กสทช.เอาใจกลุ่มทุนมือถือ ยืดค่างวดประมูลคลื่น1800-900สูงสุด8ปี

25 ส.ค. 2561 | 17:35 น.
 หลังประมูลคลื่น 1800 จบขายคลื่นออกได้ 2 ใบอนุญาต กสทช.เตรียมปรับแผนประมูลโดยเฉพาะยืดค่างวดชำระหนี้ทั้ง 1800 และ 900 หวังดึงเอกชนร่วมประมูล ขณะที่ “ดีแทค” ยื่นข้อเสนอเยียวยาหลังได้ใบอนุญาต 5 เมกะเฮิรตซ์ พร้อมเสนอปรับเกณฑ์คลื่น 900

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขา ธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เปิดเผยถึงผลการประชุมบอร์ดเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ขณะนี้ที่ประชุมบอร์ด กสทช.ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อศึกษาคลื่นความถี่ที่เหลืออยู่ คือ 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่ยังเหลืออยู่จำนวน 7 ใบอนุญาต และคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ที่ยังเหลืออยู่จำนวน 1 ใบอนุญาตจำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำเสนอที่ประชุมบอร์ด กสทช.เพื่อเดินหน้าบริหารจัดการคลื่นในลำดับต่อไป

อย่างไรก็ตามผลการประมูลคลื่น 1800 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมาจัดสรรคลื่นออกไป 2 ใบอนุญาต โดยบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ AWN และ บริษัทดีแทค ไตรเน็ต จำกัด เป็นผู้ชนะประมูล ส่วนราคาเริ่มต้นการประมูลนั้นหลายฝ่ายยังมีข้อกังวลว่าจะใช้ราคาเริ่มต้นประมูลคลื่นในปี 2558 หรือจะใช้ราคาเดิม คือ 12,486 ล้านบาทต่อ 1 ใบอนุญาตแต่เงื่อนไขการชำระเงินเป็น 5 ปี หรือ 6 ปี ต้องดูบทวิเคราะห์ที่ออกมาที่ดีที่สุด เช่นเดียวกับคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์

บาร์ไลน์ฐาน

“แต่ทิศทางที่ผมจะตัดสินใจเดินในวันนี้ก็ต้องบอกว่าคง ต้องใช้ราคาเริ่มต้นการประมูลเป็นราคาเดิมเพียงแต่ว่าเงื่อนไขการชำระเงินเท่านั้นที่จะเป็นเงื่อนไขที่จะขยายออกไปอีกเช่นกรณีคลื่นในย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ในขณะนี้แบ่งการชำระเงินออกเป็น 3 งวด งวดแรกก็คือ 50% งวดที่ 2 ในปีที่ 2 อีก 25% และงวดที่ 3 ในปีที่ 3 อีก 25% รวมเป็น 100% ซึ่งถ้าเกิดว่าเราได้มีการขยายเพื่อเป็นแนวทางเลือกให้กับ กสทช. พิจารณา และถ้าเรากำหนดเงื่อนไขการชำระเงินออกเป็น 5 ปี 6 ปีจะเป็นเงื่อนไขอันไหนที่เหมาะสมที่สุด เพื่อเป็นการจูงใจให้กับผู้ที่จะเข้าประมูลคลื่นความถี่จะนำเงินมาลงทุนก่อนล่วงหน้าในกรณี นั้นได้หรือไม่อย่างไร”

ขณะที่คลื่นในย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์เงื่อนไขในการชำระเงินแบ่งออกเป็น 4 งวด งวดที่ 1 ถึงงวดที่ 3 ชำระปีละ 25% และในปีที่ 4 คือ ปีสุดท้ายจะชำระในส่วนที่เหลือทั้งหมด ซึ่งในส่วนนี้ทางสำนักงานวิเคราะห์จะแบ่งการชำระเงินออกเป็น 8 ปีโดยภายใต้เงื่อนไขเดิมแบบไหนเหมาะกว่ากันถ้าเพิ่มเป็น 8 ปี 9 ปี
10 ปี หรือจะเป็นการจูงใจหรือไม่

mp20-3395-a นายฐากร ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับเรื่องการทำแนวทางป้องกันสัญญาณรบกวนคลื่นความถี่ 900 บนรถไฟฟ้าความเร็วสูง ทาง กสทช.กำลังหาทางออกในเรื่องนี้ หากยกเลิกการติดตั้งสัญญาณรบกวนคลื่นความถี่และให้โอเปอเรเตอร์เป็นผู้ดำเนินการเองในการทำระบบป้องกันการรบกวนคลื่นความถี่ต่างๆนี้จะมีความเหมาะสมหรือไม่โดยที่ใช้เงินกองทุน กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ในการให้มาเบิกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะทำบทวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดขอเวลาประมาณ 2 หรือ 3 สัปดาห์ ในการดำเนินการและนำเสนอต่อที่ประชุมบอร์ด กสทช. ซึ่งไม่ว่าจะเป็นแนวทางไหนก็ต้องนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะใหม่ทั้งหมดเพราะฉะนั้นนำไปรับฟังแล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไรแนวทางทิศทางไหนผู้ประกอบการเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไรจะกระทบกับเรื่องในอนาคตข้างหน้าหรือไม่อันไหนมีทิศทางที่ดีที่สุดที่จะจูงใจให้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้ 5จี เกิดขึ้นในปี 2563 ให้ได้สิ่งพวกนี้ก็คือการใช้งานคลื่นความถี่ที่ กสทช. มองอยู่ว่าจะขับเคลื่อนตรงนี้อย่างไรต่อไป นี่ก็เป็นเรื่องที่ กสทช. เองได้ให้ทางสำนักงานเร่งในการดำเนินการในส่วนนี้ด้วยในวันนี้หลังจากที่ได้มีการรับรองผลการประมูลแล้ว

090861-1927-9-335x503-3

สำหรับการยกเลิกการทำระบบป้องกันที่ตอนนี้บังคับให้ผู้เข้าประมูลเป็นผู้ดำเนินการสมมติให้แต่ละรายเป็นคนทำเหมือนเดิมที่เคยประมูลคลื่นในคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ แต่ครั้งนี้ถ้าให้ทำแล้วก็ให้มาเบิกเงินกับกองทุน กทปส. หรืออาจจะให้ค่ายมือถือลงทุนติดตั้งแต่จะต้องนำไปฟังความคิดเห็นสาธารณะเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม เรื่องการปรับเกณฑ์คลื่นความถี่ทั้ง 900 และ 1800 และส่วนที่เกี่ยวข้องกับรถไฟความเร็วสูงทาง กสทช.ก็ต้องไปชี้แจงคณะอนุกรรมการกลั่นกรองทางด้านโทรคมนาคม เพื่อนำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการ กสทช. และเสนอต่อคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือบอร์ดดีอี โดยจะนำเสนอรายงานแบบคู่ขนาน โดยเรื่องทั้งหมดจะนำเสนอภายใน 2 เดือนรวมทั้งการทำประชาพิจารณ์อีกด้วย

นอกจากนี้สำหรับเรื่องที่ ดีแทค หรือบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือได้ทำหนังสืออุทธรณ์เกี่ยวกับเรื่องการเยียวยาเข้ามาก็จะนำเสนอต่อที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งเนื่องจากดีแทคมองว่าเมื่อเข้าประมูลแล้วคลื่นความถี่ในย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ รวมกับคลื่นความถี่ที่ชนะการประมูล 5 เมกะเฮิรตซ์ รวม 20 เมกะเฮิรตซ์ เนื่องจากมีจำนวนคลื่นความถี่ที่ไม่ได้จำหน่ายออกไปอีก 7 ใบอนุญาต สำหรับการขอเยียวยาคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ดีแทคขอให้ กสทช.พิจารณาอีกครั้ง เนื่องจากว่าเงื่อนไขการประมูลมีปัญหาอุปสรรคมาก สาเหตุที่ไม่ได้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ไม่ได้มาจากเหตุผลที่ไม่ต้องการใช้งานคลื่นความถี่ แต่มาจากเหตุผลเงื่อนไขในการประมูล โดยจะนำวาระดังกล่าวเข้า สู่บอร์ดในวันที่ 15 กันยายนนี้

 

หน้า 20 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,395 ระหว่างวันที่ 26-29 สิงหาคม 2561

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว