ครึ่งทาง... ‘วิรไท’ ห่วงหนี้ครัวเรือนสูงฉุด! เศรษฐกิจเปราะบาง

30 ก.ค. 2561 | 13:43 น.

619291873 เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการ ธนาคาร แห่งประเทศไทย(ธปท.) คนที่ 23 มาเดือนกันยายนนี้ก็จะครบปีที่ 3 “วิรไท สันติประภพ” หลังขับเคี่ยวแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี(2560-2562) ภายใต้ 3 กลุ่มใหญ่คือ ด้านรักษาเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจการเงิน(Stability) ด้านพัฒนาระบบการเงิน (Development)และด้านสร้างความเป็นเลิศขององค์กร(Internal Excellence) และบวกอีก 12 เสา เพื่อคํ้ายันความท้าทาย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทั้งภาวะเศรษฐกิจ การมาอย่างเร็วของเทคโนโลยีหรือการบริโภคที่คนไม่ได้เป็นเจ้าของแต่แบ่งปันทรัพยากรกันได้ ส่งผลต่อรูปแบบการลงทุน การค้าใหม่และพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคดิจิตอล ซึ่งเป็นโจทย์ที่ธนาคารกลางต้องตอบและต่อยอดได้

[caption id="attachment_301480" align="aligncenter" width="355"] วิรไท วิรไท สันติประภพ[/caption]

“วิรไท”สะท้อนผลความก้าวหน้าของแผนที่ได้ดำเนินการมาแล้วกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ปีครึ่งของการปฏิบัติตามแผน มีทั้งที่เห็นความก้าวหน้าด้านรักษาเสถียรภาพนั้น สามารถสแกนจุดเปราะบางในหลายเรื่องได้เร็วขึ้น นอกจากความพยายามที่จะพัฒนาเครื่องมือหรือตัวชี้วัดเพื่อจับชีพจรเศรษฐกิจ หรืองานวิจัยหลายเรื่องอาศัยฐานข้อมูลขนาดใหญ่ทำ Data Analytics จึงสามารถทำนโยบายที่ตอบโจทย์ เสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ ด้านราคาเท่าทันการเปลี่ยน แปลง

ส่วนเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน ต้องมีกฎเกณฑ์และการบริหารความเสี่ยงใหม่ๆ จากปัญหาสภาพคล่องส่วนเกิน ระบบการเงินโลกที่ไม่ปกติและค่อยๆสะสมจุดเปราะบาง หากธปท.ไม่ทำเรื่องเสถียรภาพระบบสถาบันการเงินอาจจะเป็นปัญหาในอนาคตและวันนี้ความเสี่ยงด้านระบบการชำระเงินมีความสำคัญมากเชื่อมโยงกับความเสี่ยงด้าน Cyber Security ซึ่งภายใต้ความร่วมมือของสมาคมธนาคารไทย 15 ธนาคารสมาชิกได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีฯหรือ TB-CERT เพราะความเสี่ยงที่เพิ่มมาก โลกจึงต้องวิ่งและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว

นอกจากนั้น การรับโอนเงินรูปแบบใหม่ “พร้อมเพย์” เห็นคนเชื่อมต่อจากการผูกบัญชีแล้ว 42 ล้านบัญชี ยอดธุรกรรมแต่ละวันเฉลี่ย 3.2 ล้านรายการเป็นช่องทางที่จะนำไปสู่การปฏิวัติเรื่องค่าธรรมเนียมโอนเงินของธนาคาร หรือ QR มาตรฐาน ออกจากศูนย์ทดสอบนวัตกรรมทางการเงินหรือกระบะทราย(Sandbox) ไม่ถึง 2 ปีก็มีประมาณ 2 ล้านร้านค้า ซึ่งยอดธุรกรรมสะสมของ QR มาตรฐานเป็นรากฐานสำคัญของการจะเปลี่ยนการปล่อยสินเชื่อเป็น Information Base Lending จากเดิมอาศัยหลักทรัพย์คํ้าประกัน

ในเวลานี้ยังมีการทดลองหลายเรื่องในกระบะทราย ไม่ว่าจะเป็น การโอนเงินข้ามประเทศด้วยบล็อกเชน การใช้ไบโอเมตริกในการพิสูจน์ตัวตน การ นำบล็อกเชนมาใช้เรื่องเอกสารภาคการเงิน ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและตอบโจทย์ทั้งธนาคาร ประชาชน และภาคธุรกิจโดยเฉพาะเอสเอ็มอี

619291871

อีกด้านของงานพัฒนาเรื่องลดความเหลื่อมลํ้า ซึ่งเห็นหนี้สินของภาคครัวเรือน โดยพบคนไทยเป็นหนี้เร็วขึ้น มูลหนี้เพิ่มสูงขึ้น และแม้จะสูงอายุแล้ว แต่หนี้กลับไม่ลดลง ที่น่าตกใจคนเป็นหนี้ตั้งแต่อายุ 29-31 ปี กลุ่มนี้เป็นหนี้เสียหรือเอ็นพีแอล อยู่ 1 ใน 5 และติดเครดิตบูโร ซึ่งหนี้ก้อนนี้ไม่รวมหนี้นอกระบบ หนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ หรือหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.)

“แม้จะอยู่ในวัยที่ต้องสร้างครอบครัว แต่ไม่มีสมาธิ เพราะทุกวันต้องพะวงอยู่กับการถูกตามหนี้ ซึ่งเป็นจุดเปราะบางทั้งความมั่นคงของสังคมเศรษฐกิจไทยเหล่านี้จึงอธิบายว่า เศรษฐกิจไทยขยายตัวดี แต่ทำไมยังไม่รู้สึกว่าเศรษฐกิจดี ก็เพราะรายได้ที่รับนั้นติดภาระหนี้ ทั้งเครดิตการ์ด หนี้รถยนต์ หนี้ส่วนบุคคล แต่ไม่หนักใจเรื่องสินเชื่อบ้าน และนโยบายที่ต้องเร่งทำให้เร็วขึ้นคือต้องปฏิรูปภาคเกษตรทำให้ต้นทุนตํ่าเพิ่มผลผลิตต่อไร่ เพราะจะเกิดผลระยะยาวมากกว่า”

น้า 23-24 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 3,387 วันที่ 29 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2561