Tele-medicine จะมีผลอย่างไรต่อ Medical tourism ของไทย(จบ)

10 ก.ย. 2561 | 02:40 น.
เยอรมนี เป็นหนึ่งในประเทศที่พัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์มาอย่างยาวนาน และในขณะที่ Tele-medicine เริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้น กระทรวงสาธารณสุขของรัฐไบเอิร์นก็ได้เริ่มนำร่องโครงการ “Telemedallianz” ที่เมือง Ingolstadt เพื่อนำ Tele-medicine มาใช้งานในพื้นที่ โดยภาครัฐและภาคเอกชนต่างร่วมกันพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบเครือข่ายการเชื่อมต่อข้อมูล ระบบโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการบริการ ความร่วมมือระหว่าง โรงพยาบาลและสถาบันการศึกษา และการพัฒนากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้การยอมรับจากภาคสังคม เป็นต้น

เยอรมนี : ประเทศต้นแบบ

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว เยอรมนียังได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับ e-Health ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การใช้ และการเผยแพร่ข้อมูลด้านการรักษาพยาบาลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ โรงพยาบาล ร้านขายยา และบริษัทประกันส่วนบุคคล เป็นต้น เพื่อประยุกต์ใช้ข้อมูลในแบบดิจิตอลให้มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ โดยเยอรมนีมีแผนจะพัฒนาบัตรสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ที่รวบรวมข้อมูลสุขภาพทุกอย่างเกี่ยวกับบุคคลไว้ เช่น ประวัติการรักษา การแพ้ยา แผนการรักษา และรายงานของแพทย์และวิดีโอตอนผู้ป่วยพบแพทย์

ทั้งนี้ ในปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการจัดการทางด้าน Telematics infrastructure ซึ่งในอนาคตเมื่อระบบเสร็จสมบูรณ์แล้วจะสามารถส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก Big data ได้

telehealth

090861-1927-9-335x503 โอกาสของผู้ประกอบการไทย

แม้นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เดินทางเข้ามารักษาตัวในไทยโดยส่วนมากจะเป็นคนละกลุ่มกับผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลซึ่งจำเป็นต้องใช้บริการ Tele-medicine ของประเทศตนเอง แต่คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การที่ Tele-
medicine ซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้รับบริการทางการแพทย์ จะเป็นความท้าทายที่ส่ง ผลกระทบต่อประเทศไทยในฐานะที่หมายปลายทางของการเดินทางมารับการรักษาพยาบาล ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยอาจพิจารณาปรับตัว นำ Tele-medicine เข้ามาให้บริการทางการแพทย์บางส่วน เช่น การขยายช่องทางให้คำปรึกษาทางสุขภาพในเบื้องต้นผ่านระบบวิดีโอออนไลน์โดยทีมแพทย์ไทยก่อนผู้ใช้บริการจะตัดสินใจเดินทางมา อาจเป็นอีกแนวทางหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการไทยในการขยายกลุ่มผู้ใช้บริการในต่างประเทศให้มากขึ้นก็เป็นได้

นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เดินทางเข้ามารักษาตัวในไทยมักต้องการอยู่อาศัยในไทยอีกระยะหนึ่ง เพื่อพักฟื้นหรือเดินทางไปท่องเที่ยวต่อในพื้นที่ต่าง ๆ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยในอุตสาห กรรมการแพทย์ควรพิจารณาใช้ประโยชน์จากศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของไทยเป็นจุดขายร่วมกับความโดดเด่นด้านการแพทย์ของประเทศ ซึ่งในท้ายที่สุด ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องก็จะมีโอกาสได้รับผลประโยชน์ทั้งในแง่การเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้บริการต่างชาติที่เพิ่มมากขึ้นและการสร้างหรือกระจายรายได้ไปสู่ภาคธุรกิจอื่นๆ

ทั้งนี้ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลผู้ใช้บริการ Tele-medicine เป็นสิ่งที่รัฐบาลทั่วโลกต่างให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาความแตกต่างของนโยบายด้าน Tele-medicine ในแต่ละประเทศเป้าหมายเพื่อการทำงานที่ไม่ขัดต่อกฎระเบียบระหว่างประเทศ

พบกับอัพเดตความเคลื่อนไหวและโอกาสในตลาดต่างประเทศที่สถานทูตไทยทั่วโลกตั้งใจติดตาม  มาให้ภาคเอกชนไทยได้ที่เว็บไซต์ www.globthailand.com หากมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สามารถเขียนมาคุยกันได้ที่ [email protected]

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,399 ระหว่างวันที่ 9-12 กันยายน 2561