ดันไทย "Shopping Destination" ความพยายามของ 'เอกชน' ที่ไร้เงา 'รัฐ'

08 ส.ค. 2561 | 06:29 น.
080861-1252

… มูลค่าตลาดค้าปลีกกว่า 3.3 ล้านล้านบาท ถือเป็น 1 ในอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต แม้ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา การเติบโตจะอยู่ในภาวะทรงตัว จากการบริโภคในประเทศที่ชะลอ แต่การเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างชาติถือเป็นกำลังสำคัญที่ผลักดันให้ธุรกิจค้าปลีกมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่อง

เห็นได้จากตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติย้อนหลังกลับไปเมื่อ 5 ปีก่อน ที่มีจำนวนกว่า 26 ล้านคน และเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 35 ล้านคน ในปี 2560 แน่นอนว่า ในปีนี้ก็จะสูงขึ้น จึงไม่แปลกอะไรหากผู้ประกอบการค้าปลีกจะหันมาแย่งชิงกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติกระเป๋าหนักเหล่านี้


ลูกค้าเข้าคิวเพื่อซื้อขนมที่ร้าน ZAKUZAKU ชั้น

ย้อนกลับมาดูการลงทุนในกลุ่มค้าปลีกในปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า มีการขยายตัวในทุกเซ็กเม้นท์ ไม่ว่าจะเป็น Hypermart/Superstore ที่เพิ่มขึ้น 37 แห่ง , Supermarket 47 แห่ง , Convenience Store 1,104 แห่ง , Department Store 4 แห่ง , Home Improvement & Construction 16 แห่ง , Consumer Electronic and Appliance 65 แห่ง และ Health & Beauty Store 211 แห่ง ขณะที่ ตั้งแต่ปี 2558-2560 ใช้เม็ดเงินลงทุนราว 1.3 แสนล้านบาท เฉลี่ยปีละประมาณ 4.3 หมื่นล้านบาท นับเป็นอัตราที่สูงมากและสูงกว่าการก่อสร้าง BTS ที่ใช้งบลงทุน 1.2 แสนล้านบาท หรือการประมูลคลื่น 4G 900MHz ที่ใช้เงิน 7.6 หมื่นล้านบาท การลงทุนนี้ยังทำให้เกิดการจ้างงานโดยตรงกว่า 2.1 แสนคนต่อปี และทางอ้อมอีกกว่า 1.5 แสนคน

แม้การลงทุนดังกล่าวจะกระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองท่องเที่ยวก็ยังเป็นจุดปักหมุดหลักที่ผู้ประกอบการลงทุนด้วย เพราะกำลังซื้อสูงและการพัฒนาเมืองที่เติบโตต่อเนื่อง ขณะที่ การเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่ใช่จะส่งผลเชิงบวกต่อค้าปลีกในห้างสรรพสินค้า หรือ ศูนย์การค้า เท่านั้น แต่ในค้าปลีกโมเดลอื่น ๆ ก็ได้อานิสงส์เช่นกัน เช่น บิ๊กซีราชดำริ ที่กลายเป็นแหล่งช็อปปิ้งของฝากที่นักท่องเที่ยวชาวจีนต้องไปแวะ จนเป็นอีกหนึ่งเดสติเนชั่นของย่านราชประสงค์


OnitsukaTiger ชั้น G สยามเซ็นเตอร์

จึงเป็นการบ้านที่ผู้ประกอบการค้าปลีกต้องวางยุทธศาสตร์ในการเจาะเข้าถึง และดึงให้บรรดานักช็อปต่างชาติเข้ามา ใช้กลยุทธ์การจับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติก็มีหลากหลาย ทั้งการออกไปทำตลาดในต่างประเทศ มุ่งเข้าไปสร้างการรับรู้ ไม่ว่าจะเป็น จีน เอเชีย ยุโรป รวมถึงตะวันออกกลาง โดยเครื่องมือหลักจะเป็นเรื่องของ 'ออนไลน์' เพราะสามารถเจาะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน ที่จะเน้นทำการบ้านเลือกสรรส่องทุกอย่างเมื่อต้องการมาท่องเที่ยวเมืองไทย ว่า จะพักโรงแรมอะไร เที่ยวที่ใด กินร้านไหน ช็อปปิ้งอะไร ที่ห้างใด ดังนั้น หัวใจของนักช็อปหลาย ๆ ประเทศ คือ ออนไลน์ ที่ใครจะชิงสร้างการเข้าถึงและความโดดเด่นได้มากกว่ากัน

ขณะที่ ในเมืองไทยก็เน้นสร้างแบรนด์ตั้งแต่บนเครื่องบิน ก่อนชิงโฆษณาประชาสัมพันธ์ ตั้งแต่ก้าวแรกที่เดินออกจากตัวเครื่องบิน เป้าหมาย คือ สร้างความคุ้นเคย แน่นอนว่า คู่แข่งล้นหลามไม่ใช่เฉพาะห้างเท่านั้น แต่หลาย ๆ สินค้าที่มุ่งจับกลุ่มชาวต่างชาติ

 

[caption id="attachment_304296" align="aligncenter" width="503"] GENTING HIGHLANDS PREMIUM OUTLETS (MALAYSIA) GENTING HIGHLANDS PREMIUM OUTLETS (MALAYSIA)[/caption]

[caption id="attachment_304295" align="aligncenter" width="503"] SIHEUNG PREMIUM OUTLETS (KOREA) SIHEUNG PREMIUM OUTLETS (KOREA)[/caption]

กลยุทธ์ที่ห้างใช้มากสุด คือ การทำตลาดโดยอาศัยเครือข่ายของ Alliance ในการทำโปรโมชั่นเจาะเข้าถึง ส่วนที่ตามมา คือ เรื่องของโปรโมชั่น Gift Card สิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่ให้เฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติเท่านั้น ยังไม่นับรวมเซอร์วิสต่าง ๆ ทั้งบริการรับ-ส่ง พนักงานต้อนรับเฉพาะ จุดลงทะเบียนเฉพาะ บริการขนส่งกระเป๋าเดินทางไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ บางศูนย์มีห้องพักเฉพาะสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเลยทีเดียว เรียกได้ว่า จัดเต็มทุกกลยุทธ์


CSC06360-01

ถือเป็นความพยายามของ 'เอกชน' ในการผลักดันให้ไทยเป็น "Shopping Destination"

ขณะเดียวกัน ก็ลุ้นนโยบาย 'ภาครัฐ' ที่จะมาสนับสนุน โดยเฉพาะการผลักดันให้เกิด Duty Free City เพื่อให้ไทยเป็นสวรรค์ของนักช็อปปิ้งอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการเปิดเสรีร้านค้าปลอดภาษี โครงการ Downtown VAT Refund For Tourist ที่จะอำนวยความสะดวกให้กับนักช็อปต่างชาติ ในการขอคืนเงินภาษี

แต่ดูเหมือนวันนี้ "ทุนค้าปลีก" เลือกที่จะไม่รอ 'ภาครัฐ' (หลังถูกเตะถ่วงมานานนับ 10 ปี) เดินหน้าหาหนทางที่จะดันไทยเป็น Shopping Destination กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติเอง ด้วยการนำเสนอโมเดลใหม่ อย่าง "พรีเมียม เอาท์เล็ต" (Premium Outlet) ด้วยการนำสินค้าแบรนด์เนมระดับโลกมาขายให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงนักช็อปไทยที่ชอบบินไปช็อปปิ้งแบรนด์เนมในต่างประเทศ จนทำสถิติติดอันดับโลกมาแล้ว เพราะโมเดลพรีเมียมเอาท์เล็ต ถือเป็นแหล่งช็อปปิ้งที่นักท่องเที่ยวต่างชาติต้องไปและหลายประเทศ ก็สร้างยอดขายจากพรีเมียมเอาท์เล็ตได้มากโข ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส รวมถึงสหรัฐอเมริกา

จึงไม่แปลกอะไรที่ในปี 2562 จะมีพรีเมียมเอาท์เล็ตใหญ่ถึง 2 แห่ง จาก 2 ค่ายค้าปลีกยักษ์ใหญ่ อย่าง กลุ่มเซ็นทรัล ในชื่อ "เซ็นทรัล วิลเลจ" และกลุ่มสยามพิวรรธน์ ที่จับมือกับ ไซม่อน พร็อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป ยักษ์เอาท์เล็ตระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา มาปักหมุดเปิดให้บริการในย่านกรุงเทพฯตะวันออก เคียงข้างสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อดักนักช็อปเทศก่อนบินกลับบ้าน ...


AW Thai in Time_shopping AUG

มาตรการดึงนักช็อปต่างชาติ ก็ไม่เกิด

มาตรการสกัดนักช็อปไทยออกนอก ก็ไม่มี

แล้ว 'รัฐ' ทำอะไรอยู่?


……………….
รายงานพิเศษ โดย โต๊ะข่าวการตลาด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
'เดอะ มอลล์' ผนึก 'ไทยพาณิชย์' เปิดตัว "SCB M" ผนวกช้อปปิ้งแบบไร้รอยต่อ
"INFINITE 8" ช้อปสนุกไม่มีที่สิ้นสุด กับ JD CENTRAL


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว