พาณิชย์รุกหนักตลาดอิหร่าน หลัง"สมคิด"เดินทางกระชับความสัมพันธ์ ประเดิม MOU ทันที 5 ฉบับ มูลค่ารวมกว่า5,200ล้านบาท

09 ก.พ. 2559 | 08:16 น.
พาณิชย์รุกหนักตลาดอิหร่าน หลัง"สมคิด"เดินทางกระชับความสัมพันธ์ ประเดิม MOU ทันที 5 ฉบับข้าวและยาง มูลค่ารวมกว่า5,200ล้านบาท   ขณะที่โอมานเตรียมศึกษาความเป็นไปได้ทำเอฟทีเอไทย- GCC

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการเยือนรัฐสุลต่านโอมานและสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ภายใต้การนำคณะฝ่ายไทยของ ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2559 ว่า ได้ก่อให้เกิดการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุน และความร่วมมือด้านต่างๆ ที่จะเกื้อกูลกันและกัน ทั้งในระดับรัฐบาลและเอกชน พร้อมตั้งเป้าการค้ากับโอมานให้ ขยายตัวถึง 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในอีก 3 ปี ข้างหน้า ส่วนการค้ากับอิหร่านตั้งเป้าให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายใน 5 ปี

สำหรับผลสำเร็จจากการเดินทางเยือนในครั้งนี้ ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ( MOU) สินค้าข้าวและยาง 5ฉบับ ประกอบด้วย

ฉบับที่1 เป็นการตกลงซื้อขายข้าวขาว100% เกรดB ข้าวหอมมะลิ และข้าวขาว5% ระหว่างบริษัทพงษ์ลาภ จำกัด และบริษัทTOSE-EH  Farda  Investment Management  Company  รวมปริมาณ 1แสนตัน

ฉบับที่2 เป็นการตกลงซื้อขายข้าวขาว100% เกรดB ระหว่างบริษัทแคปปิตัล ซีเรียล จำกัด และบริษัท Parnian Imen Tejarat Giti จำนวน 1แสนตัน

ฉบับที่3 เป็นการตกลงซื้อขายข้าวขาว100% เกรดB ระหว่างบริษัทเอเซียโกลเด้นไรซ์ จำกัด และบริษัท Para  Tejarat Pyamid (PTP)จำนวน 5 แสนตัน

ฉบับที่4 เป็นการตกลงซื้อขายข้าวขาว100% เกรดB ระหว่างบริษัทเอเซียโกลเด้นไรซ์ จำกัด และบริษัทPars Marvast Co. จำนวน5หมื่นตัน

และฉบับที่5 เป็นการตกลงซื้ อขายยางพาราธรรมชาติ3ฝ่ายระหว่างบริษัทวงศ์บัณฑิต ประเทศไทย บริษัท Barez Industrial Group ประเทศอิหร่าน และบริษัทBarena Group SDN BHD ประเทศมาเลเซีย เพื่อส่งเข้าสู่ประเทศอิหร่าน จำนวน2 หมื่นตัน  ทั้งนี้คิดเป็นมูลค่าการค้าข้ าวและยางพารา ให้อิหร่านได้ร่วมประมาณ5200ล้ านบาท หรือประมาณ144ล้านดอลารร์สหรัฐ โดยแบ่งเป็นการขายข้าวรวม3แสนตั น มูลค่าประมาณ4300ล้านบาทหรือ119 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นการขายยางพาราจำนวน2หมื่ นตัน มูลค่าประมาณ900ล้านบาท หรือ25ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากนี้ยังมีความตกลงทางการค้าไทย – อิหร่าน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริ มความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจการค้ า รวมถึง การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ระหว่างไทยกับอิหร่าน เพื่อเป็นกลไกสำหรับหารือในประเด็นด้านเศรษฐกิจการค้า ลดปัญหาอุปสรรคระหว่างกัน โดยฝ่ายไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Joint Trade Committee ครั้งที่ 1 สำหรับประเด็นการจัดทำ Preferential Trade Agreement (PTA) เพื่อเปิดตลาดการค้ากับอิหร่าน สองฝ่ายเห็นพ้องให้เร่งหารือและมีข้อสรุปภายใน 3 เดือนโดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรมที่ จะเกื้อกูลกันและกัน อาทิ อาหารแปรรูป อาหารฮาลาล เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ดิจิทัล รวมถึงนาโนเทคโนโลยี ดิจิทัล ยาและเวชภัณฑ์ ตลอดจนการพัฒนาSMEs ร่วมกัน ทั้งนี้ ไทยมีโอกาสการขยายตลาดสินค้า  ฮาลาลในอิหร่าน เนื่องจากกว่า 70 %ของประชาชนเป็นมุสลิม

“อิหร่านเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ มีประชากรกว่า 80  ล้านคนถือว่าตลาดที่ใหญ่ที่สุ ดในภูมิภาคตะวันออกกลาง และสามารถเป็นฐานกระจายสินค้ าไปยังภูมิภาค CIS (ประชากร 100 กว่าล้านคน) ซึ่งไม่มีทางออกทะเล ปัจจุบัน การค้าระหว่างไทยกับอิหร่านยั งมีมูลค่าน้อย เนื่องจากการถูกคว่ ำบาตรจากสหประชาชาติ และประเทศมหาอำนาจ โดยในปี 2558 การค้าระหว่างกันมีมูลค่าเพียง 309.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากั บอิหร่านมูลค่า 125.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเท่านั้นซึ่ งคาดว่าหลังจากนี้น่าจะทำให้ การค้าไทยและอิหร่านมีการขยายตั วมากขึ้น”นางอภิรดีกล่าว

ส่วนโอมานนั้นมีการตั้งคณะทำงานศึกษาความเป็นไปได้ ในการทำFTA ระหว่างไทย-GCC (6 ประเทศ โอมาน คูเวต กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(ยูเออี)  ซาอุดิอาระเบีย  และบาร์เรน) สำหรับการลงทุนที่เป็ นโอกาสสำหรับไทยและโอมานที่จะพั ฒนาร่วมกัน ได้แก่ ปิโตรเคมี ประมง อาหารทะเลแปรรูป อาหารฮาลาล การท่องเที่ยว บริการด้านสุขภาพ เป็นต้น