'เยาวชนกล้ายิ้ม' ราชบุรีโฮลดิ้ง

16 ส.ค. 2561 | 13:10 น.
เรียนรู้สมดุลระบบนิเวศธรรมชาติ  

หนึ่งในกิจกรรมและนโยบายเพื่อสังคมของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินการต่อเนื่อง คือ โครงการ “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” ที่จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ผ่านกลไกของป่าชุมชนในระดับประเทศ ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 โดยเน้นการปลุกและปลูกจิตสำนึ กด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชน ที่จะเติบโตจต่อไปในอนาคต ผ่านกิจกรรม “ค่ายเยาวชนกล้ายิ้ม” ซึ่งจัดทุกปี ปีละ 2 รุ่น

คุณบุญทิวา ด่านศมสถิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ (2) "บุญทิวา ด่านศมสถิต" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บอกว่า ราชบุรีโฮลดิ้ง ได้ร่วมมือกับกรมป่าไม้ต่อเนื่ องตั้งแต่เริ่มต้น และเพิ่งเซ็นเอ็นโอยูต่อสัญญาครั้งล่าสุดไปเมื่อกรกฎาคม 2561 สัญญาต่อเนื่อง 5 ปี โดยกิจกรรมจะใช้ป่าชุมชนเป็นตัวเดินเรื่อง ด้วยเชื่อว่าการบริหารจัดการโดยชุมชนและเพื่อประโยชน์ ของชุมชน ที่ชุมชนสามารถใช้และเห็นประโยชน์ชัดเจน กิจกรรมที่จัด แบ่งเป็น 1. กิจกรรมประกวดป่า เป็นการยกย่อง เชิดชู เพื่อให้ชุมชนเกิดความภาคภูมิใจ และเป็นแบบอย่างให้ชุมชนอื่นทำตาม เป็นการขยายผลต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

2. การสร้างเครือข่าย เริ่มจากระดับเด็ก คือ ค่ายกล้ายิ้ม และ 3. การสัมนาป่าชุมชน เป็นการปลูกจิตสำนึก เรื่องการปลูกป่าในใจคน ด้วยการนำแนวศาสตร์พระราชามาใช้ เป็นการปลุก และปลูกจิตสำนึก ถือเป็นการปลูกป่าในใจคน และยังส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ ป่าชุมชน จัดศูนย์เรียนรู้ของป่าชุมชน โดยตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา จะสอดแทรกความรู้ใหม่เรื่องการบริการจัดการป่าชุมชน พลังงาน ภาวะโลกร้อน หรือประเด็นที่เป็นกระแสเกี่ ยวกับธรรมชาติต่างๆ ชี้ให้เห็นว่าชุมชนสามารถมีส่ วนร่วมในการบริหารจัดการให้ ธรรมชาติเกิดสมดุลย์ได้อย่างไร

น้องๆซักถามข้อสงสัยเรื่้องสัตว์ป่า "การบริหาป่าชุมชน มีจุดเด่นเรื่องของการมีส่วนร่วมของชุมชน มีเรื่องการวางแผน การร่วมมือร่วมใจกันทำ เพื่อใช้ประโยชน์สิ่งที่อยู่ ในป่าอย่างยั่งยืน และเรายังส่งเสริมราษฏรอาสาพิทักษ์ป่า มีทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติ พระราชินี รวมทั้งกิจกรรมอื่นๆ"

สำหรับปีนี้ ค่ายเยาวชนกล้ายิ้ม ได้สอดแทรกเนื้อหาเรื่อง สัตว์ป่า ให้กับเด็กๆ เพราะมันคือ คือ 1 ในห่วงโซ่ และมันเป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาคของป่าและธรรมชาติ นำคณะเยาวชนไปศึกษาเรียนรู้ และเยี่ยมชมสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจังหวัดพังงา ซึ่งเป็นสภาพพื้นที่ทางธรรมชาติ ขนาด 2,544 ไร่ คัดเลือกเยาวชนระดับมัธยมต้น (อายุ 13-15 ปี) 60 คน จากป่าชุมชนในภาคใต้ ที่มีความสนใจด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่เริ่มดำเนินจนถึงปัจจุบัน กิจกรรมค่ายเยาวชนกล้ายิ้มมี เยาวชนเข้าร่วมเรียนรู้แล้ว 23 รุ่น 1,810 คน

ศึกษาเรียนรู้สัตว์ป่าในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าพังงา (2) นโยบายเพื่อสังคมของราชบุรี โฮลดิ้ง ยังมีโครงการอื่นๆ อาทิ โครงการแอทแคลาย โครงการพลังงานชุมชนที่ทำงานร่วมกับสำนักงานพลังงานจังหวัด โครงการให้ความรู้ สร้างอาสาสมัคร สร้างช่าง รวมไปถึงการเปิดศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่ต่างๆ และยังทำเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิง ชื่อ ภุมรีพลังสตรี ส่งเสริมศักยภาพผู้หญิง พัฒนาผู้หญิง และการทำเรื่องของ การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) โดยทุกกิจกรรมจะมีการส่งเสริมให้พนักงานขององค์กรมีส่วนร่วมเข้าเป็นจิตอาสา โดยกำหนดพนักงานแต่ละคนต้องทำกิจกรรมจิตอาสาไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมงใน 1 ปี เพื่อกระตุ้นให้พนักงานมีจิตสำนึกด้านการให้และช่วยเหลือสังคม

หน้า 28 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,392 วันที่ 16 - 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561

e-book-1-503x62