ดีแทคยกระดับการวิจัย สร้างกรณีศึกษาถ่ายทอดความรู้

16 ส.ค. 2561 | 14:05 น.
ดีแทคและสถาบันเทคโนโลยี นานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมเปิดตัวห้องปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Lab) มุ่งพัฒนาและเชื่อมต่อศักยภาพของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูลกับกรณีศึกษาจริงทางธุรกิจที่ดีแทคจัดทำขึ้น ทั้งนี้การจัดตั้ง dtac AI Lab ยังสนับสนุนยุทธศาสตร์ของดีแทคในด้านปัญญาประดิษฐ์ และความมุ่งมั่นในการฝึกอบรมคนรุ่นใหม่ที่มี ความสามารถด้านดิจิทัลสำหรับประเทศไทย

ดร.อุกฤษฎ์ ศัลยพงษ์ หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ช่องทางการขายและการบริหารผลการปฏิบัติงานของดีแทค กล่าวว่า เพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจจากการใช้ดิจิทัล (Digital Transformation) ที่สภาพแวดล้อมของการแข่งขันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่แน่นอน ยุ่งยาก และไม่ชัดเจน ดีแทคจึงตัดสินใจวางกลยุทธ์ ร่วมมือกับ SIIT สำรวจและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ เพื่อรองรับความท้าทายทางธุรกิจ โดยดีแทคจะช่วยในกระบวนการการดำเนินงานทางธุรกิจแบบอัตโนมัติ และสนับสนุนการนำเสนอแบบเฉพาะเจาะจงตรงกับความต้องการส่วนบุคคลของลูกค้า (customer personalization) ขั้นสูง

dtac Loop 2_08 “ปัญญาประดิษฐ์จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจได้ในเชิงลึก dtac AI Lab จะเป็นแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ และนวัตกรรมที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย นักศึกษาไม่เพียงแต่เรียนรู้ว่า Machine Learning ทำงานอย่างไร แต่ยังได้เรียนรู้ถึงความเชื่อมโยงกับความท้าทายทางธุรกิ จในโลกแห่งความจริงอีกด้วย”ดร.อุกฤษฎ์กล่าว

ภายในระยะเวลา 2 ปี ดีแทคได้จัดตั้ง AI Lab จัดหาข้อมูล และตั้งโจทย์ความท้าทายทางธุรกิจไว้ในห้องปฏิบัติการนี้ ด้วยเงินทุนรวมทั้งสิ้น 12 ล้านบาท ทำให้นักศึกษาสามารถทำงานในการพัฒนาแนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้ ได้ โดยในระยะเริ่มต้น AI Lab จะมุ่งเน้นที่กระบวนการที่จะช่วยย่นระยะเวลาในการทำงานโดยใช้ เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยในการทำงาน เช่น ดีแทค ร่วมมือกับ SIIT พัฒนาระบบการยืนยันตัวตน (ID verification system) เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และความรวดเร็วในการประมวลผลการยืนยันการลงทะเบียนซิม เป็นต้น

“ปัญญาประดิษฐ์เป็นกุญแจไปสู่ การพัฒนาการบริการแบบไร้รอยต่อ สร้างประสบการณ์ของลูกค้าให้เป็นเรื่องที่ง่าย และเจาะจงเฉพาะบุคคลได้ โดยในอนาคตปัญญาประดิษฐ์ จะทำให้ลูกค้าที่ต้องการคำแนะนำจากศูนย์บริการของเราไม่ต้องอธิบายว่าเขาใช้สมาร์ทโฟนในการทำอะไร” ดร.อุกฤษฎ์กล่าว

dtac Loop 2_01 ดีแทคกำลังติดตั้งระบบจอสัมผัส และจัดหาอุปกรณ์ไร้สายให้แก่พนักงาน เพื่อปรับปรุงโฉมศูนย์บริการ มุ่งสร้างประสบการณ์ที่ลื่นกว่าแก่ลูกค้าของดีแทคโดยการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้งาน ดีแทคจะเคลื่อนไปสู่ “ส่วนต่อประสานที่มองไม่เห็น” ซึ่งใช้ระบบการจดจำใบหน้า และอุปกรณ์ที่ดำเนินการด้วยเสียงในการให้บริการที่มีความผิดพลาดที่น้อยที่สุด

ศ.ดร. ธนารักษ์ ธีระมั่นคง อาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยี นานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ย้ำถึงความต้องการของนักศึกษาในการทำงานกับภาคธุรกิจเพื่อเพิ่มทักษะต่างๆของตัวนักศึกษาเอง “การคิดแบบองค์รวม และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาจริงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อจะไปให้ถึงจุดดังกล่าว เราต้องการพาร์ทเนอร์ที่แข็งแกร่งที่มีทั้งกรณีศึกษา และข้อมูลที่แท้จริงทางธุรกิจ การได้ร่วมทำงานกับภาคธุรกิจเหล่านั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ”

dtac AI Lab ห้องปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์ สามารถรองรับนักศึกษาเพื่อเข้ามาฝึกอบรมได้ถึง 200 คนต่อปี และเปิดแล้วที่สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT)  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตรังสิต

e-book-1-503x62