ผุดเอาต์เลตไอทีแห่งแรก คอมเซเว่นทุ่ม 20 ล.เปิด ‘บานาน่าเมกะสโตร์’

01 ก.ย. 2561 | 09:40 น.
คอมเซเว่น ทุ่ม 20 ล้าน ผุดเอาต์เลตไอที “บานาน่า เมกะ สโตร์” แห่งแรกในไทย ดึงสินค้าตัวโชว์-ตกรุ่น 300 สาขาทั่วประเทศ ลดราคาสูงสุด 80% ตั้งเป้ายอดขายเดือนละ 20 ล้านบาท พร้อมเปิดต้นแบบออนไลน์สโตร์ “บานาน่าช็อปปิ้ง” คลิกสั่งซื้อ-รับสินค้าได้ทันทีที่ร้าน หรือที่บ้านภายใน 3 ชั่วโมง เปิดตัวทางการตุลาคม

[caption id="attachment_311368" align="aligncenter" width="335"] นายสุระ คณิตทวีกุล นายสุระ คณิตทวีกุล[/caption]

นายสุระ คณิตทวีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าบริษัทได้เปิดหน้าร้านรูปแบบใหม่ “บานาน่า เมกะสโตร์” ที่ถือเป็นเอาต์เลตสินค้าไอทีแห่งแรกในไทย บนเนื้อที่กว่า 1,000 ตารางเมตร ที่ศูนย์การค้า ซีคอนสแควร์ ถนนศรีนครินทร์ โดยภายใต้ “บานาน่า เมกะ สโตร์” จะประกอบด้วย 3 โซนหลัก 1.โซนเอาต์เลต ที่รวบรวมสินค้าตัวโชว์ สินค้าตกรุ่น สินค้าโละสต๊อก จากบานาน่า และ สตูดิโอ 7 และบีเคเค สมาร์ทโฟน แอนด์แท็บเลต ที่มีอยู่กว่า 300 แห่งทั่วประเทศ มาลดราคาสูงสุด 80% นอกจากนี้ยังเปิดให้ ผู้ผลิต และ พาร์ตเนอร์ นำเสนอรายการสินค้ากว่า 10,000 รายการ

Image_55af6ab 2.โซนสินค้าใหม่ ที่จำหน่ายสินค้ารุ่นปัจจุบัน และ 3.โซนบานาน่า ช้อปปิ้ง (Banana Shopping) โดยจะเป็นต้นแบบออนไลน์สโตร์แห่งแรก ที่ลูกค้าสามารถคลิกสั่งซื้อและเลือกรับสินค้าได้ทันทีที่ร้าน หรือที่บ้านภาย
ใน 3 ชั่วโมง โดยขณะนี้กำลังพัฒนาเว็บไซต์เวอร์ชันใหม่ล่าสุดเพื่อให้ผู้ใช้ใช้งานง่าย และเตรียมขยายรูปแบบของบานาน่า ช็อปปิ้ง ไปยังหน้าร้านอื่นๆ ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถเปิดตัวอย่างเป็นทางการเดือนตุลาคมนี้

“สาเหตุเปิดเอาต์เลตสินค้าไอที เพราะสินค้าไอทีตกรุ่นเร็ว โดยเดิมเคยจัดแวร์เฮาส์เซล ‘บานาน่าลดตับแตก’ ปีละ 3 ครั้ง แต่ลูกค้าเรียกร้องให้จัดแวร์เฮาส์เซลมากขึ้น เลยตั้งลงทุน 20 ล้านบาท ตั้งเป็นเอาต์เลตช็อป รวมสินค้าตกรุ่นจากหน้าร้านที่มีอยู่มาลดราคา โดยเลือกพื้นที่ซีคอนฯ เปิดเอาต์เลตสินค้าไอทีแห่งแรกในไทย เพราะเป็นศูนย์การค้าที่อยู่มานานกว่า 20 ปี มีกลุ่มลูกค้าหลากหลายครอบคลุมตั้งแต่ระดับล่างถึงบน โดยคาดว่าจะมีรายได้ราวเดือนละ 20 ล้านบาท และช่วยให้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ปัจจุบันตั้งสำรองค่าเสื่อมสินค้าได้ปีละ 70-100 ล้านบาทลงมา ทั้งนี้หากประสบความสำเร็จจะขยายไปยังมุมเมืองอื่นของกรุงเทพฯ” 090861-1927-9-335x503

นายสุระ กล่าวต่อไปว่า ภาพรวมธุรกิจไอทีครึ่งปีแรกที่ผ่านมาเติบโตราว 10% อย่างไรก็ตามในส่วนของบริษัทไตรมาส 2 ที่ผ่านมาผลประกอบการเติบโตขึ้น 35.7% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยมีรายได้จากการขายและการให้บริการอยู่ที่ 6,741.4 ล้านบาท คาดการณ์ว่าภาพรวมธุรกิจทั้งปี 2561 จะสามารถทำนิวไฮ จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ว่ารายได้ปีนี้จะเติบโตไม่ตํ่ากว่า 15% จากปีก่อนที่ทำได้ 22,584 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะสามารถเติบโตได้ถึง 20%

โดยสาเหตุที่ทำให้ยอดขายเติบโตขึ้น เนื่องจากเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ โดยมีสินค้ารุ่นใหม่ออกมาต่อเนื่องช่วยเพิ่มความสนใจและกระตุ้นกำลังซื้อ ซึ่งในกลุ่มสมาร์ทโฟนนั้นที่ผ่านมาบริษัทยังทำตลาดไม่มาก แต่การขยายสาขาไปยังต่างจังหวัด ทำให้เพิ่มยอดขายส่วนสมาร์ทโฟนขึ้นมา ส่วนของโน้ตบุ๊กนั้น ด้วยดีไซน์สินค้า และกระแสเกม ทำให้โน้ตบุ๊กกลับมาอยู่ในกลุ่มสินค้าที่ได้รับความสนใจของผู้บริโภคอีกครั้ง

หน้า 5 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38| ฉบับ 3393 | ระหว่างวันที่ 19 - 22 สิงหาคม 2561 e-book-1-503x62-7