"ฉัตรเฉลิม"ออกตัว"เยี่ยม"แค่รักษาการไร้อำนาจประเมินผล

17 ส.ค. 2561 | 12:36 น.
“ฉัตรเฉลิม” ยัน “เยี่ยม” แค่รักษาการไร้อำนาจประเมินผล แจงเกษตรกรเครือข่ายฯเข้าใจแล้ว ด้านยางใต้สุดทนเคาะห้องฟ้องรับไม่ได้ ทำเพื่อตัวเอง-เมินแก้ราคายาง

พลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ประธานคณะกรรมการ การยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” สั้นๆ ขณะอยู่ในการประชุมกรรมการบอร์ด ป.ต.ท.ว่าได้ทำความเข้าใจกับเกษตรกรไปแล้ว นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ เป็นแค่รักษาการ ไม่สามารถประเมินได้

ด้านนายประทบ สุขสนาน รองประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยที่ประชุมมติเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้ มีมติ 4 ข้อ ยื่นเสนอ พลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ประธานคณะกรรมการ การยางแห่งประเทศไทยพร้อมด้วยนายถนอมเกียรติ ยิ่งฉ้วน ตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางและเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้ได้เดินทางเข้าพบที่ห้องทำงาน สำนักงานการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)
yeim “ข้อ 1. นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการ การยางแห่ประเทศไทย (กยท.) ขาดภาวะผู้นำ บริหาร กยท.ล่าช้า ไม่ขับเคลื่อนนโยบายให้เป็นไปตามแผนงานในทุกด้าน เช่น เรื่องปุ๋ยบำรุงที่เกษตรกรผู้รับการปลูกแทนยังไม่ได้รับจนเข้าปลายฤดูฝนแล้วยังไม่ได้รับปุ๋ย แทนที่จะเร่งรัดการทำงานให้เกษตรกรได้รับปุ๋ย กลับสั่งการให้จ่ายเงินให้เกษตรกรไปซื้อปุ๋ยเอง ทำให้เกษตรกรมีภาระ เสี่ยงกับได้ปุ๋ยไม่มีคุณภาพ เพราะไม่มีหลักเกณฑ์การตรวจสอบคุณภาพปุ๋ยที่เกษตรกรไปซื้อ “

2.ไม่กล้าตัดสินใจ ในการทำงานทุกด้าน สังเกตจาก มีการตั้งที่ปรึกษารวมประมาณ 11คน ทำให้ กยท.ต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ และทำให้งานที่จะช่วยเหลือเกษตรกรล่าช้า เพราะต้องรอถามความเห็นที่ปรึกษา

3.รวบอำนาจในการทำงาน ไม่กระจายงาน ทำให้ทำงานไม่ทัน ช่วยเกษตรกรไม่ทันเพราะงานทุกงานตัวเองทำเองหมด จึงช้า เกษตรกรรอไม่ไหว และ

4. เรียกร้องผลประโยชน์ให้กับตนเอง โดยเข้ารับตำแหน่ง เรียกร้องเงินเดือนสูง แม้ว่าระเบียบจ่ายไม่ได้ วิ่งเต้นจน สคร.มีหนังสือให้จ่ายจนได้ แสดงว่าถ้าไม่ได้เงินจะไม่ทำงาน จึงส่งผลต่างๆที่เกิดขึ้นดังนี้

“เรื่องสถานการณ์ราคายาง ที่ตกต่ำตั้งแต่ รักษาการเข้ารับตำแหน่งราคายางแผ่นรมควันเฉลี่ยเดือน เมษายน 49.31 บาท ราคาเฉลี่ยเดือนพฤษภาคม 52.00 บาท ขณะนี้ราคาเฉลี่ยเดือนกรกฎาคม 45.35 บาทและราคาล่าสุดเดือนสิงหาคม 44.59 บาท (วันที่ 9 ส.ค.)(อ้างอิง กยท.) ราคายางลดลง 6.00 บาทต่อกิโลกรัม โดย รก.ผวก.ไม่ทำอะไรเลย”

นายประทบ เปิดเผยอีกว่า การที่ไม่เข้าซื้อและประมูลยางในตลาด กยท. จงใจไม่รักษาเสถียรภาพราคายาง ตามภารกิจของ กยท.ที่กำหนดไว้ใน พรบ.กยท.มาตรา 8 ถือว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กยท. จนทำให้พ่อค้ากดราคายางในตลาดกลาง เพียงแต่อ้างราคายางในตลาดเซี่ยงไฮ้ ว่าราคายางไม่ขึ้นเพราะเซี่ยงไฮ้กดราคา แท้จริงแล้ว ราคาในประเทศไทย ก็เป็นราคาอ้างอิงราคายางในตลาดโลกได้ด้วย ไม่รักษาเสถียรภาพราคายาง คือ ไม่ดำเนินการตลาดตามที่ได้รับปากไว้คือ เอาอำนาจในการขายยางในธุรกิจของ กยท.ไว้กับตัวเอง ตัดสินใจคนเดียว จนไม่สามารถขายยางได้ ทำให้สต๊อกยางของ กยท.เพิ่มขึ้น
โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6 นอกจากนี้บอร์ดการยางให้เอกชนเช่าโรงงานของ กยท.ทั้งๆที่โรงงานของ กยท.เป็นของเกษตรกรทุกคน ถือว่าเป็นการทำงานเอื้อให้กับเอกชนพ่อค้ายางรายใหญ่ เนื่องจากที่ปรึกษาของรักษาการเป็นที่ปรึกษาบริษัทยางรายใหญ่ด้วย การไม่ขายยางของโรงงานกยท. ทำให้มียางค้างสต๊อกมาก จึงสั่งยุติการผลิตยางและสั่งปิดโรงงานผลิตยางแท่งของ กยท.ในที่สุด จนทำให้เกิดความเสียหายด้านธุรกิจของ กยท.ส่งผลให้เกษตรกรไม่มีที่ขายยางที่ กยท.เคยให้ราคาที่เป็นธรรม ทำอย่างนี้เข้าทางพ่อค้า

ส่วนการทำประกันภัยยางในสต๊อกโครงการของรัฐบาล (โครงการสร้างเสถียรภาพฯและโครงการ มูลภัณฑ์) ไม่โปร่งไส คือ รับราคาบริษัทประกันภัยที่ราคา 39 ล้านบาท แต่ไม่รับราคาบริษัทประกันภัยที่ราคา 37 ล้านบาท อีกทั้งเอารถยนต์และคนขับรถ ของ กยท.ไปใช้ส่วนตัว ไม่เป็นไปตามระเบียบการใช้รถของราชการถือเป็นการทุจริต ใช้อำนาจหน้าที่แสวงผลประโยชน์ของทางราชการให้กับตนเอง

“เพื่อให้ประธานบอร์ด กยท. นำไปพิจารณาดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหายางพาราของประเทศ และปัญหาการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการของ กยท.ซึ่งส่งผลกระทบและสร้างปัญหาความเดือดร้อนให้กับชาวสวนยางทั่วทั้งประเทศ มาอย่างต่อเนื่องยาวนานหลังจากนี้ จะรอจนถึงสิ้นเดือนนี้ เพื่อรอฟังผลการดำเนินแก้ไขปรับปรุงของ กยท.”

หลังจากนั้นจะจัดประชุมเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้งก่อนที่จะนำข้อสรุป ข้อเสนอแนะต่างๆ เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อไป

e-book-1-503x62