เหตุและผล‘อนันต์ ดาโลดม’

10 ก.ย. 2561 | 11:04 น.
ค้านร่างกฎหมายเกษตรยั่งยืน

สัมภาษณ์
8 ก.ย.61-ร่างพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ. ...ภายใต้การนำของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  “วิวัฒน์ ศัลยกำธร” หรืออาจารย์ยักษ์ ที่วงการเกษตรไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ร่างดังกล่าวนี้เตรียมนำสู่การพิจารณาของ คณะรัฐมนตรี (ครม.) หากเห็นชอบแล้วจะนำเสนอคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป คาดหวังว่ากระบวนการจะเสร็จสิ้นภายในรัฐบาลชุดนี้   “อนันต์ ดาโลดม” นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทยและ อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร หนึ่งในผู้คัดค้านร่าง พ.ร.บ.นี้มีความคิดเห็นอย่างไร ฟังจากปากดังนี้

anan1
มหากาพย์ร่างกฎหมาย

นายอนันต์  กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้น่าจะมาจากนโยบายเกษตรอินทรีย์ที่รัฐบาลต้องการให้มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ 5 ล้านไร่ ภายในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งหากร่างกฎหมายนี้ถูกควํ่าไปจะไม่สามารถขับเคลื่อนนโยบายเกษตรอินทรีย์ 5 ล้านไร่ได้ และบางคนยังนำไปเชื่อมโยงกับเรื่องการแบน 3 สารเคมีอันตราย คือพารา ควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส เชื่อมโยงและผูกกันเป็นเครือข่ายที่น่ากลัวในการที่จะเข้ามากำหนดทิศทางนโยบายทางด้านการเกษตรของประเทศ

“เบื้องหลังร่าง พ.ร.บ.นี้น่าจะมีที่มาจากการผลักดันของเครือข่าย ‘วาระแห่งชาติเกษตรอินทรีย์’ เมื่อปี 2547 สมัยรัฐบาลของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร แต่ไม่สำเร็จ และได้พยายามเสนอร่างพระราชบัญญัติกองทุนส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ. ....ในสมัยที่ ดร.ธีระ สูตะบุตร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี 2550 แต่ถูกคัดค้านมีการชุมนุมเดินขบวนที่หน้ากระทรวงเกษตรฯ จึงไม่สามารถเสนอต่อรัฐบาลในขณะนั้นได้ ทำให้กลุ่มบุคคลองค์กรและเครือข่ายเดิมได้ดำเนินการเสนอขึ้นมาใหม่ในรัฐบาลปัจจุบัน”
ซํ้าซ้อนกับอีก 5 ฉบับ

[caption id="attachment_315298" align="aligncenter" width="503"] A farmer harvests rice in a field on the outskirts of Zamboanga City, southern Philippines, October 3, 2007. The Philippines is optimistic it will hit its rice output growth goal of 5 percent this year, with production rising another 5.74 percent in 2008, helped by use of high-yielding seeds, a government official said this week. REUTERS/Stringer (PHILIPPINES) A farmer harvests rice in a field on the outskirts of Zamboanga City, southern Philippines, October 3, 2007. The Philippines is optimistic it will hit its rice output growth goal of 5 percent this year, with production rising another 5.74 percent in 2008, helped by use of high-yielding seeds, a government official said this week. REUTERS/Stringer (PHILIPPINES)[/caption]

สำหรับเหตุผลที่คัดค้านเห็นว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน่วยงานต่างๆ อยู่แล้วใน การ บูรณาการการทำงานร่วมกัน และการยกร่างกฎหมายฯ ฉบับนี้ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 77 วรรค 2 เพราะการจัดรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์กระทรวงเกษตรฯและจัดสัมมนาเพียง 2 ครั้งที่ประชุมได้รับทราบเพียงตัวร่างกฎหมาย ไม่ได้รับข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัญหาที่จะกระทบกับร่างดังกล่าวนี้ เพราะหากกฎหมายนี้ออกมาจะเพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ เลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรม จะทำให้เกิดความขัดแย้งและก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคมเกษตรกร ระหว่าง “เกษตรอินทรีย์” ซึ่งเป็นเกษตรทางเลือก กับ “เกษตรเคมี” จะส่งผลกระทบต่อการ เกษตรด้านพืช ด้านประมง และด้านปศุสัตว์ ด้วย

นอกจากนี้ร่างยังไปซํ้าซ้อนกับกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ครอบคลุมอยู่แล้วถึง 5 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535, พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550, พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535, พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2561
ให้เกษตรกรเลือกทางเดิน

“ผมผูกพันกับวิถีชนบทและวิถีเกษตรมาตั้งแต่เด็ก เรียนเกษตร พี่น้องประกอบอาชีพการเกษตร (ปลูกปาล์มนํ้ามัน ยางพารา) มีความรู้ มีประสบการณ์ และมีอิสระในรูปแบบการทำการเกษตรที่เลือกเอง เชื่อว่าเกษตรกรส่วนใหญ่คงคิดเหมือนผม คือ ขอความเป็นอิสระในการเลือกทางเดิน เลือกรูปแบบทางการเกษตรแบบที่ต้องการ เพียงแต่รัฐบาลช่วยเหลือในสิ่งที่เกษตรกรไม่สามารถทำได้ดีกว่า”

ผัก

ตัวอย่างเช่น การจัดที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง และผู้เช่าที่ดินเพื่อทำการเกษตร จัดหานํ้าเพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเกษตร เพื่อไม่ให้เกษตรกรต้องพึ่งพาธรรมชาติ เจอปัญหานํ้าท่วม ฝนแล้ง ที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ดูแลเรื่องราคาสินค้าเกษตรไม่ให้ถูกพ่อค้าเอารัดเอาเปรียบ กดราคา โกงนํ้าหนัก โกงตาชั่ง หักสิ่งเจือปน หักค่าความชื้น (ข้าว) หักเปอร์เซ็นต์แป้ง (มันสำปะหลัง) หักค่าความหวาน (อ้อย) หักเปอร์เซ็นต์นํ้ามัน (ปาล์มนํ้ามัน) เกินความเป็นจริง รวมทั้งปกป้องเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าสินค้าเกษตรที่สามารถผลิตได้ในประเทศ การให้ความรู้เรื่องเกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย (GAP) หรือเกษตรเคมี เกษตรผสมผสาน การป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM: Integrated Pest Management) ซึ่งหากเกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจแล้ว จะทำให้สามารถตัดสินใจได้ว่า รูปแบบการผลิตควรจะเป็นเกษตรอินทรีย์ เกษตร GAP เกษตรผสมผสาน ระหว่างอินทรีย์-เคมี หรือเกษตรเคมีล้วนๆ ให้เป็นอิสระในการตัดสินใจที่เกษตรกรต้องรับผิดชอบตนเอง

เงาะ

“อย่าดูถูก ดูหมิ่นภาคเกษตรและพี่น้องเกษตรกรไทย ว่าเป็นผู้ทำให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมและต่อผู้บริโภค ถูกกล่าวหาว่าเกษตรไทยใช้สารเคมีมากที่สุดในโลก ซึ่งไม่จริง เพราะถ้าเป็นอย่างที่กล่าวหา สินค้าเกษตรไม่ว่าจะเป็น ข้าว ยางพารา อ้อย คงไม่สามารถที่จะส่งออกได้ติดอันดับโลก ดังนั้นเพื่อเป็นทางออกและเกิดประโยชน์สำหรับภาคเกษตรกรไทยระหว่างเกษตร 2 กลุ่มนี้ควรจะมีการบูรณาการกัน การพึ่งพาซึ่งกันและกันใช้ร่วมกัน โดยผสมผสานส่วนที่ดีทั้ง 2 ฝ่ายก็สามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้”

หน้า 9 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,399 วันที่ 9-12 กันยายน 2561