ตรวจงบโครงการพักหนี้เกษตรกร "จากทักษิณถึงประยุทธ์"

04 ส.ค. 2561 | 17:53 น.
6487 สินค้าเกษตรไทย ถือเป็นหนึ่งในเครื่องจักรการหารายได้เข้าประเทศ เเต่ความจริงเเล้วเกษตรกรไทยต้องกู้หนี้ยืมสินมาใช้ในการลงทุนประกอบอาชีพ บางคนต้องล้มละลายเพราะสินค้าเกษตรในช่วงนั้นๆราคาตกต่ำ

การเเก้ปัญหานี้กลายเป็นปัญหาหลักที่ทุกรัฐบาลต้องอาสามาเเก้ไข

การพักหนี้เกษตรกรเกิดขึ้นเมื่อสิบกว่าปีก่อน โดยเป็นหนึ่งในนโยบายหาเสียงของพรรตไทยรักไทยที่ทำให้พรรคน้องใหม่ที่เพิ่งลงสนามเลือกตั้งสามารถเป็นเเกนนำตั้งรัฐบาลเเละนำนโยบายนี้มาใช้

รัฐบาล”ทักษิณ ชินวัตร”ผลักดันเรื่องนี้เมื่อ13 มีนาคม 2544 ในการประชุมครม.วาระพิจารณาจร (เป็นเรื่องแรกๆที่เริ่มรัฐบาลดำเนินการหลังเข้ารับตำแหน่ง ตามนโยบายแก้ปัญหาความยากจน)

วันนั้นครม.เห็นชอบ “โครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย ผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นเวลา 3 ปี” (1 เมษายน 2544 ถึง 31 มีนาคม 2547) ตามที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเเเละรมว.คลังในขณะนั้นเสนอ
PNSOC610731001008201_31072018_091850 เงื่อนไข ต้องเป็นลูกค้ารายย่อยของ ธ.ก.ส. มีวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท

เกษตรกรขอเข้าร่วมโครงการกว่า 2.2 ล้านร้าย จากเกษตรกรที่มีคุณสมบัติ ทั้งหมด 2.3 ล้านราย ไม่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ 1.1 แสนราย

รัฐบาลในช่วงนั้นดำเนินการควบคู่กันคือ โครงการฟื้นฟูเกษตรกร จัดสรรงบนำไปจัดหาปัจจัยการผลิตให้เกษตรกรโดยเฉลี่ยหน่วยละ 10,000 บาท , การจัดหาตลาด ,ประกันราคาผลผลิตขั้นต่ำให้แก่เกษตรกร ,มอบรางวัลให้แก่จังหวัด อำเภอ และกลุ่มเกษตรกรที่ดำเนินการตามโครงการ ฯ และประสบ ความสำเร็จในแต่ละปี

7 เมษายน 2547 สรุปผลการดำเนินการโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยครบ 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2547 โดย ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณรัฐบาลได้จัดสรรเงินงบประมาณ จำนวน 18,000 ล้านบาท ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้เบิกจ่ายเงินงบทั้งสิ้น 15,541.81 ล้านบาท

ต่อมารัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ยังรับนโยบายนี้มาใช้หาเสียงเเละตอกย้ำความสำเร็จของโครงการนี้ไปอีกคำรบ

15 พฤษจิกายน 2554 ครม.เห็นชอบ เรื่องโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้คงค้างต่ำกว่า 500,000 บาท เป็นเวลา 3 ปี 1 ตุลาคม 2554 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 รวมวงเงินงบประมาณ 22,851.83 ล้านบาท (เป็นเรื่องแรกๆที่รัฐบาลดำเนินการหลังเข้ารับตำแหน่ง)

ขยายกลุ่มเกษตรกรจากเดิม เคยให้แค่ ธ.ก.ส. เป็นเป้าหมาย 2 กลุ่ม
1.ลูกค้าบุคคลธรรมดาของธ.ก.ส
2.ลูกค้าบุคคลธรรมดาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 5 แห่ง ธนาคารออมสิน ธนาคารSME ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.)

27 สิงหาคม 2556 ครม.มีมติอนุมัติโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้คงค้างต่ำกว่า 500,000 บาท 3 ปี 2556-2558 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,684.714 ล้านบาท (โครงการเฟส 2 )

เมื่อมีการยึดอำนาจครั้งล่าสุด รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ยกเครื่องการดูเเลกระดูกสันหลังของชาติดังนี้

31 มีนาคม 2558 (สะสางโครงการเดิมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ) ครม.อนุมัติโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรรายย่อยผ่านระบบธนาคาร ธ.ก.ส. 3 ปี (1 เมษายน 2558 - -31 มีนาคม 2559 งบประมาณโครงการ ธ.ก.ส.) รับผิดชอบงบประมาณและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

1. โครงการปลดเปลื้องหนี้ กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรรายย่อยที่ไม่มีศักยภาพหรือมีเหตุผิดปกติ เช่น เสียชีวิต ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง และมีปัญหาสุขภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ประมาณ 2.8 หมื่นราย หนี้สินประมาณ 4,000 ล้านบาท

2.โครงการปรับโครงสร้างหนี้ กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรรายย่อยที่มีศักยภาพต่ำที่ผ่านการประเมินศักยภาพแล้วปรากฏว่ายังมีความสามารถในการประกอบอาชีพแต่มีปัญหาในการชำระหนี้จากเหตุสุจริตจำเป็นและเป็นภาระหนัก ประมาณ 3.4 แสนราย หนี้สินประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาท

3. โครงการขยายเวลาชำระหนี้ กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรรายย่อยที่มีศักยภาพในการประกอบอาชีพ แต่ได้รับผลกระทบจากการงดทำนาปรัง และราคายางพาราตกต่ำ ประมาณ 4.5 แสนราย ราย หนี้สินประมาณ 6.4 หมื่นล้านบาท
ครม.บิ๊กตู่ยังมีมติเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2558 สะสางโครงการมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ต่อไป โดยอนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 201 ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้คงค้างต่ำกว่า 500,000 บาท ผ่านสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ปีที่ 3

เเละเมื่อ 31 กรกฎาคม 2561 ครม.เห็นชอบ “มาตรการลดภาระหนี้เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้เกษตรกรรายย่อย”(เปลี่ยนจากโครงการเป็นมาตรการ) วงเงินชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาล 1.6 หมื่นล้านบาท ช่วยเหลือเกษตรกร 3.81 ล้านราย โดยครม.เห็นชอบวงเงิน 2,700 ล้านบาทจากงบกลางฯปี 2561 เเละงบประมาณส่วนที่เหลือประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาทให้ขออนุมัติในงบประมาณปี 2562

มาตรการนี้ แบ่งเป็น 2 โครงการ 1. โครงการขยายเวลาชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. 3 ปี ระยะเวลาโครงการ 1 สิงหาคม 2561 - 31 กรกฎาคม 2564 เพื่อบรรเทาและลดภาระหนี้สินของเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. และส่งเสริมเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ฟื้นฟูการประกอบอาชีพ จำนวน 3.81 ล้านราย

กำหนดให้ชำระดอกเบี้ยเงินกู้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ลูกค้า ธ.ก.ส. ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเพิ่มศักยภาพการประกอบอาชีพ สินเชื่อเพื่อปรับโครงสร้างการผลิต หรือสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินและจัดหาปัจจัยการผลิตได้ รวมทั้ง ธ.ก.ส. จะส่งเสริมการออมเงินที่เหมาะสมให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ งบประมาณ : ธ.ก.ส. รับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ

2.โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ได้รับสิทธิ์ลดดอกเบี้ยเงินกู้เฉพาะต้นเงินกู้ที่ไม่เกิน 300,000 บาท ระยะเวลาโครงการ 1 สิงหาคม 2561 ถึง 31 กรกฎาคม 2562 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากภาระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นและเพื่อลดต้นทุน ในการประกอบอาชีพ

วิธีดำเนินโครงการ เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ได้ลดดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับต้นเงินกู้ที่ไม่เกิน 300,000 บาท เป็นระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่1 สิงหาคม 2561 ถึง31 กรกฎาคม 2562 โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้แทนเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ให้กับ ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 2.50 ต่อปี และ ธ.ก.ส. รับภาระดอกเบี้ยเงินกู้แทนเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 0.50 ต่อปี ทั้งนี้ ในส่วนต้นเงินกู้ที่เกินกว่า 300,000 บาท คิดดอกเบี้ยในอัตราปกติ

รวมงบประมาณที่รัฐบาลใช้ในมาตรการหรือโครงการพักหนี้เกษตรกรใน 3 รัฐบาลนี้ 5.6 หมื่นล้านบาท โดยรัฐบาลที่ใช้มาที่สุดคือ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ 2.5 หมื่นล้านบาท รองลงมา รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ 1.6 หมื่นล้านบาท และ รัฐบาลทักษิณ 1.5หมื่นล้านบาท

20170509174330304
ตรวจงาน“บิ๊กตู่”กับมาตรการ ช่วยคนรากหญ้าแสนล้านบาท

พักหนี้เกษตรกร3ปี ลดดอกเบี้ยให้ 3% ช่วยเกษตรกร 3.81 ล้านรายทั่วไทย ใช้งบ 1.6 หมื่นล้านบาท

การช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อยอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดกระทรวงการคลังจะเสนอครม.ยกเว้นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคให้กับ ผู้ถือบัตรสวัสดิการรัฐ 11.4 ล้านคน ภายใน 2-3 สัปดาห์

ช่วยเหลือผู้ถือบัตรสวัสดิการผ่านการคืนVATจากการใช้จ่าย จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติเพื่อให้นำมาใช้ในช่วงเดือนต.ค-ธ.ค.นี้

ผู้ที่มีรายได้ 1 แสนบาทต่อปี ถ้าใช้จ่ายสินค้าเต็ม 1 แสนบาท จะได้รับเงินภาษีคืน 7 พันบาท

แต่ถ้าใช้จ่ายเกินกว่า 1 แสนบาทแสดงว่า เป็นผู้ที่มีรายได้เกินกว่า 1 แสนบาทต่อปี ไม่ถือว่า เป็นผู้ที่มีรายได้น้อย

มาตรการจำนำยุ้งฉางงบประมาณลงไปช่วยชาวนา 6-7 หมื่นล้านบาท ลดดอกเบี้ยอีก 1.6 หมื่นล้านบาท

มาตรการที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 1 ล้านยูนิต ผ่อนเดือนละ2,000 บาทยาว 40 ปี

|รายงานพิเศษ : ตรวจงบโครงการพักหนี้เกษตกร “จากทักษิณถึงประยุทธ์”
|โดย : "จ.ประเสริฐ"
|ฐานเศรษฐกิจออนไลน์
e-book-1-503x62