NEAติดอาวุธสตาร์ทอัพไทยดันสู่ยูนิคอร์น

05 ก.ย. 2561 | 06:31 น.
นาทีนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสของสตาร์ทอัพมาแรงสุดๆ เห็นได้จากการที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้เข้าไปให้การสนับสนุนผู้ที่กำลังจะเริ่มธุรกิจสตาร์ทอัพกันอย่างล้นหลามไม่ว่าจะเป็นทั้งทางด้านองค์ความรู้ เงินทุน กิจกรรมส่งเสริม หลักสูตรต่างๆ แถมยังมีการจัดตั้งหน่วยงานที่สนับสนุนเรื่องนี้ขึ้นมาโดยเฉพาะ เรียกได้ว่าเป็นยุคทองของสตาร์ทอัพไทยและโลกอย่างแท้จริง

[caption id="attachment_313022" align="aligncenter" width="503"] Start-up Business Team Working in Office Start-up Business Team Working in Office[/caption]

ล่าสุด สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือ  NEA ได้จัด “โครงการเสวนาเพื่อผู้ประกอบการยุคใหม่ Startup Symposium : The Power of Creativity & Innovation” ขึ้น เพื่อติดอาวุธทางความคิดให้กับเหล่าสตาร์ทอัพ โดยมีเมนเทอร์ชื่อดังเข้าร่วมแบ่งปันประสบการณ์และแนวคิดในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างคับคั่ง  อาทิ  บอย โกสิยพงษ์ ผู้บริหารค่ายเพลงเลิฟอีส นายธนญชัย ศรศรีวิชัย ผู้กำกับโฆษณาระดับโลก รางวัล คานส์ ไลออน, Mr.David Bolliger General Partner of Intervalley Ventures (AI Human,LP) จากประเทศออสเตรเลีย Mr.Gabriele Costigan Managing Director WeXcelerate จากประเทศออสเตรีย พร้อมด้วยหน่วยงานส่งเสริมสตาร์ทอัพอีกกว่า 10 หน่วยงาน

ภายในงานพบว่ามีหนึ่งไฮไลท์ของการเสวนาที่สำคัญ โดยมิสเตอร์วิลเลียม มาเล็ค (Mr.William Malek) กูรูด้านความคิดสร้างสรรค์ และอดีตอาจารย์จากมหาวิทยาลัย Stanford รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ออกมาเผยถึงอาวุธลับสำคัญในการเป็นสตาร์ทอัพที่จะประสบความสำเร็จระดับยูนิคอร์นที่ไม่ว่าใครก็สามารถมีและทำได้ โดยมี 7 ขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่

ภาพประกอบ 5 (1) 1.เข้าให้ถึงแก่นปัญหา

สตาร์ทอัพหลายรายไม่สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้จริงๆ ก็เพราะพวกเขาเข้าไม่ถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ก่อนอื่นเราต้องยอมรับก่อนว่ามันมีปัญหาอยู่จริงและตระหนักให้ได้ว่าการที่มีปัญหาก็ไม่ใช่เรื่องที่เลวร้ายเสมอไปเพราะในทุกปัญหาก็มีโอกาสแฝงอยู่ ที่สำคัญคือทำอย่างไรเราถึงจะสามารถรวบรวมปัญหาออกมาได้ คำตอบก็คือ “การตั้งคำถาม” การเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามที่ดีจะทำให้ผู้ที่กำลังประสบปัญหาอยากจะเล่าเรื่องราว แชร์ประสบการณ์ เสนอความคิดเห็นส่วนตัว หรือแม้กระทั่งความรู้สึกที่ไม่ได้รับความไม่สะดวกสบายจากการใช้สินค้าหรือบริการในปัจจุบัน

2. ลงพื้นที่จริง

หลังจากที่รู้ว่าปัญหาคืออะไรแล้ว ถึงเวลาที่จะต้องลงพื้นที่จริงๆเพื่อที่จะพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้ที่มีอุปสรรคในด้านนั้นๆจริงๆ และจากตรงนี้เราจะได้เห็นโลกในแบบกลุ่มเป้าหมายที่เราเห็น คิดหรือรู้สึกในแบบเดียวกัน จากตรงนี้จะทำให้เราสามารถระบุถึงความต้องการจริงๆ ในใจของพวกเขาออกมาได้ผ่านพฤติกรรม  ความชอบ  แรงกระตุ้น  หรือแม้กระทั่งความไม่พอใจส่วนตัว ตามคำกล่าวที่ว่า “ปัญหาของธุรกิจทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าพวกเราขาดแคลนนวัตกรรม แต่ขาดความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น” ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ในส่วนหลังนี้เป็นสิ่งที่สตาร์ทอัพทั่วโลกกำลังประสบปัญหาเดียวกันอยู่

