สช. ไฟเขียว! "ร.ร.นานาชาติ" เข้าตลาดหุ้น

02 ก.ย. 2561 | 10:37 น.
020961-1726

อนุกรรมการฝ่ายกฎหมาย สช. สรุป "โรงเรียนนานาชาติ" เข้าตลาดหุ้น ไม่ขัด พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พร้อมงัดมาตรา 110 คุ้มสัดส่วนหุ้นให้เป็นไปตามกฎหมาย หากปล่อยให้ต่างชาติถือหุ้นเกิน ถูกควบคุมกิจการ

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มี นายชลำ อรรถธรรม รองเลขาธิการ ในฐานะรักษาการเลขาธิการ สช. ประชุมคณะอนุกรรมการฝ่ายกฎหมายเพื่อพิจารณากรณีที่ บริษัท เอสไอเอสบี จำกัด (มหาชน) - "เอสไอเอสบี" บริษัทเอกชนที่เป็นผู้รับใบอนุญาตในการจัดตั้งโรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์ มีแผนจะเข้าจดทะเบียนและคาดจะซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

[caption id="attachment_311613" align="aligncenter" width="503"] ชลำ อรรถธรรม รองเลขาธิการ ในฐานะรักษาการเลขาธิการ สช. ชลำ อรรถธรรม รองเลขาธิการ ในฐานะรักษาการเลขาธิการ สช.[/caption]

นายชลำ เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีการพิจารณาประเด็นว่า การที่เอสไอเอสบีนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ผิดพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 หรือไม่ ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นว่า "ไม่ผิด" เพราะมาตรา 22 กำหนดว่า บริษัทมหาชน บริษัทในห้างหุ้นส่วนจำกัด สามารถขอจัดตั้งโรงเรียนได้ แต่มีเงื่อนไข 2 ข้อ คือว่า จำนวนหุ้นและจำนวนผู้ถือหุ้นมากกว่ากึ่งหนึ่ง ตรงนี้กระบวนการในการซื้อขายหุ้นโรงเรียนก็ต้องมีมาตรการกำกับดูแลไม่ให้ผิดกฎหมาย หากบริษัทดำเนินการผิดกฎหมายก็ยังมีมาตรา 110 ที่ สช. จะเข้าไปกำกับดูแลให้โรงเรียนดำเนินการได้ ก็เท่ากับว่า กฎหมายเปิดโอกาสให้ดำเนินการได้

"ตามมาตรา 110 สช. มีอำนาจแจ้งให้ผู้ถือใบอนุญาตปรับให้เขาดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด หากมีปัญหาอีก ก็มีเงื่อนไขให้เขาดำเนินการตามมาตรา 95 ว่า ต้องทำอะไรบ้าง ให้แล้วเสร็จในระยะเวลาเท่าไร ให้เป็นตามกฎหมาย หากไม่ทำก็มีมาตรการเป็นลำดับ เช่น งดรับนักเรียน แต่หากยังไม่ดำเนินการตามที่กำหนดตามมาตรา 95 ก็ต้องมีการตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 96 ให้เข้าควบคุม บริหาร เพื่อไม่ให้นักเรียน ครู โรงเรียนได้รับความเสียหาย มันมีกฎหมายดูแลอยู่"

 

[caption id="attachment_311614" align="aligncenter" width="378"] อุษา สมบูรณ์ นายกสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย (ISAT) (©คมชัดลึก) อุษา สมบูรณ์ นายกสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย (ISAT)
(©คมชัดลึก)[/caption]

นางอุษา สมบูรณ์ นายกสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย (ISAT) กล่าวแสดงความคิดเห็นกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า โรงเรียนนานาชาติทุกแห่งควรมุ่งเรื่องของการพัฒนาการเรียนการสอน คุณภาพครูและนักเรียนเป็นหลัก ไม่ควรมุ่งเน้นเรื่องของธุรกิจ เพราะเป็นองค์กรที่ดำเนินการโดยไม่หวังผลกำไร แม้จะมีการแข่งขันเกิดขึ้นในเชิงธุรกิจ แต่ยังต้องโฟกัสเรื่องของคุณภาพในทุก ๆ ด้าน ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสำคัญ

"วันนี้สิ่งที่โรงเรียนนานาชาติทุกแห่งต้องคำนึงถึง คือ การจะเตรียมเด็กอย่างไรให้ได้คุณภาพ การศึกษาไม่ใช่อุตสาหกรรม หรือเป็นการดำเนินการเชิงพาณิชย์ จะทำอะไรต้องมุ่งให้เด็กได้ผลประโยชน์มากที่สุด ขณะที่ ผู้ปกครองเอง การจะเลือกโรงเรียนให้ลูกก็ต้องศึกษาถึงศักยภาพและความพร้อมของแต่ละโรงเรียนว่าเป็นอย่างไร นักเรียนเป็นอย่างไร และผู้ปกครองต้องวิเคราะห์เองว่าจะเลือกให้บุตรหลานเรียนที่ใด"

 

[caption id="attachment_311615" align="aligncenter" width="503"] ©OpenClipart-Vectors ©OpenClipart-Vectors[/caption]

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีโรงเรียนนานาชาติเกิดใหม่จำนวนมาก สาเหตุเป็นเพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลง ผู้ปกครองมีความสามารถในการส่งลูกเรียน ซึ่งมีทั้งโรงเรียนเอกชนดี ๆ โรงเรียนนานาชาติ ขณะที่ แต่ละโรงเรียนมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน และวันนี้ไม่ได้วัดกันที่เรื่องของภาษาอังกฤษ เพราะเป็นภาษาสากล ที่ทุกโรงเรียนให้ความสำคัญอยู่แล้ว แต่ผลลัพธ์จะอยู่ที่คุณภาพของเด็กที่สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา รู้จักปรับตัว มีความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ

ปัจจุบันมีโรงเรียนนานาชาติเปิดทำการเรียนการสอนอยู่ทั้งสิ้น 201 แห่งทั่วประเทศ แน่นอนว่า ส่งผลให้เกิดการแข่งขัน และแต่ละโรงเรียนต้องสร้างจุดเด่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคุณภาพครู นักเรียน ความพร้อมในด้านต่าง ๆ รวมถึงสถานที่ตั้ง (Location) ทำให้ต้องเกิดต้นทุนในการดำเนินการ บริหารจัดการ

 

[caption id="attachment_311616" align="aligncenter" width="252"] ©OpenClipart-Vectors ©OpenClipart-Vectors[/caption]

"การเป็นสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องมุ่งไปที่การเรียนการสอน ไม่ใช่การพาณิชย์ กล่าวคือ โรงเรียนควรเน้น Education มากกว่าที่จะเป็น Economy"

ฝ่ายสื่อสารองค์กรและส่งเสริมความรู้ผู้ลงทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"
 ว่า กรณีโรงเรียนนานาชาติที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น หากบริษัทที่จะระดมทุนมีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ก็สามารถขอยื่นออกและเสนอขายหลักทรัพย์ได้ ซึ่งการกำกับดูแลกิจการที่ดีจะมีส่วนสำคัญ นอกจากนั้น การดำเนินธุรกิจของบริษัทก็ต้องไม่ขัดกับหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างชาติ หรือ เกณฑ์อื่น ๆ ที่ต้องปฏิบัติตาม หากมีหน่วยงานกำกับดูแลหลักดูแลอยู่


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,397 วันที่ 2-5 ก.ย. 2561 หน้า 01+15

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ทางออกนอกตำรา : ผู้บริหาร ‘ก.ล.ต.-สช.’ จ๋า... อย่าให้ ‘โรงเรียนทำนาหลังผู้ปกครอง’
ฝ่ายกฎหมายสช. ชี้SISBเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้

เพิ่มเพื่อน ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว