นายกฯฉุนสั่งสอบโรงสี กดข้าวเปลือกเหลือ4พัน

12 ก.ย. 2561 | 05:39 น.
 

นบข.เรียกถกปมร้อนชาวนาถูกกดราคาข้าวเปลือกหอมมะลิขายสดเหลือ 3-4 พันบาทต่อตัน “ประยุทธ์” ลั่นไม่พอใจโรงสี ทีดีอาร์ไอป้องยันไม่จริง ขณะนายกชาวนาสายตรง “ฉัตรชัย” เตือนจำนำยุ้งฉางโมเดลใหม่ ลับ ลวง พราง

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน นบข.ได้เรียกประชุมด่วน (3 ก.ย. 61) หลังจากที่ได้รับแจ้งว่ามีชาวนาถูกโรงสีกดราคารับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิขายสดเหลือเพียง 3,000-4,000 บาท(ราคาตลาด ณ ปัจจุบันหอมมะลิภาคอีสานเฉลี่ยที่ 1.60-1.75 หมื่นบาท/ตัน) ในที่ประชุมนายกรัฐมนตรีไม่พอใจโรงสีอย่างมาก แต่ฝ่ายกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยรศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ข้าว7
นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้มีการชี้แจงข้อมูลดังกล่าวอาจจะคลาดเคลื่อน เนื่องจากทุกวันนี้ปัญหาดังกล่าวมีบ้างในบางพื้นที่แต่น้อยมาก อาจจะมีโรงสีที่อยู่ไกลมีไม่กี่โรง แต่ถ้ามีโรงสีจำนวนมากแข่งขันกันจะทำได้ยาก เพราะปัจจุบันกำลังการผลิตของโรงสีมีมากกว่าผลผลิตข้าวของชาวนาถึง 4 เท่าในแต่ละปี ชาวนามีสิทธิ์เลือกขายให้ใครก็ได้หากได้ราคาสูงกว่า

สอดคล้องกับนายสุเทพ คงมาก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า ก่อนการประชุม นบข.ในครั้งนี้ พล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรีได้สอบถามตนว่ามีจริงหรือไม่ที่ชาวนาถูกกดราคาข้าวเปลือกหอมมะลิเหลือ 3,000-4,000 บาทต่อตัน ซึ่งได้ชี้แจงในเบื้องต้นว่าไม่เป็นความจริง ส่วนกรณีโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกปีการผลิต 2561/2562 หรือจำนำยุ้งฉางโมเดลใหม่ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่จะเริ่มในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 โดยให้สหกรณ์ไปเช่าโกดังโรงสีเก็บข้าวเปลือกไว้รอขาย อ้างเหตุผลช่วยชาวนามาเป็นแรงกระตุ้นผลักดันให้เกิด ได้ยืนยันไปแล้วว่าไม่เห็นด้วย  ทั้งนี้ผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการจำนำยุ้งฉางไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ สถาบันเกษตรกร จะต้องมียุ้งฉางของตนเองไม่ควรที่จะไปเช่าโกดังเอกชนเก็บข้าว เพราะจะเป็นต้นเหตุให้เกิดการทุจริตได้

โรงสี

ขณะที่นายเจริญ  เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน นบข. กล่าวถึง เหตุการณ์ที่มีรายงานว่า มีการรับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิจากชาวนาในราคาต่ำเพียงตันละ 3,000-4,000 บาทนั้นไม่ใช่โรงสีกดราคารับซื้อ แต่เป็นการช่วยชาวนามากกว่าเนื่องจากข้าวดังกล่าวยังเป็นข้าวที่ยังเขียวและเป็นข้าวเกี่ยวหนีน้ำ ดังนั้นปัญหาโรงสีที่จะมากดราคารับซื้อชาวนาแทบจะเป็นศูนย์เนื่องจากกำลังการผลิตของโรงสีสูงมาก ต้องแย่งซื้อข้าว อีกทั้งชาวนาในปัจจุบันก่อนที่จะเก็บเกี่ยวข้าว ส่วนใหญ่จะมีการสอบถามราคารับซื้อของโรงสีต่างๆ หากโรงสีใดให้ราคาดีก็จะไปขายที่นั่น และหากข้าวที่ชาวนาปลูกเป็นข้าวคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาดโรงสีก็จะส่งคนไปรับซื้อถึงที่แปลงนาเลย มองว่าชาวนามีอำนาจการต่อรองมากขึ้น