รัฐขายข้าว "จีทูจี" ผลประโยชน์ตกอยู่กับใคร?

14 ก.ย. 2561 | 11:47 น.
พาณิชย์เฉ่งโรงสียับ! หลังโรงสีแข็งข้อ ประกาศไม่รับซื้อข้าวชาวนา ... "เกรียงศักดิ์" แจงเหตุหมดเงินซื้อข้าว แบงก์เข้มปล่อยกู้ เผย ปีนี้บางโรงเก็งกำไรข้าวผิด คาดราคาจะขยับพุ่ง แต่กลับนิ่ง สวนกลับกังขารัฐขายข้าวจีทูจี "จีน-ฟิลิปปินส์" ส่งออกร่วม 8 ล้านตัน ทำไมราคาข้าวในประเทศไม่ขยับ ชาวนาได้ทีผสมโรง ชี้! ผลประโยชน์ตกอยู่กับใคร จี้! ตรวจสอบด่วน




TP9-3249-A-336x503

นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" จากกรณีโรงสีบางโรงที่ประกาศไม่รับซื้อข้าวจากชาวนานั้น ก็อยากจะชี้แจงให้กระทรวงพาณิชย์ ชาวนา และทุกห่วงโซ่ที่เกี่ยวข้อง มีหลายเหตุปัจจัยต่าง ๆ มากมาย แต่ส่วนใหญ่ยังทำการค้าปกติ ย้อนหลังกลับไปเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการโรงสีข้าวได้เคยประสบปัญหาราคาข้าวลดลงอย่างมาก ประมาณ 30-40% จึงทำให้ผู้ประกอบการโรงสีเจอกับปัญญาสภาวะขาดทุนอย่างรุนแรง ทั้งนี้ ทางสถาบันการเงินต่าง ๆ จึงบีบเร่งให้ผู้ประกอบการโรงสีปฏิบัติ ดังนี้ คือ 1) ต้องนำเงินไปชดเชยส่วนต่างของมูลค่าของสินค้าที่ลดลง 30-40% ที่เป็นหลักประกันกับทางธนาคารอยู่ หรือ 2) โรงสีต้องเติมสินค้าในสต๊อกให้มากขึ้นตาม ให้เท่ากับมูลค่าที่ลดลงไปนั้น เนื่องด้วยสภาวะดังกล่าวข้างต้น สถาบันการเงินต่าง ๆ ได้มองธุรกิจโรงสีว่าเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยง โดยเริ่มงดหรือระงับการอนุมัติวงเงินสินเชื่อให้กับโรงสี และยังเพิ่มความเข้มงวดในเรื่องของการต่อตั๋วสัญญาการใช้เงินระยะสั้น (แพ๊คกิ้งสต๊อก) ให้มากขึ้น

จากที่ผ่านมา บางสถาบันการเงินที่เคยอนุมัติวงเงินให้กับผู้ประกอบการโรงสี 6-7 หมื่นล้านบาท ได้ตัดสินใจดำเนินการปรับลงวงเงินลง 30-40% ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจเกิดสภาวะขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ทำให้ให้ผู้ประกอบการหลายรายที่กำลังประสบปัญหานี้บวกกับปัญหาอื่น ๆ ที่เพิ่มเติมเข้ามา ต้องหยุดกิจการ หรือถูกฟ้องร้องยึดทรัพย์สิน และบางรายถึงกับต้องต้องขายกิจการเพื่อรักษาสถานภาพบางส่วนไว้


003

เนื่องมาจากสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจโรงสี ด้วยกำลังการผลิตของโรงสีรวมนั้นสูงถึง 120 ล้านตันต่อปี แต่กลับสวนทางกับผลผลิตข้าวเปลือกที่มีเพียงประมาณ 27-30 ล้านตันต่อปีเท่านั้น ส่งผลให้ ณ ปัจจุบัน ผู้ประกอบการโรงสีหลายรายต้องเลิกกิจการ เนื่องด้วยหลาย ๆ สาเหตุ เช่น โรงสีตั้งอยู่ในพื้นที่ ๆ ไม่เหมาะอย่างในอดีต เพราะความเจริญของเมืองขยายเข้ามามากขึ้น หรือ ธุรกิจโรงสีบางครอบครัวไม่มีทายาทสืบทอด หรือ การแข่งขันสูง ไม่สามารถทำกำไรได้ รายได้จากการดำเนินธุรกิจไม่คุ้มค่าใช้จ่ายที่สูง และประสบปัญหาด้านการบริหารจัดการธุรกิจเรื่องการซื้อและขาย รวมถึงปัญหาด้านเงินหมุนเวียนที่ขาดสภาพคล่อง

นอกจากนี้ ปัจจัยลบมากมายที่ส่งผลต่อธุรกิจโรงสี แต่ก็ยังคงมีผู้ประกอบโรงสีบางส่วนที่ยังสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและไม่สะดุด เพราะเนื่องจากอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาสภาพคล่องที่ไม่รุนแรงมากนัก รวมทั้งพยายามปรับปรุงวางแผนการบริหารให้สามารถรักษากิจการให้อยู่ต่อไปได้ มีหลายท่านถามมาว่า จะมีผลกระทบต่อเกษตรกรชาวนาหรือไม่ ก็ขอเรียนชี้แจงว่า โรงสียังรับซื้อข้าวตามปกติขออย่าได้กังวล

มาถึงปัจจุบัน ด้วยสถานการณ์ต่าง ๆ ที่รุมเร้า และมีทีท่าว่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงสีอย่างต่อเนื่อง จึงขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบโรงสีข้าวทุกท่าน ค่อย ๆ ทำการซื้อขายข้าวอย่างระมัดระวัง พยายามปรับตัวกับสถานการณ์ปัจจุบันตลอดเวลา โดยหยุดพฤติกรรมการแข่งขันกันอย่างไร้เหตุผล หรือ เก็งกำไร โดยลืมนึกถึงความเสี่ยงที่ตามมา เพราะการดำเนินธุรกิจไม่มีใครช่วยท่านได้นอกจากตัวท่านเองเท่านั้น"


090861-1927-9-335x503

นายเกรียงศักดิ์ กล่าวถึงเรื่องการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ที่ได้ทำสัญญาไว้กับ COFCO ประเทศจีน สัญญา 1 ล้านตัน กำลังเจรจางวดที่ 6 ปริมาณข้าว 1 แสนตัน ส่งไปแล้ว 5 แสนตัน ข้าวไทยไปประมูลฟิลิปปินส์ (ไทยชนะการประมูลขายข้าวขาว 25% แบบ G to G ให้รัฐบาลฟิลิปปินส์) ปริมาณ 1.2 แสนตัน ส่งมอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว แล้วถ้านับรวมที่เอกชนไทยชนะการประมูลขายข้าวหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ได้ทยอยส่งมอบไปแล้วรวม 2.8 แสนตัน รวม 7-8 ล้านตัน ทำไมราคาข้าวในประเทศไม่ได้สูงขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะที่รัฐบาลไทยไปทำสัญญากับประเทศจีนกับฟิลิปปินส์ ควรจะถึงมือชาวนา โดยกำหนดคำสั่งซื้อที่รัฐรับมาและจัดให้กับผู้ส่งออกจะต้องเป็นการรับซื้อข้าวฤดูการเก็บเกี่ยวใหม่เป็นหลัก

ที่ผ่านมา รัฐบาลนำข้าวภายใต้การเจรจาคำสั่งซื้อจีทูจีไปมอบให้กับสมาคมผู้ส่งออกนำไปจัดสรรต่อให้กับสมาชิกที่มีประวัติด้านการส่งออกแล้วในตลาดนั้น ๆ เพื่อให้ส่งมอบได้อย่างไม่มีปัญหาและสามารถส่งออกได้จริง รัฐบาลคงจะต้องมองกลับไปที่วัตถุประสงค์หลักของรัฐ ว่า การซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐที่รัฐบาลพยายามกระตุ้นและเร่งขายนั้น อะไรคือวัตถุประสงค์หลักที่แท้จริง เช่น 1.วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวของไทยให้มากขึ้นเป็นหลัก หรือ 2. เพื่อเพิ่มแรงซื้อข้าวในประเทศให้มีมากขึ้นและช่วยหนุนนำราคาข้าวเปลือกข้าวสารให้สูงขึ้นได้

 

[caption id="attachment_317768" align="aligncenter" width="503"] Thai rice is loaded into a truck in Suphan Buri province, about 105 km (65.2 miles) north of Bangkok, March 24, 2008. Thai rice farmers are guarding paddy fields and hurrying to bring in their crops after a granary theft last week fuelled rumours of bandits lured by surging rice prices, officials said on Monday. Reports of widespread paddy theft, although unsubstantiated by police, spread quickly after the theft of 100 kg (220 lb) of premium quality fragrant rice from a farmer Thai rice is loaded into a truck in Suphan Buri province, about 105 km (65.2 miles) north of Bangkok, March 24, 2008. Thai rice farmers are guarding paddy fields and hurrying to bring in their crops after a granary theft last week fuelled rumours of bandits lured by surging rice prices, officials said on Monday. Reports of widespread paddy theft, although unsubstantiated by police, spread quickly after the theft of 100 kg (220 lb) of premium quality fragrant rice from a farmer's granary in the province of Kalasin, 500 km (310 miles) northeast of Bangkok. REUTERS/Sukree Sukplang (THAILAND)[/caption]

โดยถ้าวัตถุประสงค์หลักของรัฐ คือ การเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวของไทยให้มากขึ้นเท่านั้น รัฐอาจไม่จำเป็นต้องสนใจมากนักว่า ผู้ส่งออกจะซื้อข้าวจากใครในราคาเท่าใด ไม่ต่างจากการซื้อขายแบบปกติ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ 2 คือเพื่อช่วยเพิ่มแรงซื้อข้าวในประเทศให้มีมากขึ้นและช่วยหนุนนำส่งราคาข้าวเปลือกของเกษตรกรให้สูงขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ "รัฐก็ควรที่จะเข้ามามีบทบาทเข้ามากำหนดราคาซื้อขั้นต่ำ" แต่ถ้ารัฐบาลปล่อยให้ผู้ส่งออกตัดสินใจซื้อในราคาใดก็ได้ตามสมควร ก็ไม่ต่างจากการที่ผู้ส่งออกขายข้าวให้กับโบรกเกอร์ในต่างประเทศ โดยที่รัฐทำหน้าที่เป็นเพียงแค่นายหน้า หรือ โบรกเกอร์และเซลส์แมน ให้กับผู้ส่งออกเท่านั้น หรือ ผลประโยชน์ควรที่จะตกถึงเกษตรกรชาวนาจะดีกว่าหรือไม่อย่างไร

"สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากและต้องขอฝากไว้ในช่วงรับซื้อข้าวเปลือก คือ 1.การติดป้ายแสดงราคารับซื้อที่มีรายละเอียดสำคัญครบถ้วน 2.ใบรับสินค้าจะต้องระบุความชื้นให้ชัดเจน 3.กรณีที่รับซื้อข้าวเปลือกที่มีคุณภาพต่ำและราคาต่ำกว่าราคาป้าย จะต้องระบุ รวบรวม และเก็บหลักฐานไว้ เพื่อยืนยันสภาพข้าวที่ได้ช่วยรับซื้อไว้ในใบรับสินค้าด้วยทุกครั้ง"


599215723

ด้าน นายสุเทพ คงมาก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า รัฐบาลควรจะชี้แจงว่า การขายข้าวจีทูจีราคาเท่าไร ผู้ส่งออก ซื้อข้าวที่ไหน ผ่านโรงสี หรือ หยง รายไหน นำข้าวที่ไหนมาส่ง เพื่อให้ถึงมือเกษตรกรชาวนา ดังนั้นจะต้องชัดเจน ทุกอย่างต้องโปร่งใส เพราะการขายข้าวแบบจีทูจีถือว่ามีความเสี่ยงน้อยมาก ถ้าเปรียบเทียบกับการขายเองหรือขายผ่านโบรกเกอร์ในต่างประเทศตามปรกติ หรือ ทางผู้ส่งออกจะมองว่า รัฐมีเพียงหน้าที่เป็นนายหน้าหาคำสั่งซื้อมาจากต่างประเทศมาให้กลุ่มผู้ส่งออกจัดสรรแบ่งกันขายออกไปเท่านั้น มิใช่ทำเพื่อส่วนรวมก็ควรจะชี้แจงให้ชัดเจน


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว