ยุทธศาสตร์สร้างอุดรธานีให้เป็นเมืองสมุนไพรระเบียงเศรษฐกิจ 4.0

21 ส.ค. 2561 | 03:20 น.
จังหวัดอุดรธานีอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู เลย หนองคาย บึงกาฬ  วิสัยทัศน์กลุ่มจังหวัด คือศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวเชิงอัตลักษณ์ และการเกศษตรปลอดภัย ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง  สำหรับจังหวัดอุดรธานีมียุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด 6 ยุทธศาสตร์ 24 กลยุทธ์ และโครงการเมืองสมุนไพรจังหวัดอุดรธานี เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมพัฒนาการเกษตรอุตสาหกรรม ยกระดับมาตรฐานการผลิตการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์  และกลยุทธ์ที่ 3 ของยุทธศาสตร์ที่ 2  เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การแปรรูปสินค้าเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

ทั้งนี้จังหวัดอุถดรธานี โดยนายวัฒนา  พุฒิชาติ  ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ได้ให้ความสำคัญต่อโครงการเมืองสมุนไพรจังหวัดอุดรธานี  โดยทางจังหวัดได้มีการออกคำสั่งที่ 6039/2561  ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2560 แต่งตั้งคณะกรรมการเมืองสมุนไพรจังหวัดอุดรธานี  มีผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานกรรมการ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการ โดยมีอำนาจหน้าที่ 1.กำหนดให้มีแผนแม่บทและแนวทางการดำเนินงานให้จังหวัดอุดรธานี เป็นเมืองสมุนไพร 2.แต่งตั้งคณะกรรมการอื่นๆ ตามความเหมาะสมเพื่อดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง 3.ติดตามกำกับดูแลการจัดการดำเนินงานโครงการเมืองสมุนไพรจังหวัดอุดรธานี  4.ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง 5.อื่นๆตามที่ได้รับมอบหมาย   พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานีและหอการค้าจังหวัดอุดรธานี เป็นหน่วยงานดำเนินงาน  เพื่อให้เป็นไปตามการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2558  ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง “พัฒนาพืชสมุนไพรให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับและสร้างมูลค่าค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์สมุนไพร”  ด้วยเหตุที่ว่าในปัจจุบันนี้ได้มีการนำเอาพืชสมุนไพรของไทย ไปใช้ประโยน์เป็นยาสมุนไพร  เป็นมูลค่าจำนวนสูง

ทั้งนี้จังหวัดอุดรธานีได้มีการจัดตั้งโครงการเมืองสมุนไพรจังหวัดอุดรธานีด้วยงบประมาณของแผนงานบูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อสนองต่อนโยบายของรัฐบาล โดยในระยะแรกปี 2561 นี้ได้จัดตั้งขึ้นพื้นที่ 3 อำเภอนำร่อง เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบเพื่อการพัฒนาให้เป็นเมืองสมุนพรจังหวัดอุดรธานีเต็มรูปแบบในอนาคต คือ อำเภอกู่แก้ว : เมืองสมอภิเภก ซึ่งมีสรรคุณเป็นตัวยาตำรับยา“ตรีผลา”

อำเภอน้ำโสม :  เมืองภูเขาสมุนไพร   เพื่อพัฒนาพื้นที่ ที่บริเวณอ่างเก็บน้ำบ้านนาเมืองไทย ให้เป็นพื้นที่ปลูกพืชสมุนไพรหลายชนิด เช่น ขมิ้นชัน ไพล หรือ อื่นๆที่เหมาะสม และคาดหวังให้มีการกระจายการปลูกไปยังพื้นที่อื่นๆและส่งเสริมพื้นที่ที่ปลูกอยู่แล้ว ให้ปลูกเพิ่ม ซึ่งจะสามารถนำพื้นที่ปลูกพืชสมุนไพรเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวชุมชนท้องถิ่น สร้างรายได้อีกทางหนึ่งด้วย

อำเภอบ้านผือ :  เมืองหญ้าหวาน  ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่มีสารความหวานที่สามารถใช้แทนความหวานของน้ำตาลได้  และมีประโยชน์ทางด้านสมุนไพร  ซึ่งในพื้นที่อำเภอบ้านผือได้มีการณรงค์ปลูกหญ้าหวานเป็นจำนวนมาก จนเป็นสินค้าพืชสมุนไพรจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นได้

DSC_0157 ที่ผ่านมา มีการขับเคลื่อนโครงการเมืองสมุนไพรจังหวัดอุดรธานี โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในพื้นที่และจากส่วนกลางเป็นหน่วยงานนิเทศ  และเป็นการดำเนินการต่อยอดให้โครงการมีความก้าวหน้าไปตามแผนแม่บทที่วางเอาไว้ ที่ทั้ง 3 หน่วยงานได้รับมอบหมายไปนั้น ได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานไปตามวาระแผนที่จัดทำขึ้น เช่น การวางแผนจัดทำแผนแม่บท การจัดงานมหกรรมสมุนไพรกลุ่มจังหวัด 5 จังหวัดของกลุ่มจังหวัดสบายดี  เพื่อให้แต่ละจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน 1 ได้นำเอาเอาพืชสมุนไพรเด่นๆของแต่ละจังหวัดมาจัดนิทรรศการให้ความรู้ จำหน่ายแก่ประชาชน และจัดเวทีเสวนาความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดจิตสำนึกถึงวิธีการปลูกพืชสมุนไพร การอนุรักษ์พืชสมุนไพร  การสร้างการตลาดเพื่อให้เกิดรายได้เข้าสู่ชุมชนในแต่ละจังหวัดแต่ละพื้นที่ อย่างมั่นคงและยั่งยืน   มีการนำเอาผู้ผลิตหรือคนปลูกพืชสมุนไพร ผู้แปรรูปวัตถุดิบมาพบปะเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการผลิต การปลูก การแปรรูปพืชสมุนไพรไทย ให้สามารถก้าวขึ้นมาเป็นยาสมุนไพรได้อย่างมีประสิทธิภาพตามความมุ่งหวังของนโยบายของรัฐบาล ที่จะสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้แก่คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจฐานรากของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ

DSC_0097 จังหวัดอุดรธานีมีความพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางในด้านการค้า การลงทุนด้านสมุนไพร  จึงมีการวางแผนที่จะรักษาไว้ซึ่งป่าอันอุดมสมบูรณ์ของพืชสมุนไพรที่นับวันที่จะลดน้อยลงไปตามสภาวะของการเปลี่ยนแปลในด้านต่างๆ  ด้วยการส่งเสริมให้ประชาชน ชาวบ้าน ชุมชนท้องถิ่น ในพื้นที่ทุกหมู่บ้าน ตำบล ปลูกพืชสมุนไพรเพิ่มจำนวนพืชสมุนไพรชนิดต่างๆให้ทั่วถึงทุกพื้นที่จากที่มีอยู่แล้ว  ส่งเสริมการเรียนรู้และการนำเอาพืชสมุนไพรไปใช้ประโยชน์ทางด้านการค้า เป็นสินค้า SMEs  สินค้า OTOP  วิสาหกิจชุมชน เช่น การเรียนรู้ทำลูกประคบ  ปรุงเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร   เพื่อรักษาผิวพรรณหรือความงาม   เช่นสบู่ แป้งสมุนไพร  เครื่องดิ่มที่ไม่ใช่ยา และอื่นๆอีกมากมาย โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกแห่งร่วมมือบูรณาการ  เพื่อให้บังเกิดผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ สมุนไพรไทยก้าวสู่ระเบียงเศรษฐกิจ 4.0 ได้ในที่สุด

e-book-1-503x62-7