นิด้าโพล เผย ปชช. มอง "ประเพณีรับน้อง" มีผลเสียมากกว่าผลดี

29 ก.ค. 2561 | 09:15 น.
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง "ประเพณีรับน้อง" ควรมีต่อไป? โดยสำรวจระหว่างวันที่ 24-25 ก.ค. 2561 จำนวน 1,264 หน่วยตัวอย่าง ทั่วประเทศ สรุปผลได้ ดังนี้

1.ท่านคิดว่า "ประเพณีรับน้อง" มีผลดีหรือผลเสีย ต่อนิสิต/นักศึกษา/สถาบันการศึกษา หรือไม่อย่างไร
อันดับ 1 มีผลเสียมากกว่าผลดี ร้อยละ 49.29 (เพราะการใช้ความรุนแรงก่อให้เกิดการสูญเสียและสร้างความเสื่อมเสียให้สถาบัน)
อันดับ 2 มีผลดีมากกว่าผลเสีย ร้อยละ 45.17 (เป็นการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง เพื่อสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ)

2.ท่านคิดว่า ปัจจุบัน "ประเพณีรับน้อง" มีการใช้ความรุนแรงมากน้อยเพียงใด
อันดับ 1 มีการใช้ความรุนแรงมาก ร้อยละ 54.35
อันดับ 2 ไม่ค่อยมีการใช้ความรุนแรง ร้อยละ 21.52
อันดับ 3 มีการใช้ความรุนแรงมากที่สุด ร้อยละ 18.91
อันดับ 4 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ร้อยละ 3.56
อันดับ 5 ไม่มีการใช้ความรุนแรงเลย ร้อยละ 1.66

3.ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับบทลงโทษสำหรับรุ่นพี่ที่กระทำความรุนแรงในการรับน้อง โดยการตัดคะแนนความประพฤติ/พักการเรียน
อันดับ 1 เห็นด้วย
เพราะบทลงโทษไม่รุนแรงเกินไป เหมาะสมกับความผิด ร้อยละ 77.69
อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย เพราะบทลงโทษมีความรุนแรงน้อยเกินไป ควรมีการลงโทษตามกฎหมาย ขณะที่ บางส่วนระบุว่า บทลงโทษรุนแรงไป ควรมีการตักเตือนก่อน แต่ก็ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป ร้อยละ 20.81

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ร้อยละ 1.50

4.ท่านคิดว่า สถาบันการศึกษาควรต้องรับผิดชอบหรือไม่ ในกรณีที่มีการใช้ความรุนแรงในประเพณีรับน้อง
อันดับ 1 ควรต้องรับผิดชอบ
เพราะสถาบันการศึกษาเป็นผู้ดูแล รับผิดชอบ นิสิต นักศึกษา ภายในสถาบันทั้งหมด ร้อยละ 93.28
อันดับ 2 ไม่ควรต้องรับผิดชอบ เพราะเป็นเรื่องที่เกิดจากตัวบุคคลไม่เกี่ยวกับสถาบัน ร้อยละ 5.30

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ร้อยละ 1.42

5.ท่านมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ "ประเพณีรับน้อง" อย่างไรบ้าง
อันดับ 1 จัดกิจกรรมรับน้องที่สร้างสรรค์ มีประโยชน์ต่อตัวรุ่นน้องและสังคม ร้อยละ 61.31
อันดับ 2 ให้สถาบันการศึกษาออกมาตรการป้องกันการรับน้องที่ชัดเจน ร้อยละ 33.78
อันดับ 3 มีการรับน้องแบบโปร่งใส โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม ร้อยละ 26.03
อันดับ 4 กำหนดรูปแบบการรับน้องให้เป็นรูปแบบเดียวกันทุกสถาบันการศึกษา ร้อยละ 19.38
อันดับ 5 ออกบทลงโทษขั้นรุนแรง โดยใช้กฎหมายนอกสถาบันการศึกษา ร้อยละ 12.97

อื่น ๆ ได้แก่ ให้จัดกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัย โดยมีอาจารย์เป็นผู้ควบคุมการทำกิจกรรม ขณะที่บางส่วน ระบุว่า ไม่ต้องการให้มีประเพณีรับน้องอีกต่อไป ร้อยละ 2.85

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ร้อยละ 3.24

6.ท่านคิดว่า ควรมี "ประเพณีการรับน้อง" ต่อไปหรือไม่
อันดับ 1 ควรมี "ประเพณีรับน้อง" ต่อไป
เพราะเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ สร้างความสามัคคี ระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง บางส่วนระบุว่า ควรเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เพื่อสังคม และผู้ปกครองสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมได้ ร้อยละ 67.57
อันดับ 2 ควรยกเลิก "ประเพณีการรับน้อง" เพราะไม่มีความสำคัญ ไม่มีประโยชน์ ต่อการศึกษา ยังมีกิจกรรมที่สร้างสรรค์กว่าการรับน้องที่สามารถเข้าร่วมได้ และเพื่อลดการเกิดปัญหาความรุนแรง ร้อยละ 30.14

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ร้อยละ 2.29


Cheer_Activity

……………….
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
กรมสุขภาพจิต แนะ รับน้องอย่างสร้างสรรค์ คำนึงถึงจิตใจ
ลูกรักษ์ ประเพณีรับน้องศิลปกรรม มทร.ธัญบุรี รุ่นสู่รุ่น


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว