ธปท.จับตา "ท่องเที่ยว-ส่งออกชะลอ"

01 ก.ย. 2561 | 07:29 น.
ธปท.เตรียมปรับประมาณการเศรษฐกิจเดือนกันยายน หลังเดือนกรกฎาคมขยายตัวต่อเนื่อง แต่ยังต้องจับตาภาคการส่งออก-ท่องเที่ยวจีนชะลอติดลบ 0.9% ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศแข็งแรง

นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เตรียมปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจใหม่เดือนกันยายน โดยจะนำข้อมูลเศรษฐกิจที่ผ่านมาและตัวเลขเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นเดือนแรกของครึ่งปีหลังยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง มาใช้ในการพิจารณา หลังจากช่วงครึ่งแรกของปี เศรษฐกิจ ขยายตัวได้ 4.8% และไตรมาสที่ 2 ขยายตัว 4.6% สอดคล้องกับประมาณการของธปท.

[caption id="attachment_311052" align="aligncenter" width="503"] ดอน นาครทรรพ ดอน นาครทรรพ[/caption]

ทั้งนี้ภาพรวมเศรษฐกิจเดือนกรกฎาคม แม้ว่าจะชะลอลงบ้างเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งชะลอลงตามการส่งออกเป็นสำคัญ แต่หากเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่มีอัตราการขยายตัวเกิน 10% มาอยู่ที่ 8.3% โดยส่วนหนึ่งมาจากภาคเกษตรที่ผลผลิตไม่มีส่งออก เช่น มันสำปะหลังและผลไม้ รวมถึงการส่งออกเครื่องซักผ้าและโซลาร์เซลล์ ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ที่มีอัตราการเติบโตติดลบในรอบ 21 เดือน ขณะที่จีนก็ชะลอลงมาเหลือ 3.5% จากก่อนหน้านี้ที่ขยายตัวค่อนข้างดี แต่ภาพรวมตัวเลขยังไปได้ดี ขณะที่การลงทุนเอกชนลดลงจาก 5.1% เหลือ 2.7% ส่วนการบริโภคมีแรงส่งดีกว่าคาดการณ์ไว้ สะท้อนจากรายได้ภาคเกษตรเป็นบวกมา 5 เดือน 090861-1927-9-335x503-3

ขณะเดียวกัน ธปท.ยังคงต้องติดตามตัวเลขภาคการท่องเที่ยว หลังจากชะลอตัวลงค่อนข้างมาก โดยเหลือการเติบโตอยู่ 2.8% จาก 11.6% ซึ่งหลักๆ มาจากการติดลบของนักท่องเที่ยวจีนและรัสเซีย โดยนักท่องเที่ยวจีนติดลบ 0.9% แม้จะติดลบน้อยเมื่อเทียบกับรัสเซียที่ติดลบ 10.8% แต่จะเห็นว่าจีนมีนํ้าหนักเยอะ หากเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด โดยมีสัดส่วนถึง 28%

ขณะที่นักท่องเที่ยวรัสเซียไม่กระทบเยอะ เพราะมีสัดส่วนแค่ 4% ส่วนหนึ่งที่รัสเซียลดลงมาจากค่าเงินรัสเซียอ่อนค่ามาก ดังนั้น ธปท.จะต้องติดตามตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นเดือนสำคัญต่อการประมาณการและดูผลว่าได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เรือล่มหรือไม่อย่างไร

หน้า 23-24 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,397 วันที่ 2 - 5 กันยายน พ.ศ. 2561

e-book-1-503x62-7