"ดีแทค" เดินหน้า คุ้มครองลูกค้า หลังหมดสัมปทานคลื่น 850 MHz

06 ก.ย. 2561 | 08:22 น.
ดีแทคเดินหน้า คุ้มครองลูกค้า หลังหมดสัมปทานคลื่น 850 MHz ในวันที่ 15 ก.ย. 2561 พร้อมยื่นฟ้องศาลปกครองเพิกถอนมติ กสทช. 

Resize of Rajiv12 นายราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กรและพัฒนาธุรกิจ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “นับเป็นความรับผิดชอบของดีแทคในการต่อสู้เพื่อลูกค้า โดยในปี 2559 ดีแทคได้เรียกร้องให้มีการจัดประมูลคลื่นล่วงหน้า (Early auction) ตลอดจนแผนจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum roadmap) ซึ่ง กสทช.ได้จัดการประมูลคลื่น 900 MHz เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานล่วงหน้าเพียง 2 เดือน นอกจากนี้ ด้วยเงื่อนไขและสถานการณ์ที่แตกต่าง โดยเฉพาะความแตกต่างทางเทคนิคระหว่างคลื่น 900 MHz และ 850 MHz ซึ่งในทางปฏิบัติต้องใช้เวลาประมาณ 24 เดือนเพื่อเปลี่ยนถ่ายอุปกรณ์ใหม่จำนวนมากกว่าหมื่นแห่ง” Resize of riseupdtac8

“นอกจากนี้ ในวันที่ 7 มิถุนายน ที่ผ่านมา ดีแทค และ CAT ได้ร่วมยื่นแผนคุ้มครองลูกค้ากรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน ต่อ กสทช. ซึ่งก่อนหน้านี้ กสทช. ได้เคยอนุมัติการเยียวยาแก่ผู้ให้บริการรายอื่นที่เป็นคู่แข่งของดีแทคเป็นระยะเวลา 9 เดือน และ 26 เดือน อย่างไรก็ตาม กรณีของดีแทคที่กำลังจะหมดสัมปทานคลื่น 850 MHz ลงในวันที่ 15 กันยายนนี้  กสทช. ได้กำหนดเงื่อนไขในการได้รับสิทธิเข้าสู่มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ หากดีแทคเข้าร่วมประมูลคลื่น900 MHz ตามมติ กสทช. วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2561 ซึ่งเป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์ของประกาศมาตรการเยียวยาของ กสทช.” Resize of riseupdtac11

“ขณะที่เหลืออีกเพียง 9 วันก่อนสิ้นสุดสัมปทาน ดีแทคจึงจำเป็นต้องใช้สิทธิตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนมติ กสทช. ดังกล่าว เพื่อสิทธิประโยชน์ของลูกค้าดีแทคในการใช้งานคลื่น 850 MHz โดยปัจจุบัน ดีแทคมีลูกค้าในระบบสัมปทานกับ CAT จำนวน 90,000 ราย นอกจากนี้ ยังมีลูกค้าดีแทคไตรเน็ต หรือ DTN อีกเป็นจำนวนมากที่ใช้บริการข้ามโครงข่ายภายในประเทศ (Domestic Roaming) บนคลื่น 850 MHz ทั่วประเทศ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบการใช้งานของลูกค้า กสทช. ดีแทค และ CAT จำต้องร่วมรับผิดชอบในการดูแลคุ้มครองผู้บริโภค ตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ ของ กสทช.” 090861-1927-9-335x503

อย่างไรก็ตาม หากศาลมีคำสั่งคุ้มครองสิทธิการใช้งานของลูกค้าดีแทคบนคลื่น 850 MHz รายได้จากการให้บริการที่เกิดขึ้นในช่วงการคุ้มครองจะถูกนำส่งให้รัฐหลังหักค่าใช้จ่าย ซึ่งทำให้รัฐไม่เสียผลประโยชน์ใดๆ นอกจากนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านโครงข่าย  ดีแทคได้เร่งขยายเสาสัญญาณ คลื่นดีแทคเทอร์โบ 2300 MHz ของทีโอทีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคลื่นดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการดาวน์โหลดสูงสุดในประเทศไทยด้วยความกว้างแบนด์วิดท์ถึง 60 MHz และปัจจุบันสามารถให้บริการครอบคลุม 40% ของประชากรทั้งประเทศแล้ว เพื่อทดแทนประสิทธิภาพของคลื่น 1800 MHz
23626556