จีดีพีไตรมาส2แผ่ว! แบงก์มองยังเกิน4%

18 ส.ค. 2561 | 08:02 น.
 นักเศรษฐศาสตร์ชี้"ส่งออก ท่องเที่ยว ลงทุนเอกชน" หนุนจีดีพีไตรมาส 2 ขยายตัวแผ่วลงจากไตรมาสแรก แต่ยังโตกว่า 4% จับตาช่วงที่เหลือของปี ภาคส่งออกไทยชะลอตัว แนะเร่งเบิกจ่ายลงทุนภาครัฐ

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)หรือสภาพัฒน์จะแถลงตัวเลขอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย(จีดีพี) ไตรมาส 2 ในวันที่ 20 สิงหาคมนี้ หลังจากประกาศตัวเลขไตรมาสแรกขยายตัวเร่งขึ้น 4.8% จากไตรมาส 4 ปี 2560 ที่ขยายตัว 4.0% “ฐานเศรษฐกิจ”ได้สอบ ถามนักเศรษฐ ศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญ ส่วนใหญ่มองว่า จีดีพีไตรมาส 2 จะเติบโตแผ่วลง แต่ก็มีโอกาสเห็นตัวเลขขยายตัว 4-4.5% ซึ่งมากกว่าช่วงเดียวกันของปี 2560 และปี 2559 ที่อยู่ที่ 3.7% และ 3.9%

นายจิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยกับ“ฐานเศรษฐกิจ”ว่า กรุงไทยมองจีดีพีปีนี้จะเติบโตได้ 4.5% บนสมมติฐานการส่งออกขยายตัว 8.5% บริโภคภาคเอกชน 3.5-3.6% และการลงทุนจะกลับมาเป็นพระเอกในปีนี้ ส่วนไตรมาส2 มีโอกาสเติบโตได้ที่ 4.4% โดยมาจากการส่งออกขยายตัว 4.0% และการนำเข้าที่ 5.0%

อย่างไรก็ตาม หากดูสัญญาณจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จีดีพีของไทยเติบโตเต็มศักยภาพแล้วที่ 4%แต่ภาครัฐต้องส่งสัญญาณให้ชัดเจนว่า จีดีพียังสามารถเติบโตได้อีกในอนาคตเป็น 5% โดยต้องทำใน 2 เรื่องคือ 1.เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยดึงให้บริษัทต่างประเทศเข้ามาลงทุน 2. ฟื้นการบริโภคภาคเอกชนด้วยการดูแลผู้มีรายได้น้อยเศรษฐกิจฐานรากและเอสเอ็มอีตามโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ

[caption id="attachment_305789" align="aligncenter" width="263"] นริศ สถาผลเดชา นริศ สถาผลเดชา[/caption]

นายนริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบีกล่าวว่า จีดีพีไตรมาส2 ยังสดใสมีโอกาสขยายตัวได้ 4.6% ด้วยปัจจัยหนุนจากการส่งออก การท่องเที่ยว การลงทุนภาคเอกชนเติบโตเฉียด 4%และการบริโภคเอกชน ทั้งปีทีเอ็มบีมองจีดีพีขยายตัวได้ 4.5% ซึ่งเอื้อต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของไทยและมีโอกาสอัพไซด์ได้ ด้วยการผลักดันจากการท่องเที่ยว การลงทุนภาคเอกชน และการเร่งเบิกจ่ายงบลงทุน โครงการภาครัฐ แม้ที่ผ่านมาอาจล่าช้า

อย่างไรก็ตาม ปลายปีนี้มีโอกาสเห็นตัวเลขภาคการส่งออกแผ่วลงทั้งจากปัจจัยกดดันสงครามการค้าบวกฐานราคานํ้ามันปรับตัว แต่แนวโน้มความสามารถในการกำหนดราคาของภาคเกษตรยังเหนื่อย แม้ว่ารายได้เกษตรกรในกลุ่มข้าวราคาดีขึ้นเล็กน้อย แต่ราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญๆ ที่เหลือยังลำบาก

นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทยกล่าวว่า ไตรมาส 2 ปีนี้คาดว่า จีดีพีจะขยายตัว 4.0% ต่อเนื่องจากไตรมาสแรก แต่เริ่มแผ่วลง โดยมีจุดที่ต้องเฝ้าระวังคือ 1.การบริโภคที่ยังไม่กระจายตัวถึงระดับกลางและล่าง สังเกตจากรายได้ภาคเกษตร แม้ขยายตัวในไตรมาสแรก แต่เป็นเพียงช่วงเริ่มต้น ขณะที่ครัวเรือนยังมีภาระหนี้ค่อนข้างสูง 2.รายได้นอกภาคเกษตรที่ไม่กระจายตัว โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

ด้านนายทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ประจำประเทศไทย ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด(ไทย) หรือ SCBTกล่าวว่า ภาพรวมจีดีพีไตรมาส 2 จะออกมาดีโดยเฉพาะตัวเลขการลงทุนภาคเอกชนที่พูดถึงมากขึ้น ซึ่งเป็นผู้ผลิตในภาคส่งออกจากก่อนหน้ามีเพียงภาคส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นพระเอก เพียงแต่ในแง่อัตราการเติบโตอาจจะไม่เร่งตัวมากเหมือนไตรมาสแรกที่ผ่านมา โดยธนาคารคาดว่าทั้งปีจีดีพีจะเติบโต 4.3% ซึ่งค่อนข้างแข็งแกร่งมาก

“ช่วงที่เหลือปีนี้ ถ้าไม่สามารถแก้ไขทั้งการท่องเที่ยวและราคาสินค้าเกษตร อาจทำให้การขยายตัวของจีดีพีไทยถูกกระทบใน 6 เดือนหลัง เพราะนักท่องเที่ยวจีนคิดเป็น 1 ใน 5 ของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในไทย ส่วนปัญหารายได้เกษตรและราคาสินค้า เป็นจุดให้คนมีรายได้น้อยก่อนหน้าขณะที่เศรษฐกิจของไทยสัดส่วน 80% มีการเติบโตแข็งแรง แต่ปัจจัยเสี่ยงอีก 20% ฉุดเศรษฐกิจไม่เติบโตเต็มศักยภาพ”

หน้า 23-24 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,392 วันที่ 16 - 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561

e-book-1-503x62