ข้าพระบาท ทาสประชาชน : ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ

08 ส.ค. 2561 | 06:50 น.

696+989+9998 เมื่อพูดถึงความเป็นประชาธิปไตย หลายท่านมักจะคิดถึงระบอบการเมือง การปกครอง ที่ประเทศต้องมีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นแม่บท และเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศบังคับใช้ โดยที่ขาดไม่ได้คือต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง อันเป็นรูปแบบทางการเมืองที่ประชาชนคุ้นเคย ส่วนใหญ่ก็คิดถึงเพียงประเด็นความเป็นประชาธิปไตยทางการเมือง และสิทธิ เสรีภาพ การแสดงความคิดเห็นของประชาชนเท่านั้น จนบางครั้งหลายท่านมักจะลืมมองถึงความเป็นประชาธิปไตยในด้านอื่นๆ ทั้งๆ ที่มีความสำคัญไม่น้อย ซึ่งหากด้านอื่นๆ เหล่านั้นขาดไป ความเป็นประชาธิปไตยย่อมมีความไม่สมบูรณ์

ในสังคมโลกที่มีการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย จะมีระบบเศรษฐกิจเสรีทุนนิยมเป็นพื้นฐาน อันเป็นหลักการของระบอบการปกครองควบคู่กันไป เพราะระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ จะต้องครอบคลุมทั้งมิติทางการเมืองและทางเศรษฐกิจด้วย เนื่องด้วยสิทธิเสรีภาพทางการเมืองและทางเศรษฐกิจของบุคคล ต้องได้รับการรับรองและคุ้มครองจากรัฐโดยเท่าเทียมกันในทุกๆ ด้าน
democret ในทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่หนักหน่วงและรุนแรงอย่างยิ่ง สภาพคนส่วนน้อยนิดรวยกระจุก แต่คนส่วนใหญ่จนกระจาย ได้ปกคลุมสังคมไทยมาต่อเนื่องยาวนาน และนับวันช่องว่างระหว่างคนรวยหยิบมือเดียวกับคนจนคนส่วนใหญ่ของประเทศมีแต่จะห่างออกไป ยังมองไม่เห็นอนาคตว่าจะมีรัฐบาลใดสามารถหยุดยั้งและแก้ไขได้

ซึ่งเป็นที่ทราบโดยทั่วไปจากการประกาศอันดับ 50 มหาเศรษฐีของไทยของนิตรยสารฟอร์ปในปี 2560 เป็นการตอกย้ำปัญหานี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะมหาเศรษฐีไทย 50 คนแรก มีทรัพย์สินถึง 30% ของจีดีพี คนรวย 10% นอกจากมีรายได้เป็น 35 เท่าของคนจน10% แล้ว ยังมีสินทรัพย์ถึง 79% ของประเทศ และสถาบันการเงินเครดินสวิส ยังออกรายงานความมั่งคั่งของโลก (Global Wealth Report 2016) เมื่อปีที่แล้ว ระบุว่าไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำเป็นอันดับ 3  ของโลก รองจากรัสเซีย กับอินเดียอีกด้วย ซึ่งปัญหานี้ สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ก็ยอมรับถึงความรุนแรงของปัญหานี้ โดยระบุว่าคนรวย 0.1%หรือ 65,000 คน จากประชากรทั้งหมด 65 ล้านคน มีเงินฝากเท่ากับ49% ของเงินฝากทั้งระบบ 56262656 ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศเช่นนี้ ย่อมสะท้อนภาพความเป็นประชาธิปไตยในทางเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนเป็นอย่างดี คำว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย" ก็ดี "ประเทศไทยเป็นของคนไทยทุกคน" ก็ดี หรือ"ทรัพยากรของชาติเป็นของทุกคน" ก็ดี ล้วนเป็นเพียงบทที่บัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ เท่านั้น ในความเป็นจริงประชาชนส่วนใหญ่ มีส่วนในทรัพย์สินเพียงน้อยนิดหรือบางคนแทบไม่มีเลย

นอกจากนี้ในการประกอบธุรกิจ ก็มีผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่เพียงไม่กี่ราย ไม่กี่ตระกูลที่ครอบครองตลาดและมีอำนาจในทางธุรกิจเหนือกว่าผู้ประกอบการรายอื่นๆ หลายกิจการมีการใช้อำนาจผูกขาด กีดกันผู้ประกอบการายอื่นๆ ที่จะเข้ามาโดยไม่เป็นธรรม สภาพเช่นนี้ ก็เปรียบเสมือนความเป็นเผด็จการทางเศรษฐกิจนั่นเอง
Prayuth-Chan-ocha-reu-L
เข้าสู่ยุคปฏิรูปประเทศโดย คสช. การที่ผู้นำประเทศประกาศการเดินหน้าปฏิรูปประเทศในทุกด้าน ประกาศแผนยุทธศาสตร์ชาติมารองรับ เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว

แต่ก็ควรต้องตระหนักถึงปัญหาความเป็นประชาธิไตยทางเศรษฐกิจด้วย แม้รัฐธรรมนูญของประเทศไทยหลายฉบับ นับตั้งแต่ปี 2540, 2550 และ 2560 จะได้ตระหนักถึงปัญหานี้เรื่อยมา จนถึงรัฐธรรมนูญปัจจุบันปี 2560 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 75 “รัฐพึงจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีโอกาสได้รับประโยชน์จากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกันอย่างทั่วถึง เป็นธรรมและยั่งยืน สามารถพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขจัดการผูกขาดทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม และพัฒนาความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศและประชาชน  

รัฐต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่เป็นกรณีที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ การรักษาประโยชน์ส่วนรวม การจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือการจัดทำบริการสาธารณะ

รัฐพึงส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบสหกรณ์ประเภทต่างๆ และกิจการวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลางของประชาชนและชุมชน

ในการพัฒนาประเทศ รัฐพึงคำนึงถึงความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนาด้านจิตใจและความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนประกอบกัน"
1_ExPJaeH--WitTlM5bdchOQ
ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าว เป็นหลักบัญญัติของความเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจของประเทศและประชาชน ที่รัฐธรรมนูญให้การคุ้มครองรับรองไว้ ซึ่งหากรัฐปฎิบัติได้จริงตามหลักการดังกล่าว ความเป็นประชาธิปไตยทางเศรษญกิจของไทยย่อมปรากฎเป็นจริง ความมั่นคงในทางการเมืองของระบอบประชาธิปไตยย่อมเกิดขึ้นได้ แต่โดยความเป็นจริงการปฎิบัติตามแนวนโยบายแห่งรัฐ ตามบทบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญดังกล่าว ยังมีปัญหาอยู่มาก โดยเฉพาะการที่รัฐหรือรัฐวิสาหกิจของรัฐประกอบกิจการแข่งขันกับเอกชนก็ดี หรือการที่ธุรกิจขนาดใหญ่มีอำนาจผูกขาด และทำลายธุรกิจสหกรณ์หรือชุมชน ทำลายธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลางและวิสาหกิจขนาดย่อม มีความรุนแรงจนธุรกิจเหล่านั้นแทบไม่มีที่ยืน

ระบบปลาใหญ่กินปลาเล็กรุนแรงยิ่ง เหล่านี้ คือภาพสะท้อนความเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจของประเทศ เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยไม่น้อยกว่าความไม่เป็นประชาธิปไตยในทางการเมือง หากเราคาดหวังที่จะเห็นประเทศเดินหน้า สังคมก้าวสู่การปฏิรูปประเทศเพื่อความเป็นประชาธิปไตย จำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศของเราต้องให้ความสำคัญกับการสร้างประชาธิปไตยในทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นและปรากฎเป็นจริง มิใช่เพียงแต่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่ออวดอ้างและบอกกับชาวโลกเท่านั้น

|คอลัมน์ : ข้าพระบาททาสประชาชน
| โดย : ประพันธุ์ คูณมี
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3390 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 9-11 ส.ค.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว