รายงาน :เมื่อรถไฟฟ้าพุ่งชน คน(จน) กระเด็นออกนอกเมือง

29 ส.ค. 2561 | 10:59 น.
ปัจจุบันวิกฤติจราจรลามหนักสร้างความสาหัสให้กับคนเมืองจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าพร้อมกัน 4-5เส้นทางตามนโยบายรัฐบาลและอีกหลายเส้นทางทะยอยสร้างตามแผนแม่บทคณะกรรมการจัดระบบจราจรทางบก(คจร.) 11เส้นทางของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) และอีก2เส้นทางของกรุงเทพมหานคร (กทม.) 

ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินว่าหากเชื่อมโครงข่ายครอบคลุมครบรอบวง การเดินทางสะดวกขึ้น จะทำให้ประเทศไทยก้าวพรวด ขึ้นอับดับ6 ของโลกมีเส้นทางรถไฟฟ้ายาวที่สุดกว่า400กิโลเมตรกว่า 300สถานี เกิดทำเลทองใหม่ๆกระจายทั่วไป

ตลาดพูล บูมรับรถไฟฟ้า

ท่ามกลางความมั่งคั่งความเจริญรุกไล่ยังมีอีกกลุ่มคนถูกรถไฟฟ้ากวาดต้อนออกนอกพื้นที่ได้แก่ กลุ่มถูกเวนคืน กลุ่มนี้กรณีเป็นของกรรมสิทธิ์ แม้ได้ค่าชดเชยแต่เงินที่ได้ไม่พอกับการซื้อบ้านใหม่ เนื่องจากราคาแพงหากต้องการอยู่ในทำเลเดิมข้อจำกัดของอายุ และความเข้มงวดของสถาบันการเงินที่เข้มขึ้น แต่เหนือสิ่งอื่นใดพวกเขาติดถิ่นคุ้นชิ้นกับการอยู่ที่เดิม

รถไฟฟ้าสายสีส้ม_180829_0003
"มันไม่ยุติธรรมกับพวกผมๆอยู่ที่นี่มาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตาทวดแล้วรถไฟฟ้ามาพวกผมต้องเสียสละให้คนอื่นมาอยู่แทนอย่างนั้นหรือ" นี่คือส่วนหนึ่งของเสียงสะท้อนชาวบ้านชุมชนประชาสงเคราะห์ บริเวณด้านหลังโรงเรียนดรุณพิทยาเก่า รวมทั้งกลุ่มชุมชนซอยแม่เนี้ยวแยก3ประชาสงเคราะห์ เขตดินแดงกรณีรถไฟฟ้าสายสีส้ม(ตะวันตก)ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์-ตลิ่งชัน มูลค่า1.4แสนล้านที่มีแผนจะก่อสร้าง
อีกกลุ่มที่น่าเห็นใจคือ”พวกบ้านเช่า” กระจายตัวทั่วไปจากเคยอยู่ในเมือง ใกล้แหล่งงาน ใกล้ที่ทำกินเมื่อเจ้าของที่ดินถูกเวนคืนแม้อยากอยู่ต่อก็จำต้องไป เช่นเดียวกับ กลุ่มสลัมไร้บ้าน แม้วันนี้รัฐจัดหาที่อยู่ใหม่ทว่าที่ดินแพงจึงต้องกระเด็นออกนอกเมืองเมื่อรถไฟฟ้าพุ่งชน

‘ตลาดพลู’บูมรับรถไฟฟ้า

 

ขณะเดียวกัน หากจะสัญจรโดยรถไฟฟ้าที่จะเปิดใช้ในอนาคต จากนอกเมืองเข้าสู่แหล่งงานพื้นที่ชั้นใน เชื่อว่า      ไป-กลับมีเกิน 200บาท เฉพาะแค่บีทีเอสหรือไม่ก็รถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ทีก็กว่า 100บาทแล้ว ทำให้คนเหล่านั้นต้องเลือกใช้ระบบรถขนส่งมวลชนแบบอื่น ฝ่าวิกฤติจราจรเข้าเมือง หรือไม่ก็หาแหล่งงานทำกินใหม่ใกล้บ้าน

ความเจริญ รุกลามเร็ว ตลาดนัด-ตลาดสด เริ่มหายกลาย เป็นตึกยักษ์ปักลงตรงหน้า จากสไตล์การใช้ชีวิตเปลี่ยนหันมาช็อปขึ้นห้าง

ตลาดใหม่นาเกลือพัทยา5

ผู้ค้ารายหนึ่งโอดครวญ "ฉันจะหาที่ค้าขายที่ไหนได้อีกลูกยังเล็กหนี้สินก็มี" ขณะที่”พี่บุญเจือ ครุธกาศ” ผู้ค้าย่านตลาดโชคชัย4เล่าด้วยเสียงอันเยือกเย็นว่า “ เมื่อเงินวิ่งมาหาเป็นธรรมดาที่เขาต้องขายมันเป็นโอกาสทองและจุดเปลี่ยนที่คนกลุ่มเดิมๆต้องไป อนาคตที่นี่จะเต็มไปด้วยตึกสูงคอนโดมิเนียม ยอมรับว่าเสียดายแหล่งทำกินเกือบ20ปี พ่อค้าแม่ค้าทุกรายความรู้สึกไม่ต่างกัน”

090861-1927-9-335x503
อีกรายร้านขายผ้าม้วนศรีเจริญ ระบุว่า”แรกๆก็ทำใจไม่ได้เพราะค้าขายที่นี่มานานแต่มองว่าต้องพบกันครึ่งทางเมื่อรถไฟฟ้ามาเจ้าของที่ดินก็ต้องขาย มันถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ระหว่างเจ้าของที่ดินและ ผู้ค้าผู้อยู่อาศัย ไม่มีใครมานั่งเก็บกินค่าเช่าถูกๆบนมูลค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้น แถมมีสถานีรถไฟฟ้าอยู่หน้าบ้านแน่นอนว่าตลาดต้องเปลี่ยนเป็นคอนโดมิเนียมหรือไม่ก็ห้างติดแอร์แต่ใครจะได้ที่ดินผืนนี้ไป”

“ฟ้าผ่าลงกลางใจ”อีกครั้งเมื่อตลาดแฮปปี้แลนด์ตลาดเก่าแก่อายุเกือบ40ปี ย่านบางกะปิถูกรูดม่านลงอย่างง่ายดายเมื่อรถไฟฟ้ามาและที่ดินอีกหลายผืนที่ต้องพลิกเปลี่ยน

นี่คือเสียงสะอื้นเพียงบางส่วน จากหลายพื้นที่ที่ไม่มีใครได้ยิน ไม่เว้นแม้แต่ รถไฟความเร็วสูงอีอีซีที่กำลังจะเป็นของเล่นสนุกในมือเจ้าสัว “เมื่อรถไฟฟ้าพุ่งชน... คน (จน) กระเด็นออกนอกเมือง”มัน เป็นเช่นนี้จริงๆ หรือคุณจะเถียง!

รายงาน โดย: jibthan

e-book-1-503x62-7