กรมสุขภาพจิต ถอดบทเรียน“5 เหตุวิกฤติฉุกเฉิน” เพิ่มประสิทธิภาพการเยียวยาใจผู้ประภัย

04 ก.ย. 2561 | 09:12 น.
กรมสุขภาพจิต ถอดบทเรียน“5 เหตุวิกฤติฉุกเฉิน”เพิ่มประสิทธิภาพการเยียวยาใจ ผู้ประภัยทั้งไทยและเทศ

[caption id="attachment_312539" align="aligncenter" width="503"] นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองงวรวัฒน์ นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองงวรวัฒน์[/caption]

-4 กันยายน 2561- นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองงวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยภายหลังปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทีมเยียวยาใจหรือทีมสุขภาพจิตเอ็มแค็ทจากหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิต เพื่อถอดองค์ความรู้ในการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ประสบภาวะวิกฤติ ภัยพิบัติ   ซึ่งจัดขั้นที่โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ จ.สงขลาว่า วัตถุประสงค์หลักของการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อพัฒนาระบบการจัดการด้านสุขภาพจิตในภาวะเกิดเหตุการณ์วิกฤติฉุกเฉินให้เกิดประสิทธิภาพ  ซึ่งมี 2 กรณี คือ กรณีที่มีผลกระทบกับคนจำนวนมากเช่นเหตุสาธารณภัยต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเยียวยาจิตใจประชนที่ได้รับผลกระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันผลกระทบสุขภาพจิตในระยะยาว โดยเฉพาะ 4 โรคสำคัญ ได้แก่

โรคเครียดสะเทือนขวัญหรือโรคพีทีเอสดี (Post Traumatic Stress Disaster : PTSD) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นนอนไม่หลับ วิตกกังวล หวาดผวา  รวมทั้งการฆ่าตัวตาย  โรคทางจิตเวชเช่นซึมเศร้า  และการใช้สารเสพติดตามมา  ซึ่งหากได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้องตามช่วงความจำเป็นเร่งด่วนต่างๆ ก็จะลดความเสี่ยงได้ และอีกกรณีที่ไม่ยิ่งหย่อนกันก็คือภาวะฉุกเฉินที่เกิดรายบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่นการจี้ตัวประกัน การกระโดดตึก การปีนเสาไฟ เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีกลไกการเจรจาต่อรองทางจิตวิทยา  เพื่อให้ผู้ที่กำลังมีปัญหาได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างปลอดภัย ลดความสูญเสียได้อย่างทันท่วงที

38039 อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อไปว่า ในการถอดบทเรียนครั้งนี้  ได้ยกสถานการณ์เหตุวิกฤติฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในรอบ  3 ปี ทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน 5 สถานการณ์ ให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปัญหาอุปสรรคในการทำงานด้านต่างๆ โดยตรง ได้แก่ วิกฤติทีมหมูป่าอะคาเดมีติดถ้ำขุนน้ำนางนอน งานพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ วิกฤติสันเขื่อนแตกที่สปป.ลาวและผีปอบในภาคอีสาน วิกฤติเรือล่มที่ภูเก็ต ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ และวิกฤติระเบิดชายแดนใต้ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ต้องใช้มาตรการเยียวยาแตกต่างกันสอดคล้องกับผลกระทบ รวมทั้งความเชื่อเฉพาะในท้องถิ่นและวัฒนธรรม และบางกรณืมีเรื่องของกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวข้องด้วยเช่นกรณีน้ำท่วมจากสันเขื่อนแตกที่ สปป.ลาว

ทั้งนี้ประเด็นสำคัญของการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน นอกจากองค์ความรู้การเยียวยาจิตใจ และการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ แล้ว จะต้องมีกลไกการจัดการที่เป็นระบบ มีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ ทั้งในระดับส่วนกลาง ภูมิภาค และจังหวัด เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการทำงานระหว่างกรมวิชาการ กับทีมปฏิบัติงานเครือข่ายในพื้นที่ ตั้งแต่เกิดเหตุจนกระทั่งหลังเหตุการณ์เพื่อฟื้นฟูสุขภาพจิตประชาชนที่ได้รับกระทบทั้งคนไทยและต่างประเทศโดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ ให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและทันท่วงทีควบคู่ทั้งทางกายและทางจิต เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบการดูแล    โดยได้ให้โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ ซึ่งเป็นศูนย์เชี่ยวชาญด้านวิกฤติสุขภาพจิตของกรมสุขภาพจิตและกองบริหารระบบริการสุขภาพจิต จัดทำเป็นคู่มือแนวทางปฏิบัติงานของกรมสุขภาพจิตแบ่งตามสถานการณ์ระดับความรุนแรง  เพื่อใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ และถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ สู่ชุมชน สร้างความเข้มแข็งในการปฏิบัติงานช่วยเหลือเยียวยาแก่ประชาชนต่อไป 23626556