BBL ชี้! ศก.โต 6.8% ดันสินเชื่อจีนพุ่ง 20%

09 ก.ย. 2561 | 11:33 น.
090961-1825

แบงก์กรุงเทพ เผย ยอดสินเชื่อประเทศจีนยังโตต่อเนื่อง 8 เดือนแรก โตแล้ว 15% หรือ ยอด 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังลูกค้ากลุ่มพลังงาน-การผลิตเบิกใช้วงเงิน คาดทั้งปีโต 20% หรือ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากยอดคงค้าง 1.2 พันล้านบาท หนี้เสียต่ำ 0.35%

นายสุวัชชัย ทรงวานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงเทพ ประเทศจีน เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจในจีนยังขยายตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีน ที่ช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวได้ที่ 6.8% โดยเห็นสัญญาณลูกค้านิติบุคคลมีการเบิกใช้วงเงินสินเชื่อมากขึ้น จะอยู่ในกลุ่มพลังงาน การผลิต และเกษตร ส่งผลให้ตัวเลขใน 8 เดือนแรก มีการปล่อยสินเชื่อใหม่เติบโต 15% หรือราว 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจากทิศทางธุรกิจที่คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง จึงคาดว่า ยอดสินเชื่อปล่อยใหม่ทั้งปีจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เติบโตค่อนข้างดีที่ 5-6% จากยอดสินเชื่อคงค้าง 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 1,050 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 

[caption id="attachment_314884" align="aligncenter" width="503"] ©geralt ©geralt[/caption]

ปัจจุบัน ฐานลูกค้าของธนาคารในจีนที่เป็นนิติบุคคลและมียอดใช้สม่ำเสมอ (Active) 200-300 ราย ส่วนรายย่อยยังไม่มากนัก ส่วนใหญ่ลูกค้านิติบุคคลจะใช้สินเชื่อธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ (Trade Finance) และธุรกรรมโอนเงินข้ามประเทศ (Remittance) โดยฐานลูกค้าเป็นลูกค้าจีนท้องถิ่น 40% ลูกค้าไทยที่เข้ามาทำธุรกิจในจีน 40% และลูกค้าในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย อีกราว 20%

ขณะที่ การแข่งขันเงินฝากในจีน ยังเห็นการใช้อัตราดอกเบี้ยที่สูง เพื่อดึงลูกค้าเงินฝาก  แม้ว่าธนาคารกลางประเทศจีน (PBOC) จะกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินฝากคงที่ 1 ปี เฉลี่ยจะต้องบวกลบไม่เกิน 2.25% แต่ในตลาดปัจจุบันอยู่ที่ราว 1.5% และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ 0.35% โดยธนาคารพาณิชย์สามารถแข่งขันได้ แต่จะต้องไม่เกินกรอบเพดานที่ธนาคารกลางประเทศจีนกำหนด โดยปัจจุบัน ยังเห็นการแข่งขันเงินฝากอยู่ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังต้องการสภาพคล่องและสินเชื่อขยายตัวได้ดี ทำให้ธนาคารต้องดึงสภาพคล่อง


PBOC


ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อยู่ที่ 0.35% โดยเป็นหนี้ค้างเก่าที่มีมานาน ซึ่งเป็นลูกค้านิติบุคคล 1 ราย และไม่ค่อยมีหนี้เกิดใหม่ หรือ New NPL เพราะ PBOC ให้ความสำคัญเรื่องการบริหารความเสี่ยง ทั้งการยืดอายุหนี้ ฟ้องร้อง และยังต้องการให้ธนาคารมีธรรมาภิบาลเรื่องของผู้บริโภค ซึ่งคล้ายกับไทยที่มีเรื่อง Market Conduct


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,399 วันที่ 9-12 ก.ย. 2561 หน้า 23

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ชี้ 'ทรู' แพ้ "TOT-กสทช." จ่ายแสนล้าน!!
‘ทรู’ กับบทพิสูจน์ กฎหมายศักดิ์สิทธิ์


เพิ่มเพื่อน
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว