สจล.ผุดเวทีค้นคิดนวัตกรรม เปิดนักศึกษาระดมสมองแก้ปัญหาธุรกิจ

10 ก.ย. 2561 | 07:46 น.
     สจล. ผนึกรัฐ-เอกชนไทยเทศ เปิดเวทีระดมสมอง ไอ เอส ที เอส 2018 ค้นหาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาจริงกันแบบมาราธอนภายในระยะเวลา 7 วัน 7 คืน  หวังตอบโจทย์ธุรกิจทั้งฟิวเจอร์แบงกิ้ง  และสมาร์ทซิตี

รศ.ดร.อนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า สจล. ได้ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น (KOSEN-National  จัดงาน ไอ เอส ที เอส 2018 (ISTS 2018) เพื่อให้ทีมนักศึกษาได้ระดมสมองเพื่อคิดค้นและประดิษฐ์นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาจริงกันแบบ-มาราธอนภายในระยะเวลา 7 วัน 7 คืน (ระหว่างวันที่ 7-13 ตุลาคม 2561 )  โดยโจทย์ที่ได้รับเป็นโจทย์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งโจทย์แต่ละข้อจะเน้นในหัวข้อ 5 ด้านจาก Sustainability Development Goals (SDGs) ตามนโยบาย ของ องค์การสหประชาชาติที่ได้ให้ไว้ และ หัวข้อในการให้โจทย์ของนักศึกษาจะคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ทางด้านนวัตกรรม การดูแลสุขภาพ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ การท่องเที่ยว และอื่นๆ

“การจัดกิจกรรมลักษณะดังกล่าว เรียกกันว่า แฮกคาธอน (Hackathon) วัตถุประสงค์การจัดงานในครั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาจากหลากหลายสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศมีโอกาสทำงานร่วมกันเพื่อฝึกการใช้ทักษะทางวิศวกรรม การออกแบบและธุรกิจในการแก้ปัญหาโจทย์จากธุรกิจจริง”

โดยโจทย์ของกิจกรรมจาก 5 บริษัท และ 5 กลุ่มธุรกิจที่มีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความต้องการของบริษัท ได้แก่ 1. โจทย์จากธนาคารกรุงไทยในการประยุกต์ใช้ Chat Bot และปัญญาประดิษฐ์มาช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางด้านการเงิน 2. โจทย์จาก AWS เป็นการนำระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์มาช่วยให้วิถีการดำเนินงานของคนในบ้านมีความสะดวกสบายมากขึ้น 3. โจทย์จากพีทีทีดิจิตอล เป็นการนำโดรนมาทำงานร่วมกับมนุษย์สำรวจเมืองอัจฉริยะเพื่อเพิ่มเติมความสะดวกสบายและความปลอดภัยในเมืองอัจฉริยะ 4. โจทย์จากเรือเร็วลมพระยา ในการทำเทคโนโลยี AR/VR มาช่วยสร้างมูลค่าและความปลอดภัยในธุรกิจการท่องเที่ยว 5. โจทย์จาก AutoDesk ในการสร้างระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ

090861-1927-9-335x503 สำหรับการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ นักศึกษาสมัครเข้ามาเพื่อร่วมกิจกรรมแฮกคาธอนครั้งนี้ นักศึกษาสามารถสมัครเข้ามาร่วมโครงการได้ โดยในหนึ่งทีมจะต้องประกอบไปด้วยนักศึกษาที่มาจากต่างสาขากัน อาทิ วิศวกร โปรแกรมเมอร์ การตลาด สถาปนิก การจัดทีมจะคละสาขาที่ต่างกัน คละประเทศ โจทย์ที่ได้รับและภูมิหลังทางด้านการศึกษาจะมีส่วนสำคัญในการจัดทีม นักศึกษาที่เข้ามาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้มาจาก 5 ประเทศ ได้แก่ 1 ญี่ปุ่น 54 คน 2. สิงคโปร์ 16 คน 3. ฮ่องกง 20 คน 4. อินโดนีเซีย 12 คน 5. ไทย 50 คน รวมทั้งหมดมีนักศึกษาในการแข่งขันครั้งนี้ 152 ท่าน แบ่งเป็นทั้งหมด 30 ทีม  ทีมละ 5-6 คน

ด้านดร.ธีรวัฒน์ อัศวโภคี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานนวัตกรรมข้อมูลเพื่อการขับเคลื่อนธุรกิจธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า “การสนับสนุนการจัดงานในครั้งนี้ ถือเป็นการตอกยํ้าเจตนารมณ์ของธนาคารในการก้าวสู่ธนาคารแห่งอนาคต หรือ Future Banking และเป็นโอกาสที่ธนาคารจะได้ร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรม ในการส่งเสริมและสรรหาบุคลากรที่มีทักษะด้านไอทีในระดับภูมิภาคและในระดับโลก ซึ่งจะเป็นที่ต้องการในภาคธุรกิจต่างๆ รวมทั้งเป็นช่องทางในการเฟ้นหาทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพเพื่อมาทำงานร่วมกับธนาคารต่อไป”

“โดยการแข่งขันในครั้งนี้จะเป็นในรูปแบบ แฮกคาธอน (Hackathon) ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะได้แข่งขันในสถาน
การณ์ที่เสมือนชีวิตการทำงานจริงในการวางแผนการจัดการเวลา การทำงานเป็นทีม ปรับเปลี่ยนคิดค้นแก้ปัญหา หรือ Hack ปัญหา อย่างติดต่อกันแบบมาราธอน Marathon เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของธนาคารที่ต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา โดยในการแข่งขันจะมีผู้เชี่ยวชาญจาก Krungthai Innovation Lab ของธนาคารมาเป็นผู้สนับสนุนและให้คำแนะนำเชิงเทคนิคแก่ทีมผู้เข้าแข่งขันในการพัฒนาเทคโนโลยี Thai Optical Characer Recognition (Thai-OCR) หรือระบบการประมวลผลข้อความและจัดเก็บข้อมูลเอกสารภาษาไทย และในการพัฒนาเทคโนโลยี AI Chatbot หรือระบบสนทนาโต้ตอบอัตโนมัติ

สามารถนำมาประยุกต์กับการดำเนินธุรกิจของธนาคาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานของธนาคาร โดยเฉพาะกระบวนการอนุมัติสินเชื่อ ให้รวดเร็ว ลดข้อผิดพลาดนำมาซึ่งการให้บริการที่เป็นเลิศและตอบโจทย์ลูกค้าประชาชนในยุคดิจิตอล 4.0 ต่อไป”

หน้า 5 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,399 ระหว่างวันที่ 9-12 กันยายน 2561

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว