ตรึงค่าทางด่วนอีก 5 ปี เร่งสร้างรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลคู่ทางด่วน

28 ส.ค. 2561 | 06:51 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

 

3 บอร์ดกทพ.ไฟเขียวตรึงค่าทางด่วน 5 ปีประเภทรถ 4 ล้อแต่เก็บเพิ่มรถใหญ่บางด่านพร้อมมีแผนลดราคาบัตรอีซี่พาสพร้อมเล็งเชื่อมทางด่วนเอกมัย-รามอินทรากับกาญจนาภิเษก มีลุ้นประมูลทางด่วนและรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลและก่อสร้างไปพร้อมกัน

นายสุรงค์ บูลกุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่าเพื่อการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาจราจรตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและการคืนประโยชน์สู่ประชาชนบอร์ดกทพ.ได้เห็นชอบให้คงราคาค่าผ่านทางด่วนไปอีก 5 ปีสำหรับประเภทรถ 4 ล้อ แต่จะมีการปรับราคาบางด่านของรถขนาดใหญ่ อีกทั้งยังมีแผนลดราคาบัตรอีซี่พาส โดยอยู่ระหว่างการปรับระบบซอฟต์แวร์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 2 เดือนนี้เพื่อให้รถผ่านด่านได้เร็วขึ้น

ล่าสุดได้ทำรีเวิร์สเลน (เลนพิเศษ) ให้ผู้ใช้รถได้รับความสะดวกมากขึ้น อีกทั้งยังมีแนวคิดก่อสร้างทางด่วนเชื่อมกทม.ฝั่งตะวันออกกับถนนกาญจนาภิเษกให้เส้นทางสามารถเชื่อมถึงกันได้อย่างสะดวกมากขึ้น ส่วนการก่อสร้างทางด่วนสายเหนือช่วงที่ผ่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขนนั้นโครงการจะเริ่มต้นจากถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออกไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจจากนั้นแนวจะอ้อมด้านหลังผ่านคลองบางบัว คลองบางเขนแล้วเลียบขนานไปตามแนวถนนวิภาวดีรังสิตจนถึงทางแยกต่างระดับรัชวิภา รวมระยะทางประมาณ  17 กิโลเมตร

[caption id="attachment_309646" align="aligncenter" width="482"] สุรงค์ บูลกุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) สุรงค์ บูลกุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)[/caption]

“เหล่านี้เป็นโครงการคืนความสุขให้ประชาชน โดยเฉพาะโครงการทำวีีเวิร์สเลนสามารถลดปริมาณรถจอดรอระยะทางยาว 13 กิโลเมตรเหลือ 9  กิโลเมตร จะเน้นดำเนินการทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็นต่อเนื่องกันไป อีกทั้งยังจะนำโครงการลงทุนรูปแบบกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF) เป็นโครงการ นำร่องกับการก่อสร้างทางด่วนเส้นทางพระราม 3-ดาวคะนอง-กาญจนาภิเษกต่อไป”
1 ด้านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ  ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่าได้เปิดรับฟังความเห็นประชาชนรอบที่ 3 ของโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลช่วงแคราย-ลำสาลี(บึงกุ่ม) โดยได้กำชับให้ออกแบบเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุด กระทบเวนคืนน้อยที่สุด ซึ่งจะพัฒนาโครงการควบคู่กันไปกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N1 N2 และส่วนเชื่อม ต่อถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออกที่มีการก่อสร้างเสาตอม่อเตรียมไว้แล้วบนถนนประเสริฐ มนูกิจ(ถนนเกษตรฯ-นวมินทร์) ของ กทพ.เนื่องจากแนวสายทางคร่อมกันจึงต้องมีการปรับแผนก่อสร้างให้สอดคล้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบด้านการจราจรโดยจะทำระบบฐานรากไปพร้อมกัน โดยระบบทางด่วนสายเหนือจะเปิดให้บริการในปี 2567 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลจะเปิดให้บริการในปี 2568

[caption id="attachment_309651" align="aligncenter" width="368"] ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ  ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)[/caption]

ในส่วนโครงการก่อสร้างนั้นจะแยกกันประมูลสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลเมื่อเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เรียบร้อยแล้วจะโอนให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าภาพรับดำเนินการต่อไปโดยจะเป็นการนำเสนอเข้าสู่กระบวน การปฏิบัติตามหลักการของการร่วมทุนพีพีพีทั้ง 2 โครงการ

ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลอยู่ในเส้นทางที่มีแนวการเติบโตในพื้นที่สูงมากโดยมีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามากถึง 7 สายคือจุดสถานีศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีชมพู สถานีบางเขนเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีแยกเกษตรเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว(บีทีเอส) สถานีฉลองรัชเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา และสถานีลำสาลีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสีส้ม โดยจะมีการก่อสร้างอาคารจอดแล้วจรที่แยกบางกะปิเพื่อส่งเสริมให้ใช้ระบบขนส่งมวลชน

แนวเส้นทางเริ่มจากแยกแครายมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน ผ่านจุดตัดทางพิเศษศรีรับแยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตรฯ ต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านจุดตัดลาดปลาเค้า แยกเสนาฯ จัดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์  จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง 350 จุดตัดถนนนวมินทร์แล้วเลี้ยวขวาลงไป ทางทิศใต้ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้ แลนด์ แยกบางกะปิ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหงระยะทาง 22 กิโลเมตร  จำนวน 20 สถานี

|เซกชั่น : เศรษฐกิจมหภาค
|หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 12 ฉบับ 3395 ระหว่างวันที่ 26-29 ส.ค2561
e-book-1-503x62-7