โจทย์ใหญ่ ‘กระทรวงอุดมศึกษา’ ขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม

03 ก.ย. 2561 | 08:51 น.
 

203626+56 “กระทรวงการอุดม ศึกษา วิจัย และนวัตกรรม” กระทรวงใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อเตรียมคนไทยไปสู่ศตวรรษที่ 21 และปฏิรูประบบเศรษฐกิจสังคมไทยไปสู่ฐานนวัตกรรมมุ่งตอบโจทย์การเป็นไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

ตอนหนึ่งบนเวทีเสวนาเรื่อง “กระทรวงใหม่: โอกาสและความท้าทายสำหรับมหาวิทยาลัย” จัดโดยเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย หรือ Research University Network (RUN) ได้ 2 คีย์แมนสำคัญผู้อยู่เบื้องหลังการร่างกฎหมายฉบับนี้มาให้ข้อมูล

[caption id="attachment_311947" align="aligncenter" width="503"] สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[/caption]

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของกระทรวงใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นตามกฎหมายฉบับใหม่นี้ว่า เป้าหมายของไทยต้องการก้าวไปสู่การเป็นประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Develop ment :OECD) เพื่อการันตีว่า ประเทศไทยเป็นโลกที่ 1 ซึ่งมหาวิทยาลัยมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายนั้น

“อนาคตของประเทศขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย การมีกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ยังเป็นโอกาสสำคัญในการยกระดับระบบอุดมศึกษาและระบบวิจัยของประเทศ ซึ่งหัวใจสำคัญของการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ ประกอบด้วย “2 ภารกิจ 8 หลักการ และ 3 ปฏิรูป” ดังนี้

2 ภารกิจ คือ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างประเทศไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม และเตรียมคนไทยไปสู่ศตวรรษที่ 21

ส่วน 8 หลักการ คือ การปรับเปลี่ยนประเทศสู่ประเทศโลกที่ 1, กำหนดอน าคต, สร้างแพลตฟอร์มการเปลี่ยนแปลงและสร้างสมรรถนะเชิงนวัตกรรม, นำทิศทางและรูปแบบอนาคตประเทศ, เสริมองค์ความรู้และความสามารถในการวิจัยและสร้างนวัตกรรม, มีความเป็นอิสระและรับผิดชอบต่อสังคม, ลดความเป็นราชการลงให้มากที่สุด, เคลื่อนย้ายบุคลากรได้อย่างคล่องตัว และออกแบบระบบงบประมาณให้เหมาะสม และ 3 ปฏิรูป คือ การปฏิรูประบบบริหารจัดการ ปฏิรูปกฎหมาย/กฎระเบียบ และปฏิรูประบบงบประมาณ

กระทรวงอุดมศึกษาต้นแบบปฏิรูป

นายสุวิทย์ เน้นยํ้าว่า การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาฯ นี้ ถือเป็นต้นแบบของการปฏิรูปที่แท้จริง เพราะมหาวิทยาลัยมีบุคลากรที่มีคุณภาพ ทั้งยังเป็นแหล่งผลิตบุคลากรที่สำคัญ โดยต้องปฏิรูปให้เป็นราชการน้อยลงเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงปรับกฎระเบียบต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์มหาวิทยาลัยทำงานวิจัยและใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

ทั้งยังต้องปฏิรูปงบประ มาณ มีการรวมศูนย์ โดยรัฐจะให้เป็นงบก้อนใหญ่มา แล้วกำหนดให้เลยว่า โจทย์ของประเทศ คือ อะไร ให้ไปทำเรื่องนั้นให้ได้ภายใน 3-5 ปี อาจารย์และนักศึกษาจะต้องไปสร้างงานวิจัยชี้นำอนาคตประเทศ ไปต่อยอดงานวิจัยไปสู่นวัตกรรม ดังนั้น การสร้างงานวิจัยต่อไปนี้ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน เป็นงานวิจัยที่จะต้อง เป็น agenda-based research มากขึ้น
2635265959 ดังเช่น กลุ่มของมหา วิทยาลัยรับโจทย์วิจัยเรื่องใหญ่ๆ เช่น ทำเรื่องสมาร์ทซิตี เรื่องพลังงาน เรื่อง precision medicine ซึ่งเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ ในขณะที่ราชภัฏทั้ง 38 แห่ง ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ได้รับโจทย์เชิงพื้นที่ โดยอาจกำหนดให้ 1 ราชภัฏดูแล 2 จังหวัด แจกโจทย์ให้ไปเลยว่า มีหน้าที่วิจัยเรื่องความยากจน แก้ปัญหาความยากจน

สำหรับความก้าวหน้าในการจัดตั้งกระทรวงใหม่นี้ กระทรวง วิทย์กำลังเร่งดำเนินการกฎหมายต่างๆ ทั้งในส่วนของร่างพ.ร.บ. วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ... ซึ่งอยู่ระหว่างทำประชาพิจารณ์ ส่วนร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง พ.ศ. ... ทางคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการจะเป็นผู้ผลักดัน คาดว่า ทั้ง 2 ฉบับจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้ในเดือนกันยายนนี้

ขณะที่การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาฯ นี้ ตั้งเป้าต้อง เกิดขึ้นให้ได้ในรัฐบาลชุดนี้ อย่างช้าที่สุด คือ ก่อนการเลือกตั้งต้นปีหน้า
090861-1927-9-335x503 เพิ่มเพื่อน