3.ระบุขอบเขตของปัญหา

อะไรคือปัญหาของที่แท้จริงลูกค้า มองปัญหาให้เหมือนที่ลูกค้ามอง เมื่อนั้นคุณจะเห็นโอกาส สังเกต วิเคราะห์ และปะติดปะต่อข้อมูล คำถาม ปัญหา หรือไอเดียต่างๆ ที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันแล้ว ระบุประเด็นปัญหาออกมาให้ชัดเจน เพื่อที่จะได้ทราบว่าเรากำลังทำงานไปในทิศทางเดียวกันทั้งทีม และกำลังแก้ปัญหาได้ตรงจุด

4.ระดมไอเดียในการแก้ปัญหา

ว่ากันว่า การใช้คนให้ถูกกับประเภทของงานก็เหมือนกับทำสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง มาถึงตรงนี้ คุณต้องมีทีมงานที่ทำงานเข้าขากันเหมือนนักฟุตบอล 11 คน รับ-ส่ง บอลให้กันอย่างรู้อกรู้ใจเพื่อให้กองหน้าทำประตูคู่แข่งได้ ....คุณต้องทำการระดมทุกไอเดียในการแก้ปัญหา   “ว่ากันว่า ใน 1,000 ไอเดียจะมีแค่ 10 ไอเดียหรือแค่ 1% เท่านั้นที่เอาไปใช้ได้จริง ดังนั้นยิ่งมีไอเดียมากเท่าไร คุณก็ยิ่งจะได้ไอเดียที่สามารถนำไปใช้ได้จริงมากขึ้นเท่านั้น”

ภาพประกอบ 1 5.จำลองต้นแบบของสินค้าหรือนวัตกรรมและทำการทดสอบ

นำเอาความคิดสร้างสรรค์ที่ได้ มาต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานได้จริง (จะเป็นรูปแบบของแอพพลิเคชั่นหรือ ผลิตภัณฑ์จริงๆ ก็ได้)

6.ทำซ้ำๆและเรียนรู้จากสิ่งที่ทำ

หลังจากที่ได้ผลิตภัณฑ์ออกมาเป็นรูปเป็นร่างแล้วมาถึงขั้นตอนในการทดสอบการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ลองนำสิ่งที่คุณทำไปให้ใครสักคนที่กำลังประสบความไม่สะดวกสบายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ แอพพลิเคชั่น หรือบริการต่างๆ ทดลองใช้ แล้วขอฟีดแบ็คจากเขาเหล่านั้นว่าถ้าคุณจะทำออกมาจริงๆ มันจะเวิร์คหรือไม่ และถึงแม้มันไม่เวิร์คเลย อย่างน้อยคุณก็ได้เรียนรู้ว่า ความล้มเหลวเป็นบันไดไปสู่ความสำเร็จ ล้มแล้วลุกขึ้นให้ไว เรียนรู้จากความผิดพลาด แล้วนำไปปรับปรุง

7.ลงมือสร้างผลิตภัณฑ์แล้วลุยตลาดจริง

เมื่อผลิตภัณฑ์พร้อม ตลาดกลุ่มเป้าหมายชัด สิ่งที่คุณต้องการในตอนนี้ก็คือโอกาส อย่าหยุดที่จะมองหาโอกาสไม่ว่าจะโอกาสในการหาพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ หรือ โอกาสในการขาย

ผอ.พรวิช ศิลาอ่อน นายพรวิช ศิลาอ่อน ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือ NEA กล่าวว่า การจัดงาน Startup Symposium เป็นการส่งเสริมให้สตาร์ทอัพในประเทศไทยกล้าที่จะคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เพิ่มความสามารถทางด้านการแข่งขัน พร้อมดึงเอาศักยภาพที่มีอยู่ออกมาใช้ อันจะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยผู้ประกอบสตาร์ทอัพคุณภาพ หรือ “สตาร์ทอัพเนชั่น” ทั้งนี้ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ ถือเป็นหน่วยงานหลักที่มีภารกิจในการสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการไทยยุคใหม่รวมถึงสตาร์ทอัพให้มีขีดความสามารถทัดเทียมผู้ประกอบการในระดับนานาชาติ

e-book-1-503x62-7