ธปท.หนุนค้าชายแดนใช้QRCode

22 ส.ค. 2561 | 10:30 น.
ธปท.เตรียมหนุนธุรกิจชายแดน ใช้ QR Code พร้อมขยายการใช้เงินหยวน-จ๊าตหลังค้าขายระหว่างประเทศ รับอานิสงส์จากการใช้บาท“ริงกิต-รูเปีย-เยน-หยวน”ลดต้นทุนแลกเปลี่ยนและความเสี่ยงจากสกุลเงินผันผวน ยํ้าระยะข้างหน้าค่าเงินผันผวน แนะป้องกันเสี่ยงต่อเนื่อง

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า แนวโน้มความผันผวนในระยะข้างหน้า จะมาจากประเทศอุตสาหกรรมหลัก ที่มุ่งทำนโยบายการเงินกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น จะยิ่งเพิ่มความผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุน ซึ่งกระทบค่าเงินในภูมิภาค จึงจำเป็นที่ภาคธุรกิจต้องใช้ประโยชน์จากเครื่องมือต่างๆ ที่ธปท.ได้ผ่อนคลายกฎเกณฑ์ทั้งรูปแบบ Forward Contract, FX Options,เปิดบัญชีเงินฝาก เงินตราต่างประเทศ(FCD) และทำธุรกรรมรับหรือจ่ายค่าสินค้าและบริการเป็นเงินบาทหรือสกุลเงินท้องถิ่น เช่น ริงกิต รูเปีย เยนและหยวน

[caption id="attachment_308052" align="aligncenter" width="359"] p24วิรไท วิรไท สันติประภพ[/caption]

“2 ปีก่อน ธปท.ร่วมมือกับธนาคารกลางมาเลเซีย อินโดนีเซีย และจีน ทำให้ส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยนทั้ง 3 ประเทศแคบลง ช่วยลดต้นทุนภาคธุรกิจและลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนจากการใช้เงินสกุลที่ 3 ในการชำระธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยปีนี้จะขยายการใช้เงินบาทกับหยวนไปทั่วประเทศจีนส่วนธุรกิจชายแดนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่จะทำต่อทั้งสกุลเงินจ๊าตของเมียนมา และบาทรวมถึงสนับสนุนการใช้ QR Code ข้ามพรมแดนด้วย”

090861-1927-9-335x503
ทั้งนี้ ธปท.มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่น ซึ่งการค้าระหว่างประเทศปี 2560 ยังพบว่ามูลค่าการค้าระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออก50% ของการค้า ขณะที่มูลค่าการค้ากับสหรัฐอเมริกามี 9% แต่ส่วนใหญ่กลับชำระราคากันด้วยดอลลาร์สหรัฐฯ ถึง 80% ซึ่งเป็นภาระของคู่ค้าและผู้ประกอบการไทยแม้กระทั่งญี่ปุ่นก็ใช้ดอลลาร์สหรัฐฯ จึงเป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นดยไม่จำเป็น

หากพิจารณาคู่ค้าหลักของไทยปี2558-2560 โดยจีนมีสัดส่วน 16.1% ของมูลค่าการค้าไทย ญี่ปุ่น 11.8% มาเลเซีย 4.8% อินโดนีเซีย 3.5% แต่การชำระเงินส่วนใหญ่เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ 80.9% เงินบาท 9.1% เยน 4.3% หยวน 0.5%

สำหรับผลตอบรับ การใช้สกุลเงินท้องถิ่น 4 ประเทศ(ริงกิต รูเปีย หยวน เยน)ที่ธปท.ร่วมมือนั้น นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท.ระบุว่า ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา(ตั้งแต่ปี 2558-2560) เฉพาะการค้าระหว่างไทยกับจีนจะเห็นการใช้บาท-หยวน (CNY) เพิ่มจากเดิม 3% เป็น 6% ริงกิตจาก 0.3% เป็น 0.6% และเยน จาก 0.8% เป็น 1.2% ขณะที่รูเปียเพิ่งเริ่มทำธุรกรรมยังไม่เห็นพัฒนาการ โดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งความเห็นจากภาคเอกชนส่วนหนึ่งระบุว่า การใช้เงินสกุลท้องถิ่นเพื่อการค้าและการลงทุนนั้น จำเป็นต้องทำเป็นนโยบายรัฐ เพื่อสร้างแรงจูงใจ ทั้งกำหนดค่าเงินในระดับที่เหมาะสมและธนาคารกลางแต่ละประเทศทบทวนตะกร้าเงินทุนสำรอง โดยเพิ่มสกุลเงินท้องถิ่นเพื่อให้เห็นความสำคัญของสกุลเงินท้องถิ่นในระบบการค้าด้วย

หน้า 23-24 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,394 วันที่ 23 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2561

e-book-1-503x62-7