ขีดเส้นเกิดก่อนเลือกตั้ง

ในขณะที่นายอุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวสอดคล้องกันว่า รัฐบาลต้องการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศซึ่งปัจจุบันมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อเดือนอยู่ที่ประมาณ 1.5 หมื่นบาท ประเทศไทยติดกับดักรายได้ปานกลางมา 25 ปีแล้ว สะท้อนให้เห็นว่า ไม่ได้พัฒนาขึ้น แข่งขันกับประเทศอื่นไม่ได้ รัฐบาลจึงต้องยกระดับรายได้ของประชากร และการพัฒนาอุดมศึกษาถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะทำหน้าที่สร้างคนให้มีคุณภาพ ทันโลก ทันสมัย และเกิดคนเก่ง ทั้งยังมีหน้าที่ทำงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ พัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมให้พึ่งพาตนเองได้เพื่อลดการนำเข้า ซึ่งที่ผ่านมานั้นทำได้ดีระดับหนึ่งแต่ก็ยังช้ามาก จึงจำเป็นต้องแยก อุดมศึกษาออกจากกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจะทำให้มีเอกภาพ และรัฐบาลจะสนับสนุนได้ดีขึ้น

[caption id="attachment_311955" align="aligncenter" width="503"] อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[/caption]

“กระทรวงการอุดมศึกษาฯ จะเป็นหัวรถจักรในการสร้างคนให้มีคุณภาพขั้นสูง มีทักษะตอบโจทย์ตลาด การเปลี่ยนแปลงในอนาคต และสร้างองค์ความรู้ใหม่ ต่อยอดเป็นมูลค่าเพิ่ม เปลี่ยนระบบเศรษฐกิจประเทศเป็นฐานความรู้ ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นงานของมหาวิทยาลัย รัฐบาลจึงคาดหวังให้กระทรวงนี้เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ ไทยแลนด์ 4.0 ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

สำหรับกระทรวงใหม่นี้ถูกออกแบบให้มีขนาดเล็ก มีความคล่องตัว ทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนการทำงานของมหาวิทยาลัย ให้บรรลุภารกิจตามความถนัดของแต่ละสถาบัน โดยงบประมาณที่จะได้รับสนับ สนุนจากรัฐจะมากขึ้นด้วย เหมือนกับ เกาหลีใต้ มาเลเซีย และสิงคโปร์ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ซึ่งขณะนี้รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการกฤษฎีกาพิเศษขึ้นมาเพื่อพิจารณา ตั้งเป้าสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ต้องเสร็จเพื่อเสนอ ครม. และปลายเดือนพฤศจิกายน คาดว่ากฎหมายจะเกิดขึ้น”

อย่างไรก็ดี ยังต้องมีกฎหมายอีกอย่างน้อย 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.อุดมศึกษา และพ.ร.บ. วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเชื่อว่าจะออกมาทันเพราะอยากให้เสร็จก่อนการเลือกตั้ง เนื่องจากเกรงว่า เมื่อรัฐบาลใหม่เข้ามา กระทรวงใหม่อาจไม่เกิดขึ้น

ผลิตบัณฑิตตกงาน-ตัดงบ

พร้อมกันนี้ยังชี้ให้เห็นถึงทิศทางของมหาวิทยาลัยหากมีกฎหมายใหม่เกิดขึ้นเอาไว้อย่างน่าสนใจด้วยว่า หลังจากนี้มหาวิทยาลัยต้องทบทวนการเปิดหลักสูตรต่างๆ ให้สอดรับ ตอบสนองยุทธศาสตร์ประเทศ มหาวิทยาลัยที่จัดหลักสูตรได้ตรงก็จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณ หลักสูตรใดเปิดแล้วผลิตบัณฑิตไม่ตรงกับความต้องการ มีบัณฑิตตกงานมาก สภามหาวิทยาลัยซึ่งมีอำนาจอนุมัติหลักสูตรต้องทบทวน เนื่องจากไม่มีอำนาจเรื่องนี้ สิ่งที่จะดำเนินการได้ คือ การแนะนำและตัดลดงบประมาณลง
000001 สำหรับสาขาทางด้านสังคมนั้น ยืนยันว่า ยังต้องมีการผลิตบุคลากรออกมา แต่ช่วงนี้ประเทศต้องการคนด้านวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนประเทศ จึงต้องเร่งผลิตด้านนี้ออกมาก่อน

“กระทรวงการอุดมศึกษาฯที่จะเกิดขึ้นนี้ จะต้องมีขนาดเล็ก คล่องตัว เน้นตอบโจทย์ประเทศและผลักดันประเทศ ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างการจัดโครง สร้างใหม่ที่ก็ต้องทำให้คนทำงานเข้าใจ เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนความคิด และมองไปข้างหน้า มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศด้วย หากคนทำงานไม่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอาจจะเปิดให้มีการเออร์ลี่รีไทร์ขึ้นในอนาคต” นายอุดม รมช.ศึกษาธิการ ระบุ

|รายงาน : การเมือง
| โดย : กมลพร ชิระสุวรรณ
|หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 14 ฉบับ 3397 ระหว่างวันที่ 2-5 ก.ย.2561
23626556