"แบงก์พาณิชย์ไทย" เกี่ยวอะไรกับ ‘ตุรกี’ ?!

22 ส.ค. 2561 | 11:41 น.
... ตกอก ตกใจไปตาม ๆ กัน เมื่อหุ้น TMB ร่วงกว่า 3% เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2561 โดยมีการโยงประเด็นเกี่ยวกับสินเชื่อการค้าในตุรกี ทำให้กลายเป็นประเด็นความกังวลใหม่ต่อกลุ่มแบงก์พาณิชย์ของไทย ที่อาจไปมีธุรกิจ ธุรกรรม กับตุรกีเข้า ซึ่งเรื่องนี้ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซียพลัส (ASP) ไปศึกษาข้อมูลมา จึงขอนำมาฝากกันในโพสต์นี้

กรณีปัญหาที่เกิดขึ้นในตุรกีขณะนี้ หากมาดูความกี่ยวโยงกับแบงก์พาณิชย์ของไทย ส่วนที่จะกระทบ ก็คือ การที่แบงก์ไปลงทุนในตราสารทุน ตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาลในตุรกี ซึ่งกรณีนี้ฝ่ายวิจัย APS เชื่อว่าผลกระทบจำกัด เพราะแบงก์ของไทยไปลงทุนในตุรกีน้อยมาก

 

[caption id="attachment_308236" align="aligncenter" width="503"] ©PublicDomainPictures ©PublicDomainPictures[/caption]

ส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ หรือ พันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ของประเทศที่แบงก์ไปเปิดสาขา ที่กำหนดให้แบงก์ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องสุทธิ (Reserved Required Ratio) หรือ RRR นั้น พบว่า สาขาแบงก์ไทยกระจายตัวอยู่ในเอเซีย และกลุ่มประเทศ CLMV เป็นหลัก

ฝ่ายวิจัยฯ มองว่า หากปัญหาในตุรกีบานปลาย กระทบต่อแบงก์ในยุโรป ก็อาจกระทบต่อภาคการส่งออกและนำเข้าของประเทศที่เป็นคู่ค้ากับยุโรป รวมถึงไทย ซึ่งผู้ประกอบการต้องส่งคำสั่งซื้อสินค้าผ่านธนาคารคู่ค้า 2 ฝั่ง (Correspondent Bank) โดยการเปิด Letter of Credit หรือ L/C กับแบงก์ของประเทศผู้นำเข้านั่นเอง

 

[caption id="attachment_308238" align="aligncenter" width="503"] ©PublicDomainPictures ©PublicDomainPictures[/caption]

L/C เป็นหนี้ที่บันทึกนอกงบดุล จะเปลี่ยนเป็นหนี้ระยะสั้น (Trust Receipt) เมื่อสินค้ามาถึงท่าเรือ จนกว่าผู้นำเข้าจะนำสินค้าจากท่าเรือไปขาย และนำเงินนั้นมาชำระแก่แบงก์ ตรงข้ามกับส่งออก เมื่อสินค้าลงเรือแล้ว ผู้ส่งออกจะนำเอกสารมาขอสินเชื่อกับแบงก์ (Packing Credit)

กรณีของ TMB ที่ปั่นป่วนเมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2561 ก็โยงกับ L/C จนทำให้ TMB ต้องออกมาชี้แจงว่า ไม่มีการลงทุนใดในตุรกี มีเพียงธุรกรรมการให้สินเชื่อรับซื้อลดตามสัญญา L/C ซึ่งมีวงเงินน้อยกว่า 1% ของสินเชื่อรวม 6.54 แสนล้านบาท และลูกค้าที่นำ L/C มาขาย เป็นบริษัทย่อยของไทยที่เป็นบริษัทข้ามชาติจึงไม่น่ามีปัญหา


S__25321480

ฝ่ายวิจัย ASP ไปดูงบการเงินของแบงก์ 8 แห่ง พบยอดคงค้างหนี้ Trade Financing ที่ปรากฏอยู่นอกงบดุล ซึ่งก็คือ L/C บวกภาระหนี้ตามตั๋วแลกเงินค่าสินค้านำเข้าที่ยังไม่ครบกำหนด มีวงเงินรวม 2.27 แสนล้านบาท เห็นตัวเลขแบบนี้ อย่าเพิ่งตกใจ เพราะนี่เป็นยอดค้าขายกับทั่วโลก

สำหรับแบงก์พาณิชย์ไทยที่มีส่วนแบ่งตลาด Trade Financing กับทั่วโลก มากสุด คือ KBANK สัดส่วน 27% รองลงมา คือ KTB 23%, BBL 22%, SCB 14% และ TMB 9% เป็นต้น


S__25321481

หากดูเฉพาะตุรกี พบว่า ไทยมีการนำเข้า และส่งออกกับตุรกีปีละ 5.1 หมื่นล้านบาท ในปี 2560 แยกเป็นส่งออก 4.25 หมื่นล้านบาท นำเข้า 8.59 พันล้านบาท คิดเป็นไม่ถึง 1% ของการส่งออกและนำเข้าของไทย


……………….
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
KTBSTมองปัญหาตุรกีกดดันตลาดผันผวนคาด SETเคลื่อนไหวทรงตัว
ทองไทยต่ำสุดรอบ 2 ปี เหตุพิษวิกฤต "ตุรกี" หนุนดอลลาร์แข็ง


e-book-1-503x62-7