นายกฯ แก้กฎรับทุนจีน! ตั้งบอร์ดใหญ่โละอุปสรรคบิ๊กโปรเจ็กต์ 1 หมื่นล้านขึ้นไป

26 ส.ค. 2561 | 09:18 น.
260861-1604

นายกฯ สั่งตั้งกรรมการขับเคลื่อนการลงทุน ใช้อำนาจปลดล็อกอุปสรรคโครงการยักษ์ 1 หมื่นล้านบาทขึ้นไป ดึงอุตสาหกรรมสมัยใหม่แจ้งเกิด คาดทัพจีนตัดสินใจลงทุนได้ปีหน้า หลังดูลู่ทางในอีอีซี 'อุตตม' ชวนตั้งโรงงานผลิตหุ่นยนต์ รองรับลูกค้า 2 แสนราย

จากยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หรือ ไทยแลนด์ 4.0 โดยใช้นวัตกรรมและดิจิตอลขับเคลื่อน มีโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อรองรับการลงทุนขั้นสูง ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมา พบว่า การดึงดูดการลงทุนของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศยังมีอุปสรรค เนื่องจากอุตสาหกรรมใหม่ ๆ มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว เงื่อนไขที่วางไว้ยังไม่รองรับความต้องการของนักลงทุน

 

[caption id="attachment_309202" align="aligncenter" width="503"] พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี[/caption]

นายกฯ คุมปลดล็อกลงทุน
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนและประสานการลงทุนขึ้นมาดูแล เพื่อปลดล็อกอุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมใหม่และเก่าที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับโดยตรง

คณะกรรมการฯ ชุดนี้ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จะเข้ามาสั่งการได้โดยตรง เพื่อมาพิจารณาการอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนในการแก้ปัญหาอุปสรรคด้านการลงทุนในแต่ละโครงการ ที่เห็นว่าเป็นโครงการหรืออุตสาหกรรมที่ประเทศต้องการ ซึ่งอาจจะพิจารณาโครงการตั้งแต่ระดับการลงทุน 1 หมื่นล้านบาทขึ้นไป และมีการตั้งคณะอนุกรรมการฯ ขึ้นมาพิจารณาระดับโครงการเล็กลงมา เช่น 1-5 พันล้านบาท เป็นต้น โดยภายใน 2 สัปดาห์จากนี้ไป จะเสนอให้นายกรัฐมนตรีลงนามในการแต่งตั้ง และจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือน ก.ย. นี้เป็นต้นไป


VTK_9838

เป้ายื่นขอส่งเสริมปีหน้าพุ่ง
ส่วนการมาเยือนของ นายหวัง หย่ง มนตรีแห่งรัฐ และคณะนักลงทุนจีนกว่า 500 บริษัท ระหว่างวันที่ 23-25 ส.ค. 2561 เพื่อร่วมประชุมความร่วมมือการค้า-การลงทุน และเศรษฐกิจไทย-จีน มีการลงนามเอ็มโอยูร่วมกัน 17 ฉบับ และได้นำทัพนักลงทุนจีนระดับประธานเจ้าหน้าที่บริหารกว่า 20 ราย เมื่อเห็นโอกาสน่าจะตัดสินใจมาลงทุนได้ต้นปีหน้า

ดังนั้น เป้าการยื่นคำขอส่งเสริมการลงทุนในปีหน้า น่าจะมากขึ้นจากปีนี้ที่ตั้งไว้ 7.2 แสนล้านบาท จากส่วนในอีอีซี 3 แสนล้านบาท โดยในช่วงปลายปีนี้จะได้เห็นความชัดเจนในการยื่นประมูลโครงการต่าง ๆ

 

[caption id="attachment_309219" align="aligncenter" width="503"] อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[/caption]

ดึงตั้ง รง.ผลิตหุ่นยนต์
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การมาของนักลงทุนจีนครั้งนี้ เพื่อศึกษาดูงานพื้นที่จริงก่อนลงทุน เชื่อว่าจะมีเงินลงทุนจากนักลงทุนจีนในไทยมากขึ้นในอนาคต โดยจะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) 17 ฉบับ แบ่งเป็นระหว่างไทยกับเอกชนจีน 10 ฉบับ และระหว่างรัฐบาลไทย โดยกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับเอกชนจีนอีก 7 ฉบับ

ทั้งนี้ เห็นว่า โอกาสการลงทุนตามยุทธศาสตร์อุตสาหกรรม 4.0 ยังเปิดกว้างให้กับนักลงทุนจีนอีกมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ที่ไทยมีเป้าหมายจะผลิตให้ได้ 1 แสนตัว ภายในปี 2563 ขณะที่ โรงงานมีความต้องการถึง 2 แสนราย จึงเป็นโอกาสที่นักลงทุนไทยและจีนจะร่วมมือกันได้ หรือกรณีการจัดตั้งเมืองใหม่ในอีอีซี ที่จีนมีความสำเร็จและมีความเชี่ยวชาญในการสร้างเมืองใหม่ จึงเป็นอีกโอกาสที่บริษัทชั้นนำจะมาร่วมพัฒนาเมืองใหม่ให้เกิดขึ้นได้ และรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ

 

[caption id="attachment_309220" align="aligncenter" width="503"] สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ[/caption]

จีนจองไฮสปีด-รถไฟฟ้า
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ระบุ กลุ่มบริษัท China Railway Construction ผู้นำธุรกิจก่อสร้างสนามบิน ท่าเรือ ถนน ใหญ่สุดของจีน และมีสาขาทั่วโลก สนใจลงทุนในอีอีซีและที่อื่น ๆ ในไทย โดยเข้าประมูลรถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน และสนใจลงทุนโครงการอื่น ๆ ด้วย รวมทั้งเคยดูงานท่าเรือระนอง ซึ่งมีศักยภาพที่ดี หากมีการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ให้สูงขึ้น รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาระบบโลจิสติกส์เชื่อมโยงอีอีซี กับระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้และไปสู่ประเทศอื่น ขณะที่ กลุ่มบริษัท China Railway Engineering Corporation เชี่ยวชาญออกแบบระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลกว่าครึ่งในจีน ก็สนใจทุกโครงการที่ไทยทำอยู่ โดยเฉพาะโครงการที่ออกแบบยาก ๆ

นางเจียงอิง เหลียง รองประธานและหัวหน้าทีมวิศวกร บริษัท ซีอาร์อาร์ซี ซื่อฟางฯ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า นอกเหนือจากการผลิตรถไฟความเร็วสูงป้อนให้กับเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคายแล้ว บริษัทยังให้ความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในอีกหลายโครงการพัฒนาระบบรถไฟของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (อู่ตะเภา สุวรรณภูมิ ดอนเมือง) บริษัทเตรียมยื่นเสนอเป็นแพ็กเกจครอบคลุมทุกด้าน ทั้งการลงทุน การก่อสร้าง และอื่น ๆ แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้


GP-3395_180826_0023

แมชชิ่งดันค้าพุ่ง
นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า โอกาสนี้ กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนสายเศรษฐกิจของไทย ได้จัดกิจกรรมจับคู่ (แมชชิ่ง) ธุรกิจการค้าการลงทุนกับนักธุรกิจไทยเกือบ 300 ราย คาดจะช่วยให้บรรลุเป้ามูลค่าการค้าไทย-จีน 140,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2564 (ปี 2560 การค้าไทย-จีน มีมูลค่ารวม 73,745 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

แหล่งข่าวจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เผยว่า เมื่อปี 2559 คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการขยายอินเตอร์เน็ตเกตเวย์และเคเบิลใต้น้ำเชื่อมต่อระหว่างประเทศ งบประมาณ 5 พันล้านบาท มี 3 โครงการ คือ 1.การขยายโครงข่ายบนบกเพิ่มช่องทางเชื่อมโยงไปสู่เพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา และเมียนมา 2.การขยายเส้นทางเชื่อม Backhaul ในประเทศ ระหว่างสถานีเคเบิลใต้น้ำ ซึ่งเป็นจุดขึ้นบกหลัก คือ ศรีราชา สงขลา สตูล เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงภายในประเทศ 3.โครงการสร้างเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ (เส้นใหม่) ไทย-ฮ่องกง มูลค่า 2 พันล้านบาท ซึ่งจะทำให้ไทยมีทางออกเชื่อมโยงเกตเวย์ได้หลายทาง


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,395 วันที่ 26-29 ส.ค. 2561 หน้า 01+15

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ยกระดับความร่วมมือไทย-จีน
อีอีซีต้อนรับคณะนักธุรกิจจีนเยือนไทยปักธงร่วมพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว