บูม "โซนพุทธมณฑล" !! เมืองอยู่อาศัยใหม่ เชื่อม "มหาชัย-นครปฐม" รับรถไฟฟ้า

30 ส.ค. 2561 | 09:48 น.
300861-1630

เปิดทำเลทองอยู่อาศัยโซนใหม่ "พุทธมณฑล-ศาลายา" รับต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงหลักสอง-พุทธมณฑลสาย 4-สายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา พร้อมทางยกระดับบรมราชชนนี มีลุ้นเปลี่ยนสีผังเมือง ปลุกเศรษฐกิจเชื่อมสมุทรสาคร-นครปฐม บ้านเดี่ยว คอนโดฯ แคมปัส รอบ ม.มหิดล พรึบ!!

การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ปัจจุบันยังคึกคักรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหลักสอง-พุทธมณฑลสาย 4 ซึ่งความคืบหน้าล่าสุด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) คาดว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) เร่งอนุมัติต้นปีหน้า ประเมินว่าจะเป็นอีกทำเลที่น่าจับตา

 

[caption id="attachment_310519" align="aligncenter" width="335"] วสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดิร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด วสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดิร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด[/caption]

นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดิร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงแนวโน้มการพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยในโซนพุทธมณฑลและศาลายา ที่ รฟม. และ ร.ฟ.ท. อยู่ระหว่างการเร่งผลักดันรถไฟฟ้า 2 สายทาง และกรมทางหลวงมีแผนก่อสร้างทางยกระดับบรมราชชนนีส่วนต่อขยายไปถึงแยกสามพราย จ.นครปฐม ว่า ในส่วนพื้นที่นี้ยังติดข้อจำกัดตามกฎของพุทธมณฑล และปัจจัยด้านผังเมืองนับว่ายังเป็นข้อจำกัด ในพื้นที่โซนเพชรเกษม-พุทธมณฑลที่เป็นสีเขียว ที่ดินประเภทเกษตรกรรม ก.4 ก.5 แยกพุทธสาครพื้นที่สีส้ม ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง ย.5 และสีเหลืองที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย ย.3 ย.4 ส่วนโซนศาลายาที่อยู่ในเขตนครปฐม ผังเมืองหมดอายุ สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้มากกว่า

โดยส่วนใหญ่จะกำหนดให้สร้างได้เฉพาะบ้านเดี่ยวสูงไม่เกิน 6 เมตร ทาวน์เฮาส์และอาคารพาณิชย์ยังติดข้อจำกัดความสูง ส่วนโซนมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ถือได้ว่ามีศักยภาพสูงมาก ตรงกันข้ามกับโซนเพชรเกษมและแยกพุทธสาคร ที่พัฒนาได้ค่อนข้างมีข้อจำกัด กำลังซื้อยังมีน้อย อีกทั้งส่วนใหญ่ยังทำงานในพื้นที่ ไม่ได้เดินทางเข้าเมืองมากนัก ตลาดส่วนใหญ่ระดับล่างกำลังซื้อน้อย ประชากรส่วนใหญ่เป็นประชากรแฝง ตลาดบ้านเช่าจึงมีมากกว่า นั่นคือ อพาร์ตเมนต์ยังได้รับความนิยม


30-3396-300861-1633

"ปัจจุบันโซนเพชรเกษม-พุทธมณฑล-ศาลายา มีโครงการจัดสรรเกิดขึ้นแล้วหลายโครงการ จากผู้ประกอบการพัฒนาที่ดินชั้นนำและในพื้นที่ ขณะนี้ ราคาที่ดินในโซนเพชรเกษมยังอยู่ระดับ 7-8 หมื่นบาทต่อไร่ หากรถไฟฟ้าเปิดให้บริการและส่วนต่อขยายไปถึงพื้นที่จะปรับขึ้นระดับแสนบาทต่อไร่ ส่วนโซนศาลายาระดับราคา 1.5 ล้านบาทต่อไร่ ยังฮอตมากกว่าโซนพุทธมณฑล บ้านเดี่ยวหลังใหญ่ขนาด 50 ตารางวา จะมีมากขึ้น ล่าสุด แม้ว่ากลุ่มเจเอสพีพร็อพเพอร์ตี้จะไปสร้างคอนโดฯ 3-4 อาคาร ในพื้นที่ย่านกระทุ่มแบนยังขายได้ช้า


S__450572

ส่วนโซนศาลายาในเขตนครปฐม พบว่า คอนโดมิเนียมยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านหลังมหาวิทยาลัย ทั้งทุนใหญ่ค่ายดัง อาทิ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค และทุนในพื้นที่มีการพัฒนาโครงการอีกหลายโครงการ มั่นใจว่ายังไม่ส่งผลบวกต่อถนนพุทธมณฑลสาย 5-6-7 ปัจจุบันยังมีบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติอีกหลายโครงการไว้รองรับ จึงเหมาะกับการพัฒนาเพื่อรองรับตลาดแรงงานในบางพื้นที่มากกว่า แต่อีกหลายพื้นที่โซนพุทธมณฑลจึงเหมาะสมที่จะพัฒนาเพื่อรองรับกำลังซื้อที่เป็นกลุ่มเจ้าของกิจการขนาดย่อม กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าคนไทย บ้านในโซนนี้จึงยังขายดีมากกว่าคอนโดมิเนียม

ในส่วนแนวทางการปลดล็อกนอกเหนือจากจะปรับสีผังเมืองตามการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าแล้ว ยังเสนอให้มีการพัฒนาศูนย์ประชุมขนาดใหญ่ โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้าขนาดใหญ่ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในพื้นที่พุทธมณฑล ให้ที่นี่เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและดึงโครงข่ายคมนาคมเข้ามาในพื้นที่ได้มากขึ้น"

ด้าน นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวถึงจุดเด่นของโซนพุทธมณฑล-ศาลายา ว่า หาก รฟม. เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ความเจริญในพื้นที่ดังกล่าวได้รับอานิสงส์ตามมาแน่ ๆ ดังนั้น ราคาขายบ้านจึงมีแนวโน้มเพิ่มตาม เช่นเดียวกับราคาที่ดิน แต่ยังมั่นใจว่าจะสามารถนำไปพัฒนาโครงการได้โดยไม่ติดข้อจำกัดด้านราคาที่ดิน

 

[caption id="attachment_310522" align="aligncenter" width="328"] พรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย พรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย[/caption]

"ศักยภาพของพื้นที่ยังมีแนวโน้มสูงมาก ในเร็ว ๆ นี้จะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย อีกทั้งรัฐบาลยังมีแผนต่อขยายรถไฟสายสีแดงอ่อน ช่วงจากตลิ่งชัน-ศาลายา พร้อมกับกรมทางหลวงมีแผนก่อสร้างส่วนต่อขยายทางยกระดับบรมราชชนนีไปสิ้นสุดที่แยกสามพราน จ.นครปฐม ส่งผลให้เกิดการเชื่อมโยงด้านระบบโครงข่ายการเดินทางและโลจิสติกส์ในพื้นที่ ไปยัง จ.สมุทรสาครและนครปฐม ไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น"

ด้าน นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงหลักสอง-พุทธมณฑลสาย 4 ในส่วนการประมูลโครงการนี้นั้น เบื้องต้น ขอรอดูส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค เปิดให้บริการเต็มที่ก่อน ว่า ประชาชนจะใช้บริการมากน้อยอย่างไร เนื่องจากปัจจุบันพบว่า คนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะทำงานในโซนเพชรเกษม อ้อมน้อย อ้อมใหญ่ พุทธมณฑล ศาลายา มากกว่าจะเดินทางเข้ามาทำงานโซนในเมืองกรุงเทพฯ นั่นเอง


……………….
เซกชัน : อสังหาฯ โดย นสพ.ฐานเศรษฐกิจ

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,396 วันที่ 30 ส.ค. ถึง 1 ก.ย. 2561 หน้า 01-02

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
สายปั่นเฮทล.ปรับสวนสมเด็จย่าพุทธมณฑลเพิ่มปอดคนกรุงพร้อมเลนจักรยาน
รฟม. ก้าวสู่ปี 27 เร่งให้บริการ 'รถไฟฟ้า' อีก "5 สาย"

เพิ่มเพื่อน e-book-1-503x62-7