หลังกล้องไซบีเรีย | "อิสระที่ไม่เสรี" ... ในแดนออนไลน์รัสเซีย

09 ส.ค. 2561 | 06:03 น.
090861-1243

รัสเซีย คือ ประเทศที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก แต่ขอบเขตของโลกอินเทอร์เน็ตล่ะ ... กว้างใหญ่แค่ไหน?

ก่อนหน้านี้ "หลังกล้องไซบีเรีย" ได้เล่าถึงเรื่องของแอพพลิเคชันสื่อสารออนไลน์ต่าง ๆ ที่โดนแบนในรัสเซียไปแล้ว (หลังกล้องไซบีเรีย | "LINE" บนบัญชีดำรัสเซีย) สัปดาห์นี้จึงขอมาขยายความต่อในภาพกว้างว่าด้วยเรื่อง "เสรีภาพ" และ "การเซ็นเซอร์" ต่าง ๆ บนเครือข่ายออนไลน์ของประเทศมหาอำนาจแห่งนี้กันบ้าง

แม้ว่าจะมีลายลักษณ์อักษรให้เห็นเด่นชัดในรัฐธรรมนูญว่า รัสเซียสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออก (Freedom of Speech) ทว่านับแต่ปี 2014 เป็นต้นมา สถานการณ์ภายในกลับดูสวนทางไปเรื่อย ๆ กับข้อความบนหน้ากระดาษ

 

[caption id="attachment_304539" align="aligncenter" width="503"] ©LoboStudioHamburg ©LoboStudioHamburg[/caption]

ความมั่นคง การเมือง และความนิยม ที่เลยจุดเฟื่องฟูของรัฐบาล นำมาสู่การควบคุมสื่อออนไลน์อย่างเข้มข้นขึ้น แม้ว่าการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตในรัสเซียจะเป็นเรื่องง่าย ราคาถูก และความเร็วการเชื่อมต่อก็สูงเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน "ที่นี่" เพียงแค่ 160 บาท คุณก็สามารถใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงบนมือถือได้หลายกิกะไบต์ (GB) ต่อเดือน พร้อมโปรโมชั่นโทรศัพท์ฟรีหลายร้อยนาที และส่งข้อความทาง SMS ได้ฟรีอีกจำนวนมาก

รัสเซียได้ 66 คะแนน ในการประเมินสิทธิและเสรีภาพในการเข้าถึงโลกอินเตอร์เน็ตประจำปี 2017 จากการสำรวรของ Freedom House องค์กรอิสระที่สนับสนุนเสรีภาพและประชาธิปไตย โดยที่ถ้าได้ 100 คะแนนเต็ม หมายถึงว่า ประเทศดังกล่าว ไม่มีเสรีภาพในการใช้สื่อออนไลน์เลย

แน่นอนว่า การควบคุมอาจจะไม่ได้เข้มงวดเหมือนกับประเทศมหาอำนาจเพื่อนบ้านอย่างจีน แต่เครมลินก็มีหน่วยงานที่คอยสอดส่องเนื้อหาและความคิดเห็นตามกระแสออนไลน์อยู่เสมอ ด้วยเหตุผลทาง "ความมั่นคง"


 

[caption id="attachment_304541" align="aligncenter" width="503"] ประธานาธิบดี "วลาดิเมียร์ ปูติน" ประธานาธิบดี "วลาดิเมียร์ ปูติน"[/caption]

เดือน ก.ค. ปีที่แล้ว นายปูตินเพิ่งจะลงนามประกาศใช้กฏหมายใหม่ ให้ผู้ใช้งานตามเว็บไซต์และแอพพลิเคชันต่าง ๆ ต้องใช้เบอร์โทรศัพท์ลงทะเบียนก่อนใช้งาน ผูกข้อมูลบนโลกเสมือนเข้ากับตัวตนบนโลกแห่งความจริง และมีคำสั่งให้บล็อก "เครือข่ายส่วนตัวเสมือน" หรือ VPN ปิดทางไม่ให้ผู้ใช้งานเข้าถึงบริการต่าง ๆ โดยไม่ระบุตัวตน

นอกจากนี้ หน่วยงานของรัฐยังคอยเฝ้าเช็กคอมเมนต์ เซ็นเซอร์ "ประเด็นสุดโต่ง" ต่าง ๆ บนสื่อออนไลน์ ผู้ที่นำเสนอเนื้อหาดังกล่าวอาจจบที่การโดนปรับหรือการลงโทษ โดยมีนักข่าวและนักเคลื่อนไหวเป็นลูกค้าประจำ

 

[caption id="attachment_304543" align="aligncenter" width="503"] ©Pixelkult ©Pixelkult[/caption]

น่าสนใจที่คำว่า "ประเด็นสุดโต่ง" ในความหมายของเครมลิน มีทั้งประเด็นความขัดแย้งกับยูเครน การเคลื่อนไหวของพรรคฝ่านค้าน และเรื่องของ LGBT อยู่ในลิสต์ด้วย ซึ่งเคยมีข่าวว่า บุคคลที่แสดงความเห็นเรื่องนี้ ต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงินสูงถึง 50,000-100,000 รูเบิล (ราว 26,000-53,000 บาท)

นี่คือ ภาพรวมทางด้านเสรีภาพบนพื้นที่ออนไลน์ของประชาชนชาวรัสเซียที่ "หลังกล้องไซบีเรีย" เก็บมาเล่าสู่กันฟัง

ทั้งนี้ทั้งนั้น ในรายงานฉบับเดียวกันจาก Freedom House ไทยเราก็ไม่ได้น้อยหน้าไปกว่าพี่ใหญ่รัสเซีย ได้คะแนนความไม่เสรีไปถึง 67 คะแนน และดูเหมือนว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มอีกด้วยเช่นกัน


……………….
คอลัมน์ : หลังกล้องไซบีเรีย โดย ยลรดี ธุววงศ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
● หลังกล้องไซบีเรีย | ชะตา "12 สเตเดียม" หลังบอลโลก
● หลังกล้องไซบีเรีย | ทำไมชาวรัสเซียถึงตามติดข่าว 'ถ้ำหลวง'?


e-book-1-503x62