สมาคมภาคธุรกิจยุโรป EABA ชื่นชมนโยบายเศรษฐกิจไทย

07 ก.ย. 2561 | 09:50 น.
นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2561 ได้พบหารือกับคณะผู้แทนสมาคมภาคธุรกิจยุโรป (EABA) นำโดยนาย Geoff Donald ผู้บริหาร EABA พร้อมด้วยสมาชิก EABA ที่เป็นบริษัทชั้นนำของยุโรป ได้แก่ ธนาคาร ABN-AMRO บริษัท Kaspersky Lab บริษัท Travelport และบริษัท Zuelling Pharma ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองต่อนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของไทย

[caption id="attachment_314279" align="aligncenter" width="503"] ชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์[/caption]

ทั้งนี้ EABA เป็นสมาคมของภาคธุรกิจขนาดใหญ่ของยุโรปที่มีการค้าการลงทุนในอาเซียนรวมทั้งไทยในสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาคการเงินและการธนาคาร ยาและเวชภัณฑ์ เกษตรและอาหาร และเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยไซเบอร์มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมบรรยากาศที่ดีทางการค้าและการลงทุนให้กับบริษัทยุโรป รวมทั้งเป็นเวทีสำหรับหารือกับรัฐบาลประเทศสมาชิกอาเซียน มีการนำคณะนักธุรกิจเยือนประเทศสมาชิกอาเซียนที่เอกชนยุโรปให้ความสนใจทุกปีโดยปีนี้ได้เลือกมาเยือนไทย

[caption id="attachment_314281" align="aligncenter" width="503"] Geoff Donald ผู้บริหาร EABA Geoff Donald ผู้บริหาร EABA[/caption]

“EABAได้สอบถามเกี่ยวกับนโยบายด้านเศรษฐกิจและการค้าของไทยจึงได้แจ้งให้ทราบเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นโยบายไทยแลนด์4.0 และการส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) รวมทั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (เอสอีซี) ที่จะเชื่อมโยงไปยัง BIMSTEC ทางฝั่งอันดามัน และได้เชิญชวนให้นักธุรกิจยุโรปเยี่ยมชมและศึกษาสิทธิประโยชน์ของการลงทุนในเขตอีอีซี สำหรับกระทรวงพาณิชย์มีนโยบายสนับสนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยกรมต่างๆ ผนึกกำลังการทำงานเพื่อให้เกิดการอำนวยความสะดวกทางการค้า การลดต้นทุนทางธุรกิจ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน” รมช.พาณิชย์กล่าว

นอกจากนี้ ในโอกาสที่ไทยจะเป็นประธานอาเซียน ในปี 2562 ไทยจะเน้นผลักดันกิจกรรมที่ตอบโจทย์ทิศทางการค้าของโลกโดยอยู่บนหลักการสำคัญคือ ต้องอำนวยความสะดวกทางการค้า และสนับสนุนระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งปลายปีนี้อาเซียนจะมีการลงนามความตกลงว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หลังจากนั้นจะมีการจัดทำแผนดำเนินงานในเรื่องนี้ ซึ่งไทยจะใช้โอกาสในการเป็นประธานอาเซียนกำหนดกิจกรรมที่สอดรับกับเป้าหมายดังกล่าว รวมทั้งการวิจัยและพัฒนา และการพัฒนาแรงงานสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลด้วย โดยจะเปิดโอกาสให้ประเทศคู่เจรจาของอาเซียนที่สนใจเข้ามาดำเนินโครงการร่วมกับอาเซียนขณะนี้มีบางประเทศแสดงความสนใจผ่านทางไทยแล้ว ซึ่งจะได้นำไปหารือกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นต่อไป

tajang2

EABA ได้แสดงความชื่นชมต่อนโยบายเศรษฐกิจของไทยว่าดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้องที่จะขยายการค้าการลงทุน   ทั้งนี้สหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากจีน ในปี 2560 มีมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 257.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยอาเซียนส่งออกและนำเข้าจากสหภาพยุโรปมีมูลค่า 154.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ไทยเป็นคู่ค้าสำคัญในอาเซียนอันดับที่ 3 ของสหภาพยุโรป รองจากสิงคโปร์และเวียดนาม โดยไทยและสหภาพยุโรปมีมูลค่าการค้ารวม 44.41 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยส่งออกและนำเข้าจากสหภาพยุโรป 23.81 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 20.60 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ

ในส่วนของการลงทุน สหภาพยุโรปเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับ 1 ของอาเซียน ในปี 2560 สหภาพยุโรปมีมูลค่าการลงทุนในอาเซียนประมาณ 25.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไทยเป็นประเทศอาเซียนที่สหภาพยุโรปเข้ามาลงทุนอันดับที่ 5 รองจากสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซียและฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ สหภาพยุโรปเข้ามาลงทุนในไทยคิดเป็นมูลค่า 1.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

23626556