มธ.ปรับยุทธศาสตร์การศึกษา ผสมผสานเทคโนโลยีสู่การเรียนยุคใหม่

30 ส.ค. 2561 | 04:29 น.
ธรรมศาสตร์ ยกระดับการเรียนยุคใหม่ เปิดตัว “เจน เน็กซ์ อะคาเดมี่” แนวคิดใหม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกวัย สามารถเรียนรู้อย่างไร้ขีดจำกัด ตั้งเป้าผลิตสื่อการสอนแบบออนไลน์ 40 วิชาต่อปี พร้อมจัดงาน “เจน เน็กซ์ เอ็ดดูเคชั่น 2018” สะท้อนการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมด้านการศึกษาของโลก

ภาพบรรยากาศ (6) รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า มธ. ได้ยกระดับยุทธศาสตร์ด้านวิชาการ ให้ตอบสนองกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกและตอบโจทย์ผู้เรียนยุคใหม่ เพื่อรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก ด้วยองค์ความรู้ในอดีตและการเรียนรู้รูปแบบเก่า ไม่ตอบสนองบริบทของโลกยุคปัจจุบัน และไม่ตอบโจทย์ผู้เรียนยุคใหม่ ที่มีความต้องการที่หลากหลาย  มธ.ได้เปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ทางด้านการเรียนการสอน อาทิ การปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนในวิชาศึกษาทั่วไป (General Education Reforming) ทั้ง 10 วิชา ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีลักษณะเป็นผู้นำ ก้าวทันโลกยุคปัจจุบัน เน้นการเชื่อมโยงให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก

นอกจากนี้ ยังมีการเปิดตัว “เจน เน็กซ์ อะคาเดมี่” (Gen Next Academy) การเรียนในรูปแบบ Massive Open Online Course หรือ MOOC ด้วยการนำเทคโนโลยีและวิธีการเรียนการสอนสมัยใหม่มาผสมผสานกัน พร้อมตั้งเป้าผลิตสื่อการสอนแบบออนไลน์ 40 วิชาต่อปี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้ ในอนาคตจะเปิดโอกาสให้ คนภายนอกได้เข้ามาศึกษาตามความสนใจอีกด้วย โดยระบบดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้ กลุ่มคนทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ นักเรียนมัธยม วัยทำงาน และวัยเกษียณ สามารถเข้าคอร์สเรียนเพิ่มเสริมทักษะ เพื่อทบทวนความรู้เดิมและแสวงหาความรู้ใหม่ ตามความต้องการและสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ทั้งแบบออนไลน์ และเข้าร่วมศึกษาในชั้นเรียน ซึ่งผู้เรียนสามารถเข้าร่วมได้ โดยไม่จำกัดวุฒิและอายุ รวมทั้งสามารถรับประกาศนียบัตร อนุปริญญาหรือปริญญาบัตร ตามข้อกำหนดของแต่ละหลักสูตร รองศาสตราจารย์เกศินี กล่าว

ตัวอย่างนวัตกรรมภายในงาน (2) ด้าน รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มธ. กล่าวว่า มธ. ได้จัดงาน “เจน เน็กซ์ เอ็ดดูเคชั่น 2018” (Thammasat Gen Next Education 2018) เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมด้านการศึกษาของโลก โดยภายในงานมีการจัดแสดงประกอบไปด้วยไฮไลท์ 4 กลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EdTech) จัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการศึกษา อาทิ “TU Student App” แอปพลิเคชันอำนวยความสะดวกของนักศึกษา มธ. ที่สามารถตรวจสอบตารางเรียน เช็คชื่อเข้าเรียน และบันทึกกิจกรรมที่เข้าร่วม และ “ห้องสตูดิโอกระจก” สตูดิโอสำหรับการทำอี-เลิร์นนิ่ง เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ รูปแบบใหม่ให้กับผู้เรียน ตลอดจนการโชว์นวัตกรรมด้านการศึกษาจากหลายบริษัทชั้นนำ อาทิ ซิสโก (CISCO) และธนาคารไทยพาณิชย์ รวมกว่า 15 บริษัท

2. กลุ่มทรานเฟอร์ (Transfer) การจัดแสดงการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการศึกษาโลกในอนาคต อาทิ การจัดอินเตอร์แอคทีฟบอร์ด (Interactive Boards) ในเรื่องหลักสูตรพันธุ์ใหม่ของ มธ. หลักสูตรพัฒนาบัณฑิตให้เป็นกำลั งสำคัญของ 5 อุตสาหกรรมใหม่ตามยุทธศาสตร์ ชาติ เปิดตัวแนวคิดและรูปแบบของข้อสอบ GREATS ตัวชี้วัดทักษะบัณฑิตที่สำคัญนอกเหนือจากด้านวิชาการ รวมทั้งการเผยโฉม “เจน เน็กซ์ อะคาเดมี่” (Gen Next Academy) การเรียนในรูปแบบ Massive Open Online Course หรือ MOOC แนวคิดใหม่ เพื่อการศึกษาไร้ขีดจำกัด

ภาพประกอบ Active Learning Classroom (3) 3. กลุ่มทรานฟอร์ม (Transform) การเปลี่ยนแปลงสู่รูปแบบการเรียนและการสอนที่สอดคล้องกับสภาวะของโลกและผู้เรียนในอนาคต ผ่านกิจกรรมเวิร์คช็อปเพื่อพัฒนาการศึกษา ได้แก่ (1) “Innovative Learning : Beyond The Basics” เน้นการขยายขอบเขตการจัดการเรี ยนการสอนเชิงการเล่นเกม (Gamification) เพื่อสร้างสรรค์บทเรียนที่ดึงดู ดใจ สำหรับทั้งในห้องเรียนและคอร์สเรียนออนไลน์ โดยวิทยากรจากคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ. และ (2) “DIY e-Learning by Dome Digital Innovation” การสอนทำบทเรียนอีเลิร์นนนิง ด้วยการลงมือทำจริงด้วยตนเอง โดย รศ.พิชิต ตรีวิทยรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำอีเลิร์ นนิง (License e-Learning Professional)

4. กลุ่มเทรนด์ (Trend) เปิดมุมมองรูปแบบการศึ กษาในอนาคตและการปรับตัวของ มธ. ให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ ยนแปลงไปของโลก ผ่านการปาฐกถาเรื่อง “Higher Education and It’s Role In Education Landscape” โดยศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์อุ ดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึ กษาธิการ และการเสวนาเรื่อง “Thammasat Transformation 2020: สู่บทบาทใหม่ของมหาวิทยาลัยเพื่ อประชาชน” นำโดย รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มธ. และศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กรรมการสภา มธ.