ทรัพยากรน้ำฯเปิดศูนย์เฉพาะกิจบริหารน้ำเฝ้าระวัง 24 ชม.

02 ส.ค. 2561 | 13:55 น.
ทรัพยากรน้ำฯเปิดศูนย์เฉพาะกิจบริหารน้ำเฝ้าระวัง 24 ชม.

นายกอบชัย บุญอรณะ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า พื้นที่ประสบภัยรวม 7 จังหวัด ได้แก่ น้ำล้นตลิ่งจากลำน้ำโขง 5 จังหวัด คือ จังหวัดนครพนม คาดว่ามีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 1.28 แสนไร่ ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้ว มุกดาหาร มีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 2.85 หมื่นไร่ อำนาจเจริญ คาดว่ามีพื้นที่เกษตรได้รับความเสียหาย 1,930 ไร่ อุบลราชธานี คาดว่ามีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 3,346 ไร่

บึงกาฬ ประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้ว 2 อำเภอ (เมือง,บุ่งคล้า) คาดว่ามีพื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบ 2,107 ไร่ (ระดับน้ำเพิ่มขึ้นทุกจังหวัด) และอุทกภัย 2 จังหวัด คือ จ.สกลนคร ประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้ว นาข้าวเสียหาย 240 ไร่ จ.ร้อยเอ็ด ขณะประกาศเป็นพื้นที่ประสบสาธารณภัยแล้ว คาดว่ามีพื้นที่เกษตรได้รับความเสียหาย พืชไร่ 378 ไร่ นาข้าว 2.78 หมื่นไร่ ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้นทุกจังหวัด
kobc ส่วนพื้นที่เฝ้าระวัง ได้แก่ เชียงราย พะเยา แพร่ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ราชบุรี พังงา กระบี่และสตูล โดยเฉพาะในวันที่ 2-4 สิงหาคมนี้ เตรียมความพร้อมและติดตามสถานการณ์ ฝนตกต่อเนื่องทำให้ศักยภาพในการอุ้มน้ำของดินต่ำลง หากมีปริมาณฝนสะสมเพิ่มขึ้นในพื้นที่ลาดอาจจะทำให้พื้นที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม เพราะกรมทรัพยากรธรณีได้ประกาศพื้นที่เสี่ยง จึงทำให้ ปภ.ต้องเตรียมความพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง

สอดคล้องกับนายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (วันที่ 3 สิงหาคม 2561) จะเปิดศูนย์เฉพาะกิจร่วมบริหารจัดการน้ำ เฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง โดยจะทำงานบูรณาการร่วมกันทุกฝ่าย เพื่อรายงานสถานการณ์น้ำ ให้กับ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ และนายกรัฐมนตรี โดยตรง เนื่องจาก ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา : (ฉบับที่ 11 วันที่ 31 ก.ค.61) ประเทศไทยยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้

แบบจำลองคาดการณ์ฝนของกรมอุตุนิยมวิทยาและสสนก. : จะมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดตราด ในวันที่ 1-3 สิงหาคม 2561 และคาดการณ์ฝนตกหนักมาก มากกว่า 90 มม.ช่วงวันที่ 1-4 สิงหาคม 2561 บริเวณประเทศลาว ซึ่งจะส่งผลให้แม่น้ำโขงบริเวณ จังหวัดเลยถึง จังหวัดอุบลราชธานีมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น
ter สำหรับปริมาณน้ำอ่างฯ ขนาดใหญ่+ กลาง : ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 48,908 ล้าน ลบ.ม. ( 68 %) อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 3,183 ล้าน ลบ.ม. (62%) รับน้ำได้อีก 23,916 ล้าน ลบ. ม. น้ำไหลเข้าอ่างฯ ( 14-30 ก.ค. 61) อ่างฯ ขนาดใหญ่ รวมทั้งประเทศ 6,734 ล้าน ลบ.ม. แยกเป็น ภาคเหนือ 1,986 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,351 ล้าน ลบ.ม. ภาคกลาง 305 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันตก 2,647 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออก 122 ล้าน ลบ.ม. และภาคใต้ 882 ล้าน ลบ.ม.

อ่างฯที่ความจุเกิน 100% เป็นอ่างขนาดกลาง 91 แห่ง (เพิ่มขึ้นจากวานนี้มี 50 แห่ง) เป็น เหนือ 1 แห่ง ตะวันออกเฉียงเหนือ 88 แห่ง วานนี้ 44 แห่ง ตะวันออก 1 แห่ง วานนี้ 4 แห่ง และ ใต้ 1 แห่ง
อ่างฯเฝ้าระวัง (มากกว่า 80-100%) : ขนาดใหญ่ 4 แห่ง (ลดลงจากวานนี้มี 5 แห่ง เขื่อนปราณบุรีปัจจุบันคงเหลือ 80% และมีแนวโน้มลดลง) อ่างเก็บน้ำน้ำอูน ( 98 % วานนี้ 92%) เขื่อนแก่งกระจาน (92% วานนี้ 91%) เขื่อนศรีนครินทร์ (86% วานนี้ 85%) เขื่อนวชิราลงกรณ์ (82% วานนี้ 81%) ขนาดกลางเพิ่มเป็น 122 แห่ง วานนี้ 50 แห่ง (เหนือ 18 แห่ง วานนี้ 13 แห่งตะวันออกเฉียงเหนือ 76 แห่ง วานนี้ 28 แห่ง ตะวันออก 14 แห่ง วานนี้ 5 แห่ง ภาคตะวันตก 2 แห่ง วานนี้ไม่มี ภาคกลาง 4 แห่ง จากวานนี้มี 2 แห่ง ใต้ 8 แห่ง วานนี้ 2 แห่ง)

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำเกินเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 11 อ่าง (เท่าวานนี้) ได้แก่ ภาคเหนือ 1 แห่ง อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 แห่ง อ่างเก็บน้ำน้ำอูน อ่างเก็บน้ำน้ำพุง อ่างเก็บน้ำจุฬาภรณ์ อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ่างเก็บน้ำลำปาว ภาคกลาง 1 แห่ง อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ ภาคตะวันตก 1 แห่ง อ่างเก็บน้ำวชิราลงกรณ์ ภาคใต้ 2 แห่ง อ่างเก็บน้ำปราณบุรี อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน

นอกจากนี้แม่น้ำสายสำคัญๆ ได้แก่ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มมีระดับน้ำเพิ่มขึ้น จากฝนที่ตกหนักและมีน้ำล้นตลิ่ง ส่วนภาคกลางและภาคใต้ มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก ปัจจุบันมีน้ำล้นตลิ่งเหลือ 3 แห่ง ได้แก่ แม่น้ำชี อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด สถานี E.92 สูงกว่าตลิ่ง 2.37 ม. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำระหว่างประเทศ ได้แก่ แม่น้ำโขง ตั้งแต่ จ.เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง คณะกรรมการลุ่มน้ำแม่โขงคาดการณ์ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพในการระบายน้ำลงแม่น้ำโขงลดลง คาดการณ์ว่าในวันที่ 4 สิงหาคม 2561 จังหวัดมุกดาหารและอุบลราชธานีระดับน้ำจะสูงกว่าระดับตลิ่ง

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว