4สายการบินขาดทุน4พันล.

25 ส.ค. 2561 | 08:11 น.
บริษัทในกลุ่มธุรกิจสายการบิน 4 แห่ง ไตรมาส 2/2561 ขาดทุนรวมกว่า 4 พันล้านบาท หลังจากราคานํ้ามันพุ่งดันต้นทุนเพิ่ม ด้าน BA ซื้อหุ้นคืน 40 ล้านหุ้น วงเงิน 500 ล้านบาท วันที่ 7 กันยายน 2561 - 6 มีนาคม 2562

“ฐานเศรษฐกิจ” รวบรวมผลประกอบการไตรมาส 2/2561 ผู้ประกอบการสายการบินจำนวน 4 แห่ง คือ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) หรือ THAI, บริษัท นกแอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NOK, บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV และบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA มีผลขาดทุนสุทธิรวม 4,317 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีขาดทุนสุทธิ 6,224 ล้านบาท หรือขาดทุนลดลง 31%

การบินกรุงเทพ THAI ขาดทุนสุทธิ 3,098 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 5,211 ล้านบาท ขณะที่ NOK ขาดทุนสุทธิ 830 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 650 ล้านบาท ส่วน AAV พลิกขาดทุนสุทธิ 306 ล้านบาท จากไตรมาส 2 ปี 2560 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 171 ล้านบาท และ BA ขาดทุนสุทธิ 83 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 534 ล้านบาท

สาเหตุหลักที่กลุ่มสายการบินยังคงมีผลขาดทุนมาจากราคานํ้ามันอากาศยานเครื่องบิน (Jet Fuel Price) ในไตรมาส 2 มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 86.77 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจาก 60.47 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมถึงกรมสรรพสามิตได้เริ่มจัดเก็บภาษีสรรพสามิตนํ้ามันเชื้อเพลิงเครื่องบินสำหรับเส้นทางการบินในประเทศ

nokair copy ส่งผลให้ NOK มีต้นทุนเชื้อเพลิงอยู่ที่ 1,228.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.01% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ THAI มีค่าใช้จ่ายนํ้ามันเครื่องบิน จำนวน 14,152 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,873 ล้านบาท หรือ 15.3%

สำหรับในไตรมาส 3 ปี 2561 AAV มีแผนเปิดเส้นทางบินกรุงเทพฯ (ดอนเมือง) สู่โคตาคินาบาลู และเชียงใหม่สู่ย่างกุ้ง
เอเชีย และไทเป รวมถึงขยายความถี่เที่ยวบินในเส้นทางบินที่ได้รับความนิยม อาทิ จาก กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) ไปหาดใหญ่, มาเก๊า และฉงชิ่ง นอกจากนี้ ได้วางกลยุทธ์การเติบโตในอนาคต โดยการรุกฐานลูกค้าในตลาดอินเดียและอาเซียนเพิ่มขึ้น ขณะที่ยังคงรักษาฐานลูกค้าในตลาดจีน เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาฐานลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

BA แจ้งว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท มีมติซื้อหุ้นคืนจำนวน 40 ล้านหุ้น หรือ 1.9% ด้วยวงเงิน 500 ล้านบาท โดยซื้อในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2561 - 6 มีนาคม 2562

บริษัทหลักทรัพย์(บล.) เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า มีมุมมองเป็นบวกต่อแผนการซื้อหุ้นคืน หลังจากปัจจุบัน
ราคาหุ้นปรับตัวลดลงไปมากจนราคาตํ่ากว่ามูลค่าทางบัญชี  (Book Value) ที่ 15.05 บาทต่อหุ้น ขณะที่ในแง่ Valuation นับว่ายังถูก เมื่อเทียบกับมูลค่าที่ถือหุ้นใน บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) BDMS และกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหา ริมทรัพย์สนามบินสมุย SPF ซึ่งคิดเป็นมูลค่าต่อหุ้นของ BA ที่ 17.70 บาท การบินไทย copy

ด้านผลการดำเนินงานคาดว่าจะผ่านจุดตํ่าสุดแล้วในไตรมาส 2/2561 โดยในงวดไตรมาส 3/2561 จะเป็นช่วง
High Season ของการท่องเที่ยวที่เกาะสมุย และในไตรมาส 4/2561 จะเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวของ
ไทย ขณะที่คาดว่าทั้งปี 2561 จะมีกำไรปกติ 569 ล้านบาท ลดลง 28% เทียบกับปีก่อน สำหรับด้านปัจจัยพื้นฐานยังคงคำแนะนำ “ถือ” ราคาเป้าหมาย 15 บาท คิดเป็น P/BV ราว 1 เท่า

บล.ฟิลลิปฯ แนะนำ “ซื้อ” BA ให้ราคาพื้นฐาน 15 บาท บล.เอเซียพลัสฯ แนะนำ “ซื้อ” BA ให้ราคาพื้นฐาน 15.40 บาท และ บล.ดีบีเอสวิคเคอร์สฯ แนะนำ “ซื้อ” BA ให้ราคาเป้าหมาย 17 บาท บล.เออีซีฯ แนะนำ “ซื้อ” BA ให้ราคาเป้าหมาย 19 บาท

หน้า 17 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,395 ระหว่างวันที่ 26-29 สิงหาคม 2561

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว