เวที "E-Commerce BIG BANG" เเนะเอสเอ็มอีอุดรฯเรียนหลากเทคนิค รับมือการค้ายุค "ไร้พรมเเดน"

23 ส.ค. 2561 | 12:49 น.
DSC_9159 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในวันนี้กระทรวงพาณิชย์จัดงาน "E-Commerce BIG BANG" มินิสัญจร”ณ ห้องอุดรธานี แกรนด์ บอลรูม โรงแรมบ้านเชียง จ.อุดรธานี

นางอารดา เฟื่องทอง ผู้อำนวยการสำนักตลาดพาณิชย์ดิจิทัล กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ บรรยายเรื่อง” ครบเครื่องเรื่องค้าออนไลน์กับ “ไทยเทรด”ว่า สำหรับผู้ที่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรในการทำการค้าขายผ่านออนไลน์ หรืออี-คอมเมิร์ซ เบื้องต้นต้องรู้ว่าเรามีสินค้าอะไร มีความถนัดอย่างไร หรือแถวบ้านมีของอะไรที่จะขายผ่านออนไลน์ได้

จากนั้นไปศึกษาว่า ลูกค้าอยู่ที่ไหน ต้องใช้ช่องทางใด เช่น ผ่านเฟซบุ๊ก ทำการบ้านว่าลูกค้าต้องการอะไร เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์จะขายดีมากในตลาดยุโรป ก็ต้องไปสร้างเรื่องราวที่น่าสนใจ เพราะหากมีเรื่องราวสินค้ามักจะขายได้ดี

ผู้อำนวยการสำนักตลาดพาณิชย์ดิจิทัล กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า เมื่อโพสต์ขายสินค้าก็ต้องดูข้อมูลว่ามีใครเข้ามาคลิกชมบ้าง ใครสั่งซื้อ หรือแค่เข้ามาดูไม่สั่งซื้อเลยเพื่อปรับปรุงแก้ไข ต้องศึกษาว่าคนซื้อใช้ช่องทางใดหรือมีความสะดวกอย่างไรในการชำระเงินค่าสินค้า เช่นผ่านบัตรเครดิต และอื่น ๆ ซึ่งต้องตามใจลูกค้า และที่สำคัญต้องส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ตามเวลาที่ต้องการ

[caption id="attachment_308499" align="aligncenter" width="377"] อารดา เฟื่องทอง อารดา เฟื่องทอง[/caption]

“หลังขายของได้แล้วก็ต้องดูว่าจะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างไร เพื่อหาลูกค้าใหม่ ๆ และต้องทำโฆษณาสร้างความสนใจและสร้างความน่าเชื่อถือ ไม่ต้องกลัวเรื่องภาษี เพราะการขายสินค้าเสียแค่ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือแวตธรรมดา หากผู้ที่สนใจมีปัญหา หรืออยากรู้ข้อมูลในเรื่องใดสามารถปรึกษา Thaitrade.com พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.ในทุกวันได้” ผู้อำนวยการสำนักตลาดพาณิชย์ดิจิทัล กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ระบุ

จากนั้นมีเสวนา " SMEs4.0 พลิกธุรกิจโลก Online" โดยนายพรวิช ศิลาอ่อน ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผุ้ประกอบการการค้ายุคใหม่ เปิดเผยว่า สถาบันเป็นหน่วยงานที่มีหน้าทีอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการในการเชื่อมโยงเข้าสู่โลกออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพ ถือว่าเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการค้า โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีและอี คอมเมิร์ซ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในโลกการค้าออนไลน์

[caption id="attachment_308516" align="aligncenter" width="377"] พรวิช ศิลาอ่อน พรวิช ศิลาอ่อน[/caption]

ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผุ้ประกอบการการค้ายุคใหม่ เปิดเผยว่า ดังนั้นจะเห็นว่าในยุค 4.0 ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะมีความคล่องตัวมากขึ้นพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เข้าสู่การเป็นสตาร์อัพที่มีแนวคิดที่บริษัทขนาดใหญ่มองไม่เห็นนั้นคือการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จะเห็นได้ว่า 5ปีที่ผ่านมา บริษัทสตาร์อัพหลายแห่งที่จับความต้องการของผู้บริโภคได้ดีกว่าบริษัทขนาดใหญ่และสามารถเติบโตมีผลกำไรที่บางบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ นั้นเป็นเพราะสตาร์อัพเหล่านี้มีคอนเท้นท์ที่สถาบันมีหลักสูตรในการเปิดอบรวมใหม่และสามารถนำไปต่อยอดในธุรกิจ โดยเฉพาะหลักสูตรพื้นฐาน

ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผุ้ประกอบการการค้ายุคใหม่ เปิดเผยว่า ดังนั้นสถาบันเชื่อว่าในการทำธุรกิจต้องมีพื้นฐานที่มั่นคง ต้องเข้าใจในการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ต้องเข้าใจกฎหมาย มาตรการต่างๆของแต่ละประเทศ รวมไปถึงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันในการทำธุรกิจและกฎระเบียบต่างๆไม่ว่าจะเป็นศุลกากร การทำแอลซีกับสถาบันการเงินและต้องรู้ความต้องการของตลาดโลก เพราะแต่ละประเทศมีความต้องการที่แตกต่างกัน

[caption id="attachment_308505" align="aligncenter" width="377"] เจษฎา บำเพ็ญอยู่ เจษฎา บำเพ็ญอยู่[/caption]

นายเจษฎา บำเพ็ญอยู่ หัวหน้าส่วนส่งเสริมการค้าออนไลน์ในภูมิภาค กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า กรมมีบทบาทในการส่งเสริมโดยเน้นในเรื่องของอี คอมเมิร์ซซึ่งเป็นเทรน์ในปัจจุบันนี้ โดยเริ่มจากการพัฒนาคน ซึ่งมีหลักสูตรต่างๆที่กรมจัดทำเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ นอกจากนี้กรมยังได้ลงพื้นที่ในจังหวัดรองๆที่ขาดโอกาสเพื่อให้เข้าถึงหลักสูตรการพัฒนาธุรกิจ ให้เข้าถึงแพลดฟอร์มต่างๆ บทบาทต่อมาคือการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการ ซึ่งในปัจจุบันมีร้านค้าออนไลน์เปิดขึ้นมาจำนวนมาก ดังนั้นกรมมีเครื่องหมายที่จะแสดงถึงความมีตัวต้นของร้านค้า คือดีบีดีรีจิสเตอร์ ซึ่งหากร้านค้าใดมีเครื่องหมายนี้ ผู้ซื้อจะมีความมั่นใจว่าร้านค้านี้มีตัวต้นจริง โดยผู้ประกอบการสามรถขอเครื่องหมายนี้ได้ฟรี

[caption id="attachment_308502" align="aligncenter" width="377"] วีรพงษ์ เต็งรังสรรค์ วีรพงษ์ เต็งรังสรรค์[/caption]

นายวีรพงษ์ เต็งรังสรรค์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี กล่าว ว่า สภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี มีบทบาทในการพัฒนาสมาชิกปรับตัวให้ทันยุคอี คอมเมิร์ช โดยการเปิดพื้นที่ในเว็บไซต์ให้สมาชิกสามารถนำสินค้าของตนเองมาโพสต์ไว้ เป็นโชว์รูมให้คนที่เข้ามาดูเว็บไซต์สภาอุตสาหกรรมอุดรธานีได้เห็น เป็นกลุ่มสินค้าของดีของสมาชิก เมื่อสนใจจากนั้นสามารถติดต่อทางโทรศัพท์หรืออินเตอร์เน็ตเพื่อซื้อขายกันต่อได้

ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี กล่าว ว่านอกจากนี้สภาอุตสาหกรรมเป็น 1 ในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก ที่ร่วมกันจัดทำระบบรหัสมาตรฐานสากล จีเอส 1 ซึ่งจะเป็นพื้นฐานการทำอี คอมเมิร์ช ซึ่งทำให้เกิดความสะดวกกับทั้ง 2 ฝั่ง ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันในยทั้งในการจัดส่งและการรับมอบสินค้า ว่าสินค้ารหัสนี้ต้องมีสเปคหรือมาตรฐานสากลเป็นอย่างไร

“สำหรับจังหวัดอุดรธานีเป็นเมืองเกษตร สินค้าหลักคือข้าว ยาง มันสำปะหลัง อ้อย-น้ำตาล กล้วย อินทผาลัม เป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพอยู่แล้วนั้น ควรต่อยอดวัตถุดิบสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการใช้นวัตกรรมมาพัฒนา เติมเรื่องของการทำบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม สะดุดตา พร้อมให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่สร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้า ตรงนี้เป็นจุดเปลี่้ยนสู่มาตรฐานสากล ที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และตัวผู้ผลิตเอง ต้องเข้ามาร่วมมือกัน

ยุทธศาสตร์จังหวัดอุดรธานีอีกประการคือ เมืองสมุนไพร ต้องนำนวัตกรรมมายกระดับสมุนไพรทั้งในด้านการศึกษาวิจัยให้สมุนไพรต่อยอดไปตอบโจทย์ตลาดปัจจุบัน โดยให้กลุ่มโอท็อปหรือผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองขึ้นไปควบคู่กันด้วย” ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี กล่าว

[caption id="attachment_308503" align="aligncenter" width="377"] เลอทัด ศุภดิลก ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท เซสสุกิ จำกัด เลอทัด ศุภดิลก [/caption]

นานเลอทัด ศุภดิลก ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท เซสสุกิ จำกัด กล่าวว่า เซลสุกิ เป็นเครื่องมือช่วยในการช่วยผู้ประกอบการไทยขายสินค้าผ่านทางโซเชียล ตั้งแต่การติดต่อสอบถามรายละเอียดสินค้า สรุปยอดชำระงิน ชำระค่าสินค้าบริการ ผ่านบัตรเครดิต เดบิต และโอนเงิน บริหารจัดการสต็อก ถึงการจัดส่งสินค้า โดยขณะนี้มีผู้ใช้บริการ 1,200ร้านค้า มียอดขายประมาณ 300 ล้านบาท

ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท เซสสุกิ จำกัด กล่าวว่า การขายสินค้าออนไลน์ไม่ได้มีเฉพาะการขายสินค้าผ่านเว็บไซต์อย่างเดียวโดยขณะนี้ผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้าผ่านโมบายมากขึ้น ซึ่งผ่านโมบายก็คือซื้อผ่าน แอพพลิเคชั่น

"แอพฯยอดนิยมสุดขณะนี้คือโซเชียลมีเดีย ไลน์ เฟชบุ๊ก เซลซูกิ เริ่มมาให้บริการ 6 ปีที่แล้ว ถามว่าตอนนั้นผู้ประกอบการร้านค้าที่ขายบนโซเชียลขายสินค้าได้หรือขายได้และขายได้ดี แต่ไปถึงระดับหนึ่ง ไม่มีระบบบริหารจัดการสต็อกสินค้า เซลซูกิ จึงพัฒนาระบบหลังบ้านในการขายสินค้าให้กับผู้ประกอบการไทยที่ขายสินค้าบนโซเชียล ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการโดยยอดซื้อขาย 6 ปีที่แล้ว กรุงเทพฯ 50%ต่างจังหวัด 50%

แต่ปัจจุบัน ยอดต่างจังหวัด 75% กรุงเทพฯ 25 แสดงให้เห็นว่าอีคอมเมิร์ซขยายไปทั่วประเทศแล้ว

ขณะนี้บริษัทได้รับการแต่งตั้งจากเฟชบุ๊ก เป็นเฟชบุ๊กพาร์ทเนอร์ และไลน์ เป็นเอเจนซี่พาร์ทเนอร์ แสดงให้เห็นว่าทั้ง 2 ราย จริงจังกับอี คอมเมิร์ซ หรือมาร์เก็ตเพลส เป็นอย่างมาก" ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท เซสสุกิ จำกัด กล่าว

นายเลอทัด กล่าวปิดท้ายว่า หัวใจสำคัญของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จบนอี คอมเมิร์ซ คือ ต้องขายสินค้าชิ้นแรกให้ได้ก่อน หลังจากนั้นต้องพูดคุยสอบถามความต้องการ เรียนรู้ความต้องการลูกค้า และทำซ้ำไปยังช่องทางเดิม นอกจากนี้ยังต้องสร้างประติสัมพันธ์กับลูกค้า ผ่านระบบการสนทนาหรือแชต ต้องรู้ลูกค้าคือใคร และเข้าใจความต้องการ

[caption id="attachment_308504" align="aligncenter" width="377"] สาวณฐอร มหิทธิกุล สาวณฐอร มหิทธิกุล[/caption]

นางสาวณฐอร มหิทธิกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิ๊กบลู เอเจนซี่ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจมีเดีย เอเยนซีและสื่อโฆษณา โดยเฉพาะสื่อป้ายโฆษณานอกบ้าน หรือสื่อโฆษณากลางแจ้ง ซึ่งรวมถึงสื่อเคลื่อนที่ว่า บิ๊กบลูเป็นกลุ่มทุนเอสเอ็มอีคนไทยที่ออกไปเติบโตในสปป.ลาว ล่าสุดรุกสู่ออนไลน์ มีเดีย เพราะมองเห็นโอกาสหลายๆด้านในการลงทุนในสปป. ลาว จึงตัดสินใจมาลงทุนร่วมกับหุ้นส่วนชาวสปป. ลาวเพราะเห็นว่าธุรกิจออนไลน์ในสปป.ลาวเติบโตต่อเนื่อง

กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิ๊กบลู เอเจนซี่ จำกัด กล่าวว่า โดยปีนี้มีสัดส่วนเติบโตสูงเกิน30% มองว่าจำนวนประชากรในสปป.ลาวที่มี6.8ล้านคนนั้นยังมีโอกาสเติบโตอีกมากในการทำการค้าผ่านช่องทางนี้ ซึ่งขณะนี้ก็มีชาวสปป.ลาวจำนวนมากสั่งซื้อของทางออนไลน์จากประเทศไทย ก็จะเป็นโอกาสไทย-ลาวเชื่อมการค้าทางออนไลน์กันมากขึ้น

“เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของบิ๊กบลูมาก เพราะลูกค้ามีความต้องการในการทำโฆษณา และ ประชาสัมพันธ์ผ่านทางช่องออนไลน์มากขึ้นด้วย เพราะจะสามารถวัดผล และเห็นผลเลย นอกจากนี้ออนไลน์ ยังเป็น One to One communication ( Facebook message) ซึ่งลูกค้าจะชอบเพราะ ลูกค้าจะทราบความต้องการของลูกค้าแบบอ่านใจกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง ทางบริษัท จึงจำเป็นต้องปรับตัวโดยการมี แผนกออนไลน์ มีเดีย เพื่อทำโฆษณาและ ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้า เเละ สำหรับคำแนะนำถึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรุ่นใหม่ขอให้รู้จักตัวเอง หาจุดเด่นของตัวเอง และ ที่สำคัญที่สุด คือ ความจริงใจกับลูกค้าต้องมี” กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิ๊กบลู เอเจนซี่ จำกัดกล่าว

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว