พาณิชย์โล่งระบายข้าวหมด 18 ล้านตัน!!

10 ก.ย. 2561 | 09:09 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

พาณิชย์โล่งระบายข้าวหมด 18 ล้านตัน มีเงินคืนคลัง 1.46 แสนล้านบนาท ลดภาระค่าบริการจัดการที่สูงถึงเดือนละ 1,800 ล้านบาท หรือ 9.3 หมื่นล้านบาทได้ เตรียมรายงานคณะอนุปิดบัญชีสัปดาห์หน้า ก่อนรายงาน นขบ. ย้ำจำเป็นต้องแบ่งกองขาย เพื่อกันไม่ให้ข้าวคุณภาพต่ำวนกลับเข้ามาสู่ตลาดข้าวเพื่อการบริโภค ซึ่งจะฉุดให้ราคาข้าวทั้งระบบตกต่ำลง

นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลากว่า 4 ปี นับตั้งแต่เดือน ส.ค. 2557 - ก.ย. 2561 กรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะทำงานดำเนินการระบายข้าวในสต็อกของรัฐและเลขานุการคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว ได้ทำการระบายข้าวจำนวน 18 ล้านตัน ในสต็อกของรัฐจนหมด โดยดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่คณะกรรมการ นบข. ที่ให้ความเห็นชอบและทำความเข้าใจกับผู้ร่วมประมูล ตลอดจนชี้แจงผ่านสื่อให้สาธารณชนรับทราบในทุกขั้นตอน มีการกำหนดยุทธศาสตร์ แนวทาง หลักเกณฑ์ และขั้นตอนดำเนินการที่ชัดเจน โปร่งใส คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและผลกระทบต่อระบบการผลิตและการค้าข้าวไทยในทุกมิติ มีการจัดกลุ่มการระบายอย่างชัดเจน ทั้งการระบายแบบทั่วไปที่คนบริโภคได้ จนถึงประเภทที่คนกินไม่ได้ แล้วจึงได้ตัดสินใจระบายเข้าสู่อุตสาหกรรม ทำให้มีรายได้จากการะบายข้าวในสต็อกทั้งสิ้น 146,176 ล้านบาท



อดุยล์1


"จากกระแสข่าวที่มีผู้แสดงความกังวลเกี่ยวกับความเสียหายจากการระบายข้าวในสต็อกของรัฐนั้น กรมการค้าต่างประเทศขอเรียนว่า ในข้อเท็จจริงความเสียหายต่อระบบการผลิตและการค้าข้าวไทยได้เกิดมาโดยตลอด ตั้งแต่รัฐบาลที่ผ่านมาได้ตัดสินใจดำเนินโครงการรับจำนำแล้ว เพราะเมื่อเริ่มระบายข้าวตันแรกก็ขาดทุนแล้ว เนื่องจากต้นทุนที่รับจำนำข้าวไม่สอดคล้องกับระดับราคาข้าวในตลาด ซึ่งเป็นภาระที่คนไทยทั้งประเทศต้องแบกรับต่อมา โดยต้องเสียงบประมาณในการจัดเก็บเฉลี่ยสูงถึงเดือนละ 1,800 ล้านบาท ขณะที่ การเร่งรัดระบายข้าวออกจากสต็อกช่วยลดภาระค่าจัดเก็บ ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 96,300 ล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ยังไม่รวมความเสียหายส่วนอื่น ๆ ซึ่งมีคณะอนุกรรมการปิดบัญชี ที่มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นหัวหน้าคณะ ทำหน้าที่สรุปข้อมูลความเสียหายทางบัญชีรายงานต่อ นบข. ในทุก ๆ ปี ทั้งนี้ กรมจะรายงานไปยังคณะอนุปิดบัญชีภายในสัปดาห์หน้า ก่อนจะเสนอให้คณะกรรมการบิหารจัดการข้าว (นบข.) รับทราบต่อไป"

อย่างไรก็ตาม กรมการค้าต่างประเทศ ย้ำว่า รัฐบาลมีความจำเป็นต้องปรับแนวทางการระบาย โดยแยกข้าวออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อแยกตลาดให้ชัดเจน เนื่องจากภาครัฐไม่สามารถปล่อยให้มีการนำข้าวเสื่อมคุณภาพไปขายในตลาดปกติได้ เพราะจะกระทบต่อชื่อเสียง ความเชื่อมั่น ความเชื่อถือในคุณภาพข้าวไทย และจะเกิดวงจรการกดราคาข้าวในตลาดปกติด้วย



อดุลย์2


ทั้งนี้ ปริมาณข้าวที่กรมได้ระบายออกไป แบ่งเป็น ข้าวกลุ่ม P กลุ่ม A กลุ่ม B ซึ่งเป็นข้าวกลุ่มที่คนสามารถบริโภคได้มีปริมาณ 12.2 ล้านตัน ส่วนที่เหลือเป็นข้าวผิดชนิด ปริมาณประมาณ 7.3 แสนตัน ซึ่งแบ่งเป็นข้าวกลุ่ม 2 ปริมาณ 4.7 ล้านตัน และข้าวกลุ่ม 3 ปริมาณ 8 หมื่นตัน


e-book-1-503x62