โคบอทส์ : หุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์

16 ส.ค. 2561 | 11:28 น.
โลกในอนาคตจะเป็นอย่างไร หลายคนคงนึกถึงโลกที่เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ผ่านระบบอัตโนมัติ การนั่งยานพาหนะโดยไม่มีคนขับ การท่องเที่ยวไปได้ทุกที่ที่ต้องการผ่านโลกเสมือนจริง และที่ขาดไม่ได้ก็คงเป็นหุ่นยนต์ที่คอยรับใช้มนุษย์นั่นเอง หุ่นยนต์ที่พบเห็นในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นหุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม หุ่นยนต์บริการ และหุ่นยนต์ใช้งานอื่นๆ เช่น การทหาร การแพทย์ อวกาศ และสันทนาการ การพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ ช่วยให้หุ่นยนต์บริการได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสามารถช่วยทำงานสร้างความสะดวกสบายให้มนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ดูดฝุ่นทำความสะอาดและจัดของภายในบ้าน หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น

หุ่นยนต์ มาจากคำว่า โรบอท (Robot หรือ Robota) ในภาษาเช็ก (Czech) ซึ่งแปลว่า ทาส หุ่นยนต์ที่ใช้งานได้จริ งในงานอุตสาหกรรม เมื่อเริ่มแรกเป็นเพียงแขนกลอัตโนมัติ (Automation) ชื่อ ยูนิเมท (Unimate) ถูกสร้างในปี ค.ศ. 1964 โดยวิศวกรของบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส ชื่อ จอร์จ ดีโว(George Develo) และ โจเซฟ เอ็นเกลเบอร์เกอร์ (Joseph Engelberger) แม้ว่าแขนกลหุ่นยนต์จะทำให้ผลิตสินค้าได้จำนวนมากแต่จะไม่เคลื่อนที่ การทำงานอยู่ในวงจำกัด และมีหน้าที่เฉพาะต่องานนั้นๆ ดังนั้นหุ่นยนต์ประเภทนี้จึงมุ่งเน้นพัฒนาที่ความเร็ว ความละเอียด และความเที่ยงตรงในการทำงาน

ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ระบบการผลิตแบบอัตโนมัติจะเปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัล เพื่อรองรับการผลิตที่มุ่งสนองตอบความต้องการของแต่ละบุคคล มากกว่าการผลิตซ้ำจำนวนมาก จากแขนกลอัตโนมัติในยุค 60s ได้มีการพัฒนาไปสู่นวัตกรรมหุ่ นยนต์ที่มีขนาดเล็กลง มีความคิดตัดสินใจเองได้ และมีศักยภาพที่ จะทำงานเฉพาะทางมากขึ้น เช่น นำสิ่งของรูปทรงต่างๆ ทั้งขนาดเล็กและใหญ่จัดวางลงกล่อง เคลื่อนย้ายสินค้าเพื่อรอจัดส่งติดฉลากผลิตภัณฑ์  และงานควบคุมคุณภาพ เป็นต้น หุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบเดิมจะตั้งโปรแกรมให้ทำงานในพื้นที่ที่ กำหนดและแยกจากมนุษย์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็ บของบุคลากรที่อยู่ใกล้ ปัจจุบันมีหุ่นยนต์ที่เรียกว่า โคบอทส์ (Cobots) ย่อมาจากคำว่า “Collaborative Robots” ถูกสร้างในลักษณะ "Plug and Produce" สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ ในพื้นที่เดียวกันได้อย่างปลอดภัย ไม่ต้องมีรั้วกั้น

หัวใจสำคัญของการสร้างโคบอทส์ คือต้องมีปฏิสัมพันธ์ทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ ดังนั้นโคบอทส์จึงถูกออกแบบให้ มีน้ำหนักเบา ใช้งานง่าย สามารถทำงานเสี่ยงอันตราย หรืองานที่มนุษย์ไม่เต็มใจทำได้ อย่างมีประสิทธิภาพ มีการติดตั้งระบบเซนเซอร์ที่ช่วยให้เคลื่อนไหวได้คล่องตัวทุกทิศทาง รวมทั้งมีเทคโนโลยีตรวจการสัมผัสเพื่อความปลอดภัยจากการกระทบกระทั่งกับมนุษย์ ในขณะทำงาน โคบอทส์ ที่นำมาใช้บ้างแล้ว เช่น Omron Lynx ของบริษัท Omron มีฟังก์ชันปรับเปลี่ยนเส้นทาง ช่วยให้เคลื่อนที่ได้รอบคนงาน เดินได้ทั้งในอาคารที่แคบและพื้นที่ปฏิบัติงานที่พลุกพล่าน UR10 เป็นโคบอทส์ของบริษัทยูนิเวอร์ แซล โรบอทส์ สามารถตั้งโปรแกรมได้ง่าย ถูกใช้ในโรงงานของนิสสัน มอเตอร์ ในเมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น YuMi ย่อมาจากคำว่า “ You and Me ”  เป็นโคบอทส์ ของบริษัท เอบีบี (ABB) สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์แบบมือต่อมือในงานชิ้นเดียวกันที่ต้องการความแม่นยำสูง และยังสามารถจัดการกับของที่มี ความละเอียดและมีขนาดเล็กได้ทุกอย่าง ตั้งแต่กลไกของนาฬิกาข้อมือไปจนถึงชิ้นส่วนภายในโทรศัพท์ มือถือ แม้กระทั่งการสนเข็ม

ในการทำงานร่วมกันโคบอทส์ จะไม่เข้ามาแทนที่มนุษย์ แต่จะช่วยทำหน้าที่ในภาคปฏิบัติ เช่น งานที่ทำซ้ำบนสายการผลิต การยกของที่หนัก และงานที่เป็นอุปสรรคทางหลักสรีรศาสตร์ ในปี 2556  โรงงานของ BMW ในสปาร์ตันเบิร์ก สหรัฐอเมริกา เป็นโรงงานผลิตแห่งแรกที่เริ่มนำหุ่นยนต์โคบอทส์มาทำงานควบคู่กับมนุษย์ ในสายการประกอบประตูรถยนต์ จากการศึกษาของสถาบัน MIT พบว่าการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และ โคบอทส์ มีประสิทธิภาพมากกว่าทีมที่มี แรงงานมนุษย์หรือหุ่นยนต์เพียงอย่างเดียว สามารถลดเวลาสูญเปล่า ของคนงานได้มากถึง 85%  ทาง BMWได้เพิ่มการใช้โคบอทส์ในงานอื่น เช่น การใส่อุปกรณ์ในจุดที่เข้าถึงยากของตัวถังรถ ในอนาคตโคบอทส์จะถูกทยอยนำมาทดแทนหุ่นยนต์อัตโนมั ติรุ่นเก่าไม่เพียงแต่ ในงานประกอบรถยนต์เท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปใช้ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ อาหาร รวมไปถึงสินค้าการเกษตรได้เช่นกัน

โคบอทส์ อาจมาแย่งงานของมนุษย์ในบางส่วน แต่ในอีกมุมหนึ่ง ก็ช่วยให้มนุษย์สามารถเลือกงานที่ทำ หรือทำงานได้สบายขึ้น นอกจากนั้น ด้วยการใช้โคบอทส์ มาช่วยทำงาน พนักงานจะมีเวลาไปเรียนรู้ หรือทำงานอย่างอื่นที่ ตนเองสนใจได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม โคบอทส์ ยังมีข้อจำกัดบางประการ ทำให้ยังไม่พร้อมที่ จะขยายการทำงานออกจากสายการผลิตไปสู่การทำงานตามสำนักงาน เนื่องจากโคบอทส์ ยังขาดทักษะการทำงานเป็นที มและความสามารถในการนำทีมให้ ทำงานต่างๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ สิ่งนี้เป็นทักษะที่เรียกว่า People Skill ซึ่งโคบอทส์ไม่มี นอกจากนั้นโคบอทส์ยังไม่ สามารถสร้างสัมพันธภาพ เครือข่ายเพื่อนฝูง เพื่อการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมแบบมนุษย์ได้

โดย : 

ดร. ณัฐวุฒิ  พงศ์สิริ

[email protected]

หน้า 26-27 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,392 วันที่ 16 - 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561 e-book-1-503x62