“ค้าปลีกครึ่งปีแรกทรงตัว” ชง 6 มาตรการดันเมืองไทย เป็น “Shopping Destination”

01 ส.ค. 2561 | 13:26 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

- 1 ส.ค. 61 - น.ส.จริยา จิราธิวัฒน์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมของธุรกิจค้าปลีกในครึ่งปีแรกทรงตัวในเกือบทุกหมวดสินค้าโดยพบว่ามีการเติบโต 3.3% เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีการเติบโต 3.2% ขณะเดียวกันก็ยังเป็นลักษณะกระจุกตัวในกรุงเทพฯและหัวเมืองหลักของการท่องเที่ยว ส่วนสาขาที่อยู่ในต่างจังหวัด การเติบโตของกำลังซื้อค่อนข้างอ่อนตัว เนื่องจากสัดส่วนสาขาในกรุงเทพฯและปริมณฑลมีสัดส่วนเพียง 30% ในขณะที่สาขาส่วนใหญ่อยู่ในต่างจังหวัดถึง 70% ทำให้ดัชนีในไตรมาสที่สองโดยรวมทรงตัว Khun Jariya 2_new

“ สะท้อนให้เห็นว่า กำลังซื้อในต่างจังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพฯและหัวเมืองหลักๆของการท่องเที่ยว) ยังไม่มากเท่าที่ควร โดยเฉพาะจังหวัดที่รายได้หลักมาจากภาคเกษตรกรรม ประกอบกับปีนี้ฤดูฝนมาก่อนกำหนดฤดูกาล ส่งผลให้ผลผลิตและราคาสินค้าภาคเกษตรครึ่งปีแรกจึงไม่เป็นไปตามเป้าหมาย”

“ครึ่งปีหลังอุตสาหกรรมค้าปลีกน่าจะยังทรงตัวในไตรมาสที่สาม และดีดตัวขึ้นไปในไตรมาสที่สี่ตามวัฎจักรของการจับจ่าย แม้ภาครัฐจะเร่งให้มีการประมูลโครงสร้างพื้นฐานให้ได้ภายในปีนี้ แต่ผลจากการลงทุนนี้จะส่งผลมายังภาคค้าปลีกต้องใช้เวลา 6-8 เดือน หวังไว้ว่านโยบายและงบประมาณที่ไปกระตุ้นเศรษฐกิจน่าจะขยายตัวไปยังจังหวัดรองๆไม่มาเติบโตกระจุกตัวในเมืองใหญ่ อย่างไรก็ตามโดยภาพรวมดัชนีค้าปลีกปีนี้ น่าจะดีกว่าปีก่อนเล็กน้อย คาดว่าจะเติบโต 3.3-3.5%” retail

ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า สมาคมผู้เค้าปลีกไทยได้เสนอแนะแนวทางต่อภาครัฐ 6 ข้อ ได้แก่ 1. ภาครัฐควรผลักดันนโยบาย Duty Free City เพื่อให้ประเทศไทยเป็น Shopping Destination ของนักท่องเที่ยวอย่างแท้จริง สร้างให้การช้อปปิ้งเป็นหนึ่งในแม่เหล็กสำคัญที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไทย

2. พิจารณาการเปิดเสรีร้านค้าปลอดภาษี โดยเฉพาะการเพิ่มจำนวนร้านค้าปลอดภาษีในเมืองให้มากขึ้น และการพิจารณาประมูลร้านค้าปลอดภาษีในสนามบินตามประเภทกลุ่มสินค้า ซึ่งจะเป็นทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติในการซื้อ สินค้าและยังมีส่วนช่วยกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวต่างชาติได้มีการใช้จ่ายในประเทศให้มากมากขึ้น และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันตามนโยบาย Shopping Tourism หรือนโยบายด้านการท่องเที่ยวเชิงช้อปปิ้ง ภาครัฐจะต้อง 03

3. ภาครัฐจะต้องเร่งรัดโครงการ Downtown VAT Refund For Tourist โดยเร็ว เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยว รวมถึงอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวในการได้รับคืนภาษีทันทีเมื่อซื้อสินค้า และเมื่อนักท่องเที่ยวได้รับคืนเงินภาษี นักท่องเที่ยวก็สามารถนำเงินนั้นมาซื้อสินค้าและบริการด้วยเงินสด ซึ่งหมายความว่าเงินนั้นจะถึงผู้ประกอบการรายเล็ก ทำให้ผู้ประกอบการรายเล็ก มีโอกาสได้ประโยชน์จากเงินคืนภาษีของชาวต่างชาติมากขึ้น อีกทั้งเป็นการช่วยลดภาระของกรมสรรพากรในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว

4. รัฐต้องสร้างกลไกในการกระตุ้นเศรษฐกิจในแนวทางใหม่และหามาตรการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศที่มีประสิทธิภาพภายใต้สังคมการบริโภคที่เปลี่ยนไป เพื่อให้เม็ดเงินในการจับจ่ายสู่ภูมิภาคและจังหวัดรอง 000

5. ด้านการค้าชายแดน ภาครัฐต้องผลักดันและอำนวยความสะดวกทางการค้าให้ภาคค้าปลีก ค้าส่งสามารถขยายสาขาในบริเวณพรมแดนประเทศเพื่อนบ้านอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นฐานในการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค และ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้านที่เดินทางมาท่องเที่ยวและจับจ่ายในประเทศไทย

6. ปัจจุบันกลุ่มค้าปลีกมีความต้องการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพนักงานรายชั่วโมงที่ไม่สามารถจ้างได้เพียงพอ และในขณะเดียวกันยังมีกลุ่มที่ขาดรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มบุคคลหลังเกษียณ ที่ไม่มีรายได้แต่ยังมีภาระเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่สามารถทำงานได้เต็มเวลา 8 ชั่วโมง จึงเหมาะสมที่จะจ้างกลุ่มดังกล่าวนี้เป็นรายชั่วโมง ภาครัฐจะต้องกำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนผลักดันให้มีการออกกฎระเบียบประกาศค่าจ้างขั้นต่ำเป็นรายชั่วโมง เพื่อให้สามารถจ้างงานบุคคลกลุ่มดังกล่าวได้