สมาร์ทโฟนสายพันธุ์ไทยบุกตลาด บียอนตั้งเป้าสิ้นปี ยอดขาย500ล้าน

30 ส.ค. 2561 | 09:38 น.
แม้เคยมีบทเรียนกรณีกลุ่มสามารถนำมือถือแบรนด์สัญชาติไทยภายใต้ชื่อ “ไอ-โมบาย” เข้ามาทำตลาดแต่สุดท้ายแล้วก็ต้องถอยทัพ ด้วยเพราะการแข่งขันสูง

แต่ทว่าในปัจจุบันกลับมีมือถือในลักษณะว่าจ้างทำการผลิต ภายใต้ชื่อ “บียอน” ซึ่งเป็นสมาร์ทโฟนเฮาส์แบรนด์ของไทย ได้เข้ามาทำตลาดเมื่อปีที่ผ่านมา และเพิ่งร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ในการเปิดศูนย์บริการบียอน

อย่างไรก็ตาม “ฐานเศรษฐกิจ” ฉบับนี้ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ นายฐาคณิษฐ์ พรทองประเสริฐ ประธานกรรมการ บริษัท พี.ที.อี. อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด ผู้จัดจำหน่ายสมาร์ทโฟน บียอน ติดตามอ่านได้จากบรรทัดถัดจากนี้

S__8880228 เหตุผลทำเฮาส์แบรนด์

บียอน นั้นเปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เป็นกลุ่มลูกค้าในระดับกลางจนถึงล่าง เนื่องจาก สมาร์ทโฟนบียอนนั้น แบ่งออกเป็น 4 เซ็กเมนต์ ตามการใช้งาน คือ หม่าม๊า สมาร์ท เจน เคิร์ฟ และแม็กซ์ ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 990 ไปจนถึงไม่เกิน 3,990 บาท เพื่อตอบสนองพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ต้องการใช้งานสมาร์ทโฟนที่ตรง กับความต้องการใช้งานจริงและสามารถใช้งานได้แบบง่ายๆ ทั้งนี้สำหรับ OEM (Original Equipment Manufacturer) ของแบรนด์บียอนนั้นมาจากประเทศจีน เช่นเดียวกับแบรนด์ออปโป้หรือหัวเว่ย นอกจากนี้บียอนยังได้วางแผนการทำตลาดทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยฟังก์ชันการใช้งานที่รองรับภาษาอังกฤษ ภาษาเมียนมา ลาว และกัมพูชา
จุดเด่น

ทั้งนี้จุดเด่นที่ทำให้สมาร์ท โฟนแบรนด์บียอนมีความแตกต่างจากมือถือเฮาส์แบรนด์อื่นๆ คือมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่หลากหลายจนเกินไป ซึ่งแบรนด์อื่นๆ อาจจะกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่กว้างทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ยาก ทำให้เกิดช่องว่างและโอกาสในตลาดระดับกลางลงมา รวมถึงลูกค้ากลุ่มปริมณฑลที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งตลาดสมาร์ทโฟนในระดับนี้ยังมีช่องว่างและโอกาสในการเติบโตได้อีก และในส่วนของแผนการตลาด นอกจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์แล้ว ยังมีกิจกรรมส่งเสริมการ ขาย เช่น การออกบูธจัดกิจกรรมทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน การจัดโปรโมชันร่วมกับผู้ประกอบการโทรคมนาคม เป็นต้น

S__8880229
เน้นบริการหลังการขาย

ขณะที่การรุกตลาดของบียอนนั้นเน้นในเรื่องของการให้บริการหลังการขาย โดยมีศูนย์บริการมากที่สุดในไทย และมีบริการหลังการขายที่ลูกค้าสามารถตรวจสอบสถานะการซ่อมผ่านช่องทางออนไลน์ โดยลูกค้าสามารถแจ้งซ่อมและตรวจสอบสถานะการซ่อมผ่านช่องทางออนไลน์ได้ 24 ชั่วโมง

“ตอนนี้เราชูจุดเด่น แพลตินัมเซอร์วิส มีสมาร์ทโฟนรุ่นที่เป็นสินค้าที่น่าใช้ ซึ่งจะเหมือนไอโฟนที่เมื่อลูกค้าซื้อเครื่องไปแล้วเครื่องมีปัญหามาจากฮาร์ดแวร์ เราจะเปลี่ยนเครื่องให้ใหม่ภายใน 3 เดือน รวมถึงมีโปรแกรมที่สามารถให้ร้านค้า หรือลูกตู้ตัวแทนจำหน่ายที่หรือลูกค้าใช้งานสามารถอัพเกรดซอฟต์แวร์ได้เอง ด้วยการอัพเกรดผ่าน OTA (Over the Air) เมื่อมีเฟิร์มแวร์เวอร์ชันใหม่ออกมา ก็สามารถส่งไปที่ตัวเครื่องลูกค้าเพื่อทำการอัพเกรดได้เลย”
ขยายศูนย์บริการ

สำหรับศูนย์บริการหลังการขายของบียอนนั้นปัจจุบันมีจำนวน 9 สาขา ครอบคลุมพื้นที่ทุกภาคของประเทศ โดยตั้งเป้าภายในสิ้นปีจะขยายเพิ่มเป็น 12 สาขา อีกทั้งในปีนี้ยังได้ร่วมมือกับกลุ่ม Stamp Mobile ในการเปิดตัวศูนย์บริการสมาร์ทโฟนแห่งใหม่ ชั้น 1 โซน IT ที่โลตัสบางกรวย-ไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี สำหรับจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์ ซึ่งภายในสิ้นปีคาดว่าจะขยายให้ครอบคลุมทั้งสิ้น 6 สาขาทั่วประเทศ
งบการทำตลาด

หลังจากที่ได้เปิดตัวสมาร์ทโฟน บียอน มาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561-พฤษภาคม 2562 ในช่วงเวลาประมาณ 9 เดือน บียอน สามารถทำยอดจำหน่ายได้ถึง 5 แสนเครื่อง ขณะที่ในปีนี้ได้วางงบการตลาดไว้ที่ 20 ล้านบาท และในปี 2562 ได้เพิ่มในส่วนของงบการทำตลาดไว้ที่ 30 ล้านบาท โดยตั้งเป้ายอดจำหน่ายปี 2561 ไว้ที่ 500 ล้านบาท และปี 2562 คาดว่ายอดจำหน่ายจะโตถึง 750 ล้านบาท ด้วยกลยุทธ์การขยายการเติบโตผ่านช่องทางตัวแทนจำหน่ายในแต่ละจังหวัดเพื่อกระจายสินค้า เนื่องจากบียอนมีประสบการณ์ในการทำตลาดสมาร์ทโฟนมายาว นานกว่า 25 ปี ทำให้มีประสบการณ์และพันธมิตรซึ่งเป็นบริษัทที่มีศักยภาพในจังหวัดนั้นๆ

หน้า 20 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ปีที่ 38 ฉบับ 3,396 | วันที่ 30 ส.ค.61-1 ก.ย. 2561

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว