมากกว่า 50%
งานพาร์ทไทม์ 2559 ร้านกาแฟอเมซอน Cafe Amazon ดังนั้นก็จะไม่มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจอีกเช่นกัน และย่อมไม่ถูกผูกมัดที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 75 ของรัฐธรรมนูญ ยกเว้นแต่เป็นนโยบายของรัฐบาลที่สั่งการมาผ่านบริษัทแม่คือปตท.

แต่ในความเห็นของผม ธุรกิจกาแฟเป็นธุรกิจเสริมที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไปกับธุรกิจน้ำมัน และเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ non-oil ที่ทำให้ธุรกิจน้ำมันอยู่ได้ในปัจจุบัน

และเนื่องจากธุรกิจกาแฟเป็นธุรกิจที่มีผลกำไรและผลตอบแทนการลงทุนสูง จึงมีผู้สนใจมาลงทุนในธุรกิจนี้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ SME เพราะใช้เงินลงทุนไม่สูงนัก

เมื่อปตท.สามารถสร้างแบรนด์ Café Amazon ให้ติดตลาดได้ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมจึงมีผู้สนใจมาขอเป็นผู้ประกอบการ (Franchisee) กับปตท.กันเป็นจำนวนมาก จนต้องขยายออกนอกสถานีบริการ

และผมก็ไม่เห็นเหตุผลว่าทำไมเราจะต้องหยิบยกเหตุข้ออ้างในรัฐธรรมนูญมากีดกั้นผู้ประกอบการรายย่อยเหล่านี เพียงเพราะเห็นว่าปตท.เป็นองค์กรที่ใหญ่เกินไป มีกำไรมากเกินไป หรือบางคนไม่พอใจในทุกอย่างที่ปตท.ทำ

สรุปก็คือเป็นองค์กรโจทก์เยอะนั่นเอง !!!