'พายุเบบินคา' ยังรุนแรง! ไทยเจอฝนยาว 20 ส.ค.

17 ส.ค. 2561 | 05:37 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ปภ. เผยสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายแล้ว 26 จังหวัด อีก 6 จังหวัด ยังหนัก เร่งช่วยเหลือประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 6 หมื่นคน

นายกอบชัย บุญอรณะ รองอธิบดี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"
ว่า ปัจจุบัน สถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายแล้ว 26 จังหวัด ได้แก่ จ.กาญจนบุรี ตาก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พิจิตร นครสวรรค์ แพร่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ประจวบคีรีขันธ์ ลําปาง น่าน อุตรดิตถ์ พะเยา อํานาจเจริญ มุกดาหาร พังงา ร้อยเอ็ด หนองคาย ชุมพร ระนอง นครนายก ตราด เชียงราย สุราษฎร์ธานี และสกลนคร


S__6987786

ปัจจุบัน ยังคงมีสถานการณ์ 6 จังหวัด ได้แก่ จ.นครพนม อุบลราชธานี บึงกาฬ กาฬสินธุ์ ยโสธร และเพชรบุรี (31 อำเภอ , 175 ตำบล , 1,284 หมู่บ้าน , ประชาชนได้รับผลกระทบ 24,818 และครัวเรือน 60,502 คน)

สภาพน้ําในอ่างเก็บน้ํา (ข้อมูลกรมชลประทาน ณ วันที่ 16 ส.ค. 61) ปริมาตรน้ําในอ่างฯ 50,505 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 71 (ปริมาตรน้ําใช้การได้ 26,961 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 57) ปริมาตรน้ําในอ่างฯ เทียบกับปี 2560 (45,774 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 65) มากกว่าปี 2560 จํานวน 4,731 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ําไหลลงอ่างฯ จํานวน 340.24 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ําระบายจํานวน 204.80 ล้าน ลบ.ม. (น้ําไหลลงอ่างฯ มากกว่า น้ําระบาย 135.44 ล้าน ลบ.ม.) สามารถรับน้ําได้อีก 20,399 ล้าน ลบ.ม.

นายกอบชัย กล่าวว่า วันที่ 18-20 ส.ค. 2561 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรง ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ประกอบกับอิทธิพลจากพายุโซนร้อน "เยินคา" บริเวณอ่าวตังเกี๋ย ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน 2-4 เมตร ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฟ้าคะนองในหลายพื้นที่กับมีฝนตกเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก


คำเตือน  ฉบับที่ 22(17 ส.ค.61)

สถานการณ์น้ำล้นตลิ่งริมฝั่งแม่น้ำโขงในหลายพื้นที่ ระดับน้ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สำหรับพื้นที่รับน้ำท้ายเขื่อน ได้แก่ เขื่อนคีรีธาร จ.จันทบุรี , เขื่อนขุนด่านแราการชล จ.นครนายก , เขื่อนวชิราลงกรณ์ จ.กาญจนบุรี , เขื่อนแก่งกระจาน และเขื่อนเพชร จ.เพชรบุรี , เขื่อนปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ , เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร ยังคงต้องเฝ้าระดับน้ำล้นตลิ่งอย่างใกล้ชิด

ขอให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ติดตามข้อมูล สภาพน้ำท่า สภาพอากาศ ปริมาณน้ำฝนสะสม โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ริมแม่น้ำ พื้นที่รองรับการระบายน้ำจากเขื่อน และพื้นที่ลาดเชิงเขา ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

อย่างไรก็ตาม สำหรับพื้นที่เฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศ ปริมาณฝนสะสมสถานการณ์น้ําท่า และปัจจัยเสี่ยงเชิงพื้นที่ พบว่า ช่วงที่ผ่านมาทุกภาคของประเทศไทยมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง พื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัยและดินโคลนถล่ม


ประกาศฉบับที่_396_2561

ภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลําพูน ลําปาง พะเยา แพร่ น่าน เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ กําแพงเพชร พิจิตร ตาก นครสวรรค์ และอุทัยธานี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองคาย หนองบัวลําภู อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม อํานาจเจริญ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง 11 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

ภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล พื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์คลื่นลมแรงภาคกลาง 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ 9 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล


……………….
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ด่วนที่สุด ! "ปภ." แจ้งเอ็กซเรย์จุดเสี่ยง รับมือพายุ "เบบินคา" 16-20 ส.ค. นี้
เร่งพร่องน้ำ 5 เขื่อนใหญ่ รับพายุเบบินคา


e-book-1-503x62