เอสเอ็มอียันไม่กระทบ ห้ามใช้ ‘ไขมันทรานส์’

27 ก.ค. 2561 | 09:46 น.
ไขมันทรานส์ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีประเภท เบเกอรี่เชื่อประกาศห้ามใช้ไขมันทรานส์ไม่มีผลกระทบต่อธุรกิจ เหตุใช้วัตถุดิบที่ปราศจากไขมันทรานส์อยู่แล้ว อีกทั้งรัฐบาลยังมีการควบคุมตั้งแต่ต้นทางที่เป็นโรงงานผลิต

หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกำหนดให้นํ้ามันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน หรือไขมันทรานส์ และอาหารที่มีไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย โดยให้มีผลบังคับใช้ใน 180 วัน ซึ่งได้สร้างกระแสความตื่นตัว และตื่นตระหนกต่อเรื่องดังกล่าวทั้งในส่วนของผู้ประกอบการที่ต่างออกมายืนยันว่าผลิตภัณฑ์ของตนไม่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ ขณะที่ผู้บริโภคกังวลใจ เพราะบางรายอาจจะเพิ่งเคยรับรู้เรื่องไขมันทรานส์ และอันตรายในการรับประทานเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ยังตามมาด้วยกระแสข่าวของการปรับขึ้นราคาของขนม หรือเบเกอรี่ เนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อเอสเอ็มอี และผู้บริโภค

[caption id="attachment_301380" align="aligncenter" width="335"] วิสิทธิ์ สดแสงเทียน วิสิทธิ์ สดแสงเทียน[/caption]

นายวิสิทธิ์ สดแสงเทียน กรรมการผู้จัดการ บริษัท โบว์ เบเกอรี่ เฮ้าส์จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเบเกอรี่ภายใต้แบรนด์ “โบว์” กล่าวให้ความคิดเห็นกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ประกาศดังกล่าวเป็นการจำกัดที่ต้นทางของกระบวนการผลิตอาหารมากกว่าว่าแต่ละโรงงานมีกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงไปหรือไม่ เช่น เนยเทียม, มาการี และนํ้ามันพืช เป็นต้น โดยมองว่าไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่อยู่ตรงห่วงโซ่ในขั้นตอนของการผลิตเพื่อจำหน่ายเท่าใดนัก

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการเองก็จะต้องตรวจให้ชัดเจนว่าผลิตภัณฑ์ที่เลือกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตมีส่วนผสมของไขมันทรานส์หรือไม่ โดยในส่วนของบริษัทเองไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด เพราะวัตถุดิบทุกชนิดที่ใช้ในกระบวนการผลิต บริษัทได้มีการทำหนังสือขอคำชี้แจงจากโรงงานผู้ผลิต และได้รับการยืนยันความปราศจากไขมันทรานส์มาแล้วทั้งหมด

“บริษัทได้ติดตามเรื่องดังกล่าวนี้มาแล้ว 3 ปี ตั้งแต่ประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศให้ผู้ประกอบการมีเวลาในการปรับตัวเรื่องไขมันทรานส์ และเพิ่งจะมีประกาศให้บังคับใช้เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา บริษัทจึงได้มีการเตรียมความพร้อม และได้สอบถามไปยังทุกโรงงานที่บริษัทเลือกใช้วัตถุดิบมาเป็นส่วนประกอบของเบเกอรี่”
Print ทั้งนี้ ต้องเรียนว่าตามประกาศขององค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (U.S.FDA) ได้ระบุว่า หากผลิตภัณฑ์ใดมีการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และพบว่ามีไขมันทรานส์ไม่ถึง 0.5% ที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภค ก็ให้ถือว่าไม่มี หรือปราศจากไขมันทรานส์ไปโดยปริยาย ขณะที่ประเทศไทยรัฐบาลเองก็ประกาศควบคุมตั้งแต่ต้นทางที่เป็นแหล่งผลิตอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการรายย่อยจึงไม่ค่อยได้รับผลกระทบ

นายวิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ไขมันทรานส์ คือ ไขมันไม่อิ่มตัวที่ผ่านกระบวน การเพิ่มไฮโดรเจนเข้าไปในโมเลกุล ทำ ให้นํ้ามันที่อยู่ในสภาพของเหลวกลายเป็นไขมันที่มีสภาพแข็งขึ้น หรือเป็นกึ่งเหลว สามารถเก็บได้นานขึ้นโดยไม่มีกลิ่นหืน โดยไขมันทรานส์มีทั้งตามธรรมชาติพบได้ในผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว, ควาย และแกะ เป็นต้น ส่วนไขมันทรานส์ที่มาจากอุตสาห กรรมพบได้จากกระบวนการเติมไฮโดรเจน (PARTIALLY HYDROGENATION) ในนํ้ามันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง โดยเปลี่ยนสถานะเป็นไขมันที่มีสภาพแข็งขึ้น หรือเป็นของกึ่งเหลว สำหรับอาหารที่มีไขมันทรานส์ ได้แก่ 1.ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ที่ใช้เนยเทียม และเนยขาว 2.อาหาร ทอดนํ้ามันซํ้าๆ 3.ขนมขบเคี้ยวที่มีกรรมวิธีการปรุงสุกด้วยนํ้ามัน, มาการีน, เนยขาว และเนยเทียม (NON-DAIRY CREAMER) เป็นต้น

[caption id="attachment_301386" align="aligncenter" width="503"] ลลิดา ภัทรพงษ์กาญจน์ ลลิดา ภัทรพงษ์กาญจน์[/caption]

สอดคล้องกับความคิดเห็นของนางสาวลลิดา ภัทรพงษ์กาญจน์ เจ้าของธุรกิจร้านเบเกอรี่ แบรนด์ “มงคลชัย” ที่ระบุว่า ธุรกิจของตนไม่ได้รับผลกระทบต่อประกาศข้อกำหนดห้ามใช้ไขมันทรานส์ เพราะวัตถุดิบทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตของที่ร้านไม่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ เช่น ขนมปัง ที่ร้านก็จะใช้เนยสดเป็นส่วนผสม ไม่ได้ใช้ไขมันเหลือง โดยตั้งแต่กระแสข่าวเรื่องดังกล่าวออกมา ลูกค้ายังเข้ามาซื้อผลิตภัณฑ์ตามปกติ และยังไม่มีรายใดที่แสดงความกังวลต่อเรื่องไขมันทรานส์

|หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 13 ฉบับ 3386 ระหว่างวันที่ 26-28 ก.ค.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว