ประยุทธ์ย้ำ4ปีที่ทำงานประเทศไทยสถานะดีขึ้นนานาชาติ”ให้การยอมรับ”

28 ก.ค. 2561 | 07:41 น.
ประยุทธ์ย้ำ4ปีที่ทำงานประเทศไทยสถานะดีขึ้นนานาชาติ”ให้การยอมรับ”

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ "ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ว่า
“ในช่วงระยะเวลา 4 ปี ที่ผ่านมา รัฐบาล และ คสช.ได้ ดำเนินนโยบายต่างๆเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีมานานในอดีตและวางรากฐานการพัฒนาประเทศ โดยก้าวข้ามกับดัก ก้าวไปข้างหน้า ให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ อย่างสมภาคภูมิ สามารถสร้างความเชื่อมั่น ไว้ใจจากประชาคมโลกได้ โดยลำดับ อาทิ เรื่องการบินพลเรือน (ICAO) การประมงที่ถูกต้องตามหลักสากล (IUU) และสถานการณ์ค้ามนุษย์ ที่อยู่ในระดับที่ดีขึ้น (TIP report) นะครับ มาโดยลำดับ เป็นต้น

tusart

ล่าสุดองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) ได้เปิดเผยรายงานการประเมินผล “ดัชนีนวัตกรรมโลก” ประจำปี 2561 โดยประเทศไทยมีอันดับดีขึ้นถึง 7 อันดับ จากอันดับที่ 51 ในปีที่แล้ว มาเป็นอันดับที่ 44 ในปีนี้ จากทั้งหมด 126 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ เรายังถูกจัดให้เป็นผู้นำในหลายๆ ด้าน เช่น การส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ สินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง การจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร และที่สำคัญคือ การเป็น “1 ใน 20 ประเทศ” ที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาด้านนวัตกรรมนะครับ

สิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะเป็น “หลักฐานเชิงประจักษ์” ที่สากลให้การยอมรับ ในฐานะและจุดยืนของประเทศไทย ในเวทีระหว่างประเทศมากขึ้น ส่งผลให้การเดินทาง เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในทุกมิติ เป็นไปด้วยความราบรื่น ซึ่งผลการเยือนอังกฤษและฝรั่งเศส เมื่อเดือนที่ผ่านมา ก็เป็นไปด้วยดี ตามที่ผมเคยได้เล่าให้ฟังไปแล้ว และล่าสุดการเยือนศรีลังกาโดยให้ความสำคัญของการเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ ระหว่างไทยและศรีลังกา อาทิ การเชื่อมไทยและศรีลังกาผ่านกรอบความร่วมมือ ACMECS และการเชื่อมท่าเรือโคลัมโบของศรีลังกา กับระนองของไทยเป็นต้น ซึ่งจะไม่เป็นเพียงการพูดคุย แล้วก็ผ่านไป แต่รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมานะครับ เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนกับประเทศต่างๆ แล้ว และจะส่งต่อให้กระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จนบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ที่หวังเอาไว้

tupu1

สำหรับการเยือนภูฏานนั้น เพื่อกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือให้แน่นแฟ้นในทุกมิติ โดยเฉพาะความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน การท่องเที่ยว สาธารณสุข และการพัฒนาประเทศ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่สำคัญอย่างที่สุด คือ ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด ทั้งในระดับราชวงศ์ รัฐบาล และประชาชน ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่ง ที่สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก และสมเด็จพระราชินี มีพระบรมราชานุญาต ให้ผมและคณะ ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระราชวังทาชิโช อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อมโยงทางพุทธศาสนา สังคม และวัฒนธรรม โดยเฉพาะ สถาบันกษัตริย์ อันเป็น “จุดเชื่อมโยงจิตใจ” ของประชาชนทั้งสองประเทศด้วย ทั้งนี้ความสัมพันธ์ส่วนใหญ่อยู่ในบริบทของความร่วมมือทางวิชาการ อาทิ ด้านการพัฒนา สาธารณสุข และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

โดยภูฏาน มองไทยนั้นเป็นแบบอย่างในการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่สอดคล้องกับทฤษฎีความสุขมวลรวมประชาชาติ ของภูฏาน (Gross National Happiness - GNH) สำหรับโครงการความร่วมมือที่สำคัญ อาทิ โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการผลิตภัณฑ์ OGOP ของภูฏาน และโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ ทางการเกษตร ในพระราชดำริของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมีฯ ณ เมืองพูนาคา ซึ่งได้น้อมนำหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้เป็นต้นแบบ ในการออกแบบโครงการด้านระบบชลประทาน และการบริหารจัดการน้ำ สำหรับโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ฯ อีกด้วย

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังเห็นว่า ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว เป็นสาขาที่ทั้งสองประเทศมีศักยภาพและเอื้อประโยชน์แก่กันได้ จึงเห็นควรผลักดันความร่วมมือดังกล่าวนะครับ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยเรามุ่งมั่นที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกัน ผ่านการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย - ภูฏาน (JTC) นะครับ ก็เป็นกลไกสำคัญที่จะผลักดันให้ประเด็นดังกล่าวประสบความสำเร็จได้ในอนาคต “

e-book-1-503x62