ทบทวนวงเงินคุ้มครอง สคฝ.หาอัตราเหมาะกับไทย

13 ส.ค. 2561 | 10:40 น.
 ปีนี้ครบรอบ 10 ปีพอดี สำหรับสถาบันคุ้มครองเงินฝาก(สคฝ.) ผลพวงจากวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ซึ่งตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2561 -11 สิงหาคม 2562 วงเงินคุ้มครองจะลดจากเดิมอยู่ที่ 15 ล้านบาทต่อราย เหลือคุ้มครองอยู่ที่ 10 ล้านบาทต่อรายรวมทุกสถาบันการเงิน ก่อนที่จะลดเหลือไม่เกิน 1 ล้านบาท ตั้งแต่ วันที่ 11 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป

[caption id="attachment_304985" align="aligncenter" width="503"] สถาบันคุ้มครองเงินฝาก สาทร โตโพธิ์ไทย[/caption]

“สาทร โตโพธิ์ไทย”ผู้อำนวยการ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.)เปิดเผยกับ“ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นความเคลื่อน ไหวโยกย้ายเงินที่ผิดปกติของประชาชนมากนัก จะมีบ้างก็ในสถาบันการเงินขนาดกลางและขนาดเล็ก อย่างบริษัทเงินทุน(บง.) และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์(บค.) ซึ่งปัจจุบันมีเงินฝากรวมกัน 1.5 หมื่นล้านบาท แต่ก็ไม่ได้เคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งการเคลื่อนไหวของเงินอาจจะเป็นทั้งการกระจายเงินฝากหรือนำไปลงทุน แต่ตัวเลขไม่ได้เยอะมาก
ขณะเดียวกัน สถาบันการเงินปัจจุบันค่อนข้างเข้มแข็ง มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) ประมาณ 18% สะท้อนจากประชาชนมีความเชื่อมั่นค่อนข้างสูงและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)กำกับเข้มงวดโดยปัจจุบันสคฝ. มีสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก 35 แห่ง โดยเป็นธนาคารพาณิชย์และธนาคารต่างชาติที่มีสาขาในไทยรวม 30 แห่ง บง. 2 แห่ง และบค.3 แห่ง

090861-1927

ขณะที่แนวโน้มเงินฝากในระบบยังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยไตรมาส 4 ปี 2560 จนถึงปัจจุบันมีเงินฝากเพิ่มขึ้น 1.8 แสนล้านบาท จากฐานลูกค้าเงินฝากรวม 75 ล้านราย และตัวเลขมูลค่าเงินฝากทั้งระบบ ณ ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 อยู่ที่ 12.7 ล้านล้านบาท โดยเป็นเงินฝากทั่วไป ทั้งออมทรัพย์และเงินฝากประจำ ดังนั้น หากสคฝ.ลดวงเงินคุ้มครองลงเหลือ 10 ล้านบาท ก็ยังสามารถคุ้มครองเงินฝากได้กว่า 99.83%

อย่างไรก็ตาม สคฝ.อยู่ระหว่างศึกษาร่วมกับกระทรวงการคลังภายใต้พระราชกฤษฎีกา กำหนดจำนวนวงเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองเป็นการทั่วไป ปี 2559 ว่า หากจะเพิ่มวงเงินคุ้มครองจาก 1 ล้านบาทในปี 2563 จะเหมาะสมกับประเทศ ไทยหรือไม่ เพราะยังมีบางประเทศที่มีวงเงินสูงกว่าไทย อย่าง สหรัฐอเมริกา 8.3 ล้านบาท อินโดนีเซีย 4.6 ล้านบาท ไต้หวัน 3.3 ล้านบาท ญี่ปุ่น 3 ล้านบาท แคนาดา 2.5 ล้านบาท เกาหลีใต้ 1.5 ล้านบาท และสิงคโปร์ 1.2 ล้านบาท มีเพียงเวียดนามตํ่าที่สุดอยู่ที่ระดับ 1 แสนบาท
“ขณะนี้อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลแม้ว่า วงเงินคุ้มครองของไทยยังอยู่ในระดับสูง โดยวงเงินคุ้มครอง 1 ล้านบาทนั้น ครอบคลุมถึง 98.1% มีแค่กว่า 1% เท่านั้นที่มีเงินฝากสูงกว่าระดับคุ้มครอง ซึ่งการศึกษาจะอยู่ภายใต้สมมติฐานอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อจำนวนประชากรและปัจจัยอื่นๆประกอบการพิจารณา”

ส่วนแนวโน้มเงินฝาก ประเมินว่า ตัวเลขน่าจะเติบโตเรื่อยๆ แม้อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับตํ่า แต่ต้องยอมรับว่า เงินฝากก็มีความเสี่ยงตํ่าเช่นกันเมื่อเทียบกับการลงทุนอื่น และแม้ว่าจะมีเงินฝากจำนวนหนึ่งโยกไปลงทุน แต่เชื่อว่า เงินฝากจะยังโตอยู่ แต่จะโตมากหรือโตน้อยขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมด้วย

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

ปัจจุบันสคฝ.มีเงินกองทุนอยู่ที่ 1.2 แสนล้านบาท ส่วนนโยบายลงทุน จะเน้นที่มีความเสี่ยงตํ่า ส่วนใหญ่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธปท.และฝากเงินกับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) คาดว่ากรอบอัตราผลตอบแทน (Yield) ปีนี้น่าจะอยู่ที่ 2.45-2.48% ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อนผลตอบแทนใกล้เคียงเกือบ 3% เป็นผลมาจากตลาดค่อนข้างมีความผันผวน

อย่างไรก็ตาม สคฝ.จะมีการปรับพอร์ตการลงทุนตลอดเวลาตามเงินที่ครบกำหนด ซึ่งปีนี้จะครบกำหนดวงเงินประมาณ 1 หมื่นล้านบาท กำลังดูภาวะตลาดว่าจะปรับพอร์ตการลงทุนไปลงทุนอะไร เช่น พันธบัตร หรือสถาบัน ไหนกำลังระดมทุนโดยจะมีการปรับพอร์ตทั้งระยะสั้น กลาง และยาว โดยเฉลี่ยลงทุนระยะสั้นจะอยู่ที่ 3 ปี ระยะกลางอยู่ที่ 3-5 ปี และระยะยาวตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

หน้า 23-24 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,391 วันที่ 12 - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561

e-book-1-503x62