4 ปี รัฐอุ้ม "คนจน-เกษตรกร" เริ่มเข้าตาแข่งเวลาใกล้หมด

28 ส.ค. 2561 | 12:10 น.
280861-1851

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ "ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 11 ส.ค. 2561 ใจความสำคัญตอนหนึ่งระบุว่า จากที่รัฐบาลได้มีมาตรการแก้ไขปัญหารายได้ของประชาชนไม่เพียงพอต่อการครองชีพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย เพื่อเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย เช่น โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ นาโนไฟแนนซ์ พักชำระหนี้เกษตรกร ลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกร โครงการแฟรนไชส์สร้างอาชีพ เป็นต้น

ปัจจุบัน มีความคืบหน้าไปมากในหลายเรื่อง เช่น 1.การฝึกอาชีพให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในระยะที่ 2 มีเป้าหมายในการส่งเสริมการฝึกอาชีพกว่า 6 แสนราย ได้แก่ อาชีพช่างอเนกประสงค์ 8 หมื่นกว่าราย อาชีพอิสระอื่นอีก 5 แสนกว่าราย ใน 58 หลักสูตร เช่น ศิลปประดิษฐ์ ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ช่างตัดผม และทำอาหาร เป็นต้น รวมทั้งการจัดหางานที่มีเป้าหมายราว 1 แสนราย ได้มีการติดตั้ง JOB BOX 500 ตู้ มีตำแหน่งงานรองรับแล้ว 7 หมื่นอัตรา


a1_943

2.มาตรการร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ ให้คนมีรายได้น้อยทั่วประเทศกว่า 11 ล้านคน สามารถซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยมีการติดตั้งเครื่องรูดบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) ให้กับร้านค้าไปแล้วกว่า 38,000 ร้านค้า ปัจจุบัน มีการจ่ายเงินสวัสดิการแห่งรัฐแก่ร้านค้าธงฟ้าประชารัฐแล้วกว่า 34,000 ล้านบาท ล่าสุด ได้มีการต่อยอดผู้ถือบัตรสามารถชำระเงินค่าสินค้าได้ผ่านแอพพลิเคชัน 'ถุงเงินประชารัฐ' ของธนาคารกรุงไทยบนโทรศัพท์มือถือได้ โดยไม่ต้องใช้รูดกับเครื่อง EDC ส่งผลให้มีการขยายร้านค้าธงฟ้าฯ ไปอย่างทั่วถึง โดยเปิดโอกาสให้แผงร้านค้าในตลาดสด ร้านข้าวแกง ร้านก๋วยเตี๋ยว รวมไปถึงรถเร่ขายสินค้า สามารถสมัครเป็นร้านค้าธงฟ้าประชารัฐได้ ปัจจุบัน มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการแล้ว 20,000 ราย จากเป้าหมายร้านค้าเข้าร่วม 1-2 แสนราย

3.การเร่งรัดแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) โดยได้ตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา เพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้สิน สามารถตกลงปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ และเข้าซื้อหนี้ของเกษตรกรจากสถาบันการเงินเจ้าหนี้ เช่น ธ.ก.ส. , สหกรณ์การเกษตร และธนาคารพาณิชย์ทั่วไป รวมประมาณ 36,000 ราย (จากจำนวนสมาชิกเกษตรกรที่ลงทะเบียนไว้ราว 4.6 แสนราย) มูลหนี้ราว 6,000 ล้านบาท โดยสามารถช่วยลดยอดหนี้แต่ละรายลง 50% หยุดดอกเบี้ยระยะเวลาไม่เกิน 15 ปี ซึ่งถือว่า ประสบความสำเร็จมากที่สุดในรอบ 19 ปี นับตั้งแต่มีการตั้งกองทุนมา


TP8-online-B

เห็นรูปธรรมผลงานอย่างนี้แล้ว ก็ต้องขอปรบมือให้รัฐบาลที่เดินหน้าแก้ไขปัญหาตามที่รับปากไว้ อย่างไรก็ดี อีกด้านหนึ่งยังมีพี่น้องเกษตรกรของไทยในหลายสินค้าที่ยังต้องเผชิญชะตากรรมราคาสินค้าตกต่ำ ส่งผลให้มีเงินในกระเป๋าเพื่อไว้ใช้จ่ายในครอบครัวไว้ส่งลูกหลานเรียน ฯลฯ ยังผลให้ชักหน้าไม่ถึงหลังในแต่ละเดือน โดยสินค้าที่ยังมีปัญหาราคาตกต่ำ เช่น สับปะรด กุ้ง ยางพารา กระเทียม หมู ไข่ไก่ เป็นต้น

ทั้งนี้ จากการติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรที่มีราคาตกต่ำในช่วงที่ผ่านมาของรัฐบาล ถือมีรูปธรรมที่เกิดขึ้นและช่วยเหลือเกษตรกรได้ระดับหนึ่ง เช่น ในสินค้าสับปะรด ได้ให้แต่ละจังหวัดส่งเสริมการบริโภค ดำเนินการแล้วปริมาณ 8,700 ตัน เช่น จัดเป็นอาหารว่างในการประชุมต่าง ๆ เพิ่มเมนูอาหารในโรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียน เรือนจำ การจำหน่ายผ่านหน่วยงานราชการ ภาคเอกชนทั้งในและนอกจังหวัด ดำเนินการแล้วประมาณ 220 ตัน (ผ่านเครือข่ายสหกรณ์ ตลาดประชารัฐ ร้านธงฟ้า ห้างสรรพสินค้า ปั๊มน้ำมัน ปตท./บางจาก เป็นต้น)

 

[caption id="attachment_309903" align="aligncenter" width="396"] ©health.haijai.com/food ©health.haijai.com/food[/caption]

สินค้ากุ้ง จัดทำโครงการประชารัฐรักษาเสถียรภาพราคากุ้งขาวแวนนาไม ปี 2561 โดยสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยรับซื้อกุ้งในราคานำตลาด จำนวน 10,000 ตัน สินค้ายางพารา มีโครงการแก้ไขปัญหาเกือบ 10 โครงการ คิดเป็นวงเงินกว่า 1.3 แสนล้านบาท เช่น โครงการสนับสนุนสินเชื่อ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมและแปรรูปยางพารา การส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานรัฐ ปี 2561 ที่คาดว่าจะมีปริมาณการใช้น้ำยางข้น 70,994 ตัน ยางแห้ง 1,187 ตัน เป็นต้น

ส่วนกระเทียม กรมส่งเสริมสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ ช่วยกระจายผลผลิตกระเทียมผ่านเครือข่ายสหกรณ์ กรมศุลกากร เข้มงวดในการปราบปรามการลักลอบนำเข้ากระเทียมจากต่างประเทศ เป็นต้น


TP8-online-A

อย่างไรก็ตาม จากวังวนปัญหาใหญ่ของสินค้าเกษตร คือ เรื่องราคาตกต่ำ ตามหลักดีมานด์และซัพพลาย เมื่อใดผลผลิตมีมากเกินความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ มีคู่แข่งขันมาก ราคาสินค้าก็จะปรับตัวลดลง หากสินค้ามีน้อย ความต้องการมาก ราคาก็จะปรับตัวสูง แต่ความยากในการแก้ปัญหาสินค้าเกษตรของทุกรัฐบาลที่ผ่านมา คือ จะวางแผนหรือควบคุมการผลิตอย่างไรให้พอดีหรือใกล้เคียงกับความต้องการของตลาด เพราะตราบใดที่สินค้าเกษตรตัวใดราคาดี เกษตรกรก็จะแห่กันปลูกเพิ่มขึ้น ครั้นจะให้เขาปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น โดยจูงใจว่าจะได้ราคาที่ดีกว่า แต่ก็ค่อนข้างยาก เพราะความถนัดและความเคยชินในการทำการเกษตร พืชแต่ละชนิดก็ไม่เหมือนกัน คนที่เคยทำนาก็ยังทำนาไปทั้งชีวิต จะให้ปลูกพืชอื่นเสริมหรือทดแทนก็คิดแล้วคิดอีก

ดังนั้น แม้รัฐบาลจะมีมาตรการสนับสนุน (อุ้ม) เกษตรกรในหลายมาตรการ ในหลาย ๆ พืช โดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต ซึ่งถือเป็นแนวทางที่ถูกต้อง แต่ตราบใดที่คุณภาพชีวิตและรายได้ของเกษตรกรในพืชแต่ละชนิดยังมีความเหลื่อมล้ำกัน และยังต้องเผชิญกับธรรมชาติดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน แล้ง น้ำท่วม ระบบชลประทานไม่ทั่วถึง การช่วยเหลือของรัฐบาลที่ถูกเรียกขานในรัฐบาลชุดก่อนว่าเป็น "ประชานิยม" หรือเรียกว่า "ประชารัฐ" ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ก็ยังต้องทำต่อไป จะเหนื่อยหรือท้อไม่ได้ ตรงกันข้ามต้องเร่งสปีดเกียร์ 5 แข่งกับเวลาของรัฐบาลที่เหลืออยู่อีกแค่ประมาณครึ่งปี หากโชว์ผลงานดี ๆ ไม่ว่ารัฐบาลจะมาจากรัฐประหาร ประชาชนก็คงไม่สน


……………….
รายงานพิเศษ โดย โต๊ะข่าวเกษตร-การค้า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
หวั่นทุบเคมีเกษตรแสนล้าน - 8 สมาคมผนึกกำลังยื่นค้านร่างพ.ร.บ.เกษตรยั่งยืน
ประกันภัยพืชผล ลดงบประมาณ รัฐเสริมความมั่นใจเกษตรกร


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